Company logo
บัตรรายการ
เลขเรียกหนังสือHD2741 .ค945
ชื่อเรื่องโครงการศึกษาดัชนีวัดผลการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีในสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข : รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ / สถาบันพระปกเกล้า
พิมพลักษณ์นนทบุรี : สถาบันพระปกเกล้า, 2550
จำนวนหน้า268 หน้า : ภาพประกอบ
สาระสังเขปโครงการศึกษาดัชนีวัดผลการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีในสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขมีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อนำตัวชี้วัดการบริหารจัดการที่ดีตามกรอบพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาทดลองใช้ในสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณะสุขและเพื่อประเมินผลการบริหารจัดการที่ดีในสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข การศึกษาตัวชี้วัดครั้งนี้ประยุกต์ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงสำรวจและใช้การสุ่มตัวอย่างแบบผสมผสาน กลุ่มประชากรเป้าหมายคือ ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุขและผู้ใช้บริการ ทั้งในส่วนกลาง คือ กลุ่มงานสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 18 หน่วยงาน และในส่วนภูมิภาค คือ สาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลประจำจังหวัด สถานีอนามัย จำนวน 5 จังหวัด ปทุมธานี สตูล หนองบัวลำภู จันทบุรี และแม่ฮ่องสอน การดำเนินการครั้งนี้ใช้เครื่องมือ คือ แบบสอบถามที่พัฒนามาจากตัวชี้วัดการบริหารจัดการที่ดีตามกรอบพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ผลการศึกษา หน่วยงานกลาง มีระดับคะแนนเฉลี่ยอยู่ระหว่างน้อยถึงปานกลาง โดยมีคะแนนที่สูงกว่าหลักการอื่นคือ การปฏิบัติตามหลักนิติธรรม (0.60) รองลงมาคือองค์การแห่งการเรียนรู้ (0.57) และเทคโนโลยีสารสนเทศ (0.53) คุณธรรม (0.51) ความคุ้มค่า (0.51) และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (0.48) ซึ่งจัดอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนหลักการที่เหลือ จัดอยู่ในระดับน้อย คือ หลักการบริหาร (0.39) หลักสำนึกรับผิดชอบ (0.38) หลักการมีส่วนร่วม (0.39) และหลักความโปร่งใส (0.23) โดยหลักความโปร่งใสเป็นหลักที่มีคะแนนน้อยที่สุดใน 10 หลักนั้น จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า หน่วยงานในส่วนกลางเน้นการปฏิบัติตามกฎระเบียบ การใช้เครื่องมือและเทคโนโลยี และการสร้างองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ มีการพัฒนาคน แต่ยังไม่นำความรู้ที่ได้มาใช้งานเท่าที่ควร มีเทคโนโลยีดี มีเครือข่ายสารสนเทศดี แต่ต้องพัฒนาการนำไปใช้งานจริงเพื่อให้เกิดความคุ้มค่า และที่น่าสนใจคือ ไม่มีหลักการใดได้คะแนนถึงระดับมากเลย ทั้งยังพบอีกว่าข้าราชการในส่วนกลางขาดขวัญกำลังใจในการทำงาน รู้สึกผูกพันกับหน่วยงานน้อย รู้สึกว่ากระบวนการต่าง ๆ โดยเฉพาะการให้คุณไม่โปร่งใส การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม และไม่มีการกระจายอำนาจ ตลอดจนกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ทั้งผู้รับบริการที่ไม่ใช่ประชาชนแต่เป็นเจ้าหน้าที่ด้วยกันเองยังมีน้อย ส่วนหน่วยงานในต่างจังหวัด มีระดับคะแนนเฉลี่ยอยู่ระหว่างน้อยถึงมาก โดยหลักการที่มีคะแนนน้อยกว่าหลักการอื่น คือ หลักความโปร่งใสที่มีคะแนนระดับน้อยค่อนไปทางปานกลาง (0.39) ส่วนคะแนนสูงสุดอยู่ในการปฏิบัติตามหลักนิติธรรม (0.70) รองลงมา คือ องค์การแห่งการเรียนรู้ (0.69) คุณธรรม (0.65) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (0.65) คุ้มค่า (0.63) และมีอีก 3 หลักการที่จัดอยู่ในระดับปานกลาง คือ มีส่วนร่วม (0.59) สำนึกรับผิดชอบ (0.57) และเทคโนโลยีสารสนเทศ (0.57) นับว่าหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุขในต่างจังหวัด มีการปฏิบัติตามกฎระเบียบสูง มีการพัฒนาตนเอง มีการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป คือการปฏิรูประบบราชการ ที่เน้นการให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง และมุ่งบริการประชาชน มีการทำงานที่คล่องตัว และลดขั้นตอนการทำงาน นอกจากนี้อาจกล่าวได้ว่า หน่วยงานสาธารณสุขในต่างจังหวัด มีความตื่นตัวในการพัฒนาตนเอง มีการสร้างองค์ความรู้ พัฒนาหน่วยงานให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ มีการสร้างความเป็นเจ้าของร่วมกัน มีการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน การศึกษานี้ยังพบว่าหน่วยงานมีความพร้อมในการทำงาน เต็มใจที่จะร่วมประเมินตนเอง มีการให้บริการประชาชนถึงแม้ประชาชนบางส่วนต้องการให้มีการอำนวยความสะดวกมากขึ้นก็ตาม นับเป็นการเริ่มต้นของการสร้างธรรมาภิบาลที่ดี โดยสรุปหน่วยงานต่าง ๆ มีผลการดำเนินการตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีอยู่ในระดับที่น่าพึงพอใจ เพราะคะแนนในหลักการส่วนใหญ่จะอยู่ในระดับปานกลางขึ้นไปแทบทั้งสิ้น มีเพียงไม่กี่หลักการที่ต้องมีการปรับปรุงให้ดีขึ้น นอกจากนี้การศึกษานี้ยังพบว่าหน่วยงานต่าง ๆ มุ่งที่การบริหารแนวใหม่ และเน้นการปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 แต่ยังต้องเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมาภิบาล โดยเฉพาะความโปร่งในสำนึกรับผิดชอบและการมีส่วนร่วมที่ต้องมีการปฏิบัติให้เกิดผล ข้อเสนอแนะทางนโยบาย คือ กระทรวงสาธารณสุข ควรจัดทำเป็นนโยบายในการให้หน่วยงานในสังกัดประเมินตนเอง เพื่อการพัฒนาตนเองและปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้น และสอดคล้องกับตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ต้องในโยบายในการให้การสนับสนุนงบประมาณ ในการดำเนินการเสริมสร้างธรรมาภิบาลและการประเมินผลนี้ และควรมีระเบียบในการให้รางวัลกับผู้ปฏิบัติงานดีเป็นผลสำเร็จ ข้อเสนอแนะทางการบริหาร คือฝ่ายบริหารพึงต้องรีบปรับปรุงเพื่อสร้างขวัญกำลังใจข้าราชการเจ้าหน้าที่ในส่วนกลางโดยเร็วที่สุด ตลอดจนเร่งสร้างกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความผูกพันต่อหน่วยงาน เร่งปฏิรูประบบการจ้างให้เกิดความเป็นธรรมโดยเร็ว ตลอดจนจัดการกับผู้ไม่มีผลงาน ควรมีการอบรมในเรื่องการเสริมสร้างธรรมาภิบาลให้เกิดขึ้นในทุกระดับ ให้สามารถปฏิบัติได้จริง มีการเสริมสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและเจ้าหน้าที่ทุกระดับ ข้อมูลที่ได้จากการประเมินควรใช้เพื่อการเปรียบเทียบตามช่วงเวลา ทั้งอาจให้หน่วยงานที่ 3 มาทำ การประเมินเป็นระยะเพื่อเปรียบเทียบผลและพร้อมให้รางวัลแก่หน่วยงานที่มีพัฒนาตนเป็นอย่างดี และเนื่องจากการศึกษานี้เป็นประโยชน์ เพื่อการใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการประเมินคราวต่อไป จึงควรมีการประเมินอย่างต่อเนื่อง โดยให้เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานสามารถเลือกหลักการและองค์ประกอบที่สอดคล้องกับบริบทของหน่วยงาน แต่ให้คงหลักองค์ประกอบร่วมไว้เพื่อการเปรียบเทียบกันได้ ข้อเสนอเพื่อการวิจัยต่อไป คือ ควรมีการศึกษาหาปัจจัยที่นำมาสู่ความสำเร็จหรือล้มเหลวของการสร้างการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีในแต่ละหน่วยงาน เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ในการพัฒนาตน
หัวเรื่องกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวง
 การควบคุมการบริหารองค์การ (33)
ฉบับปัจจุบันที่มีLIC
ประเภทสิ่งพิมพ์สิ่งพิมพ์สถาบันพระปกเกล้า
 งานวิจัยสถาบันพระปกเกล้า
หน้าปก

ส่งหน้านี้ไปยังสมาร์ทโฟน




ฐานข้อมูลปัจจุบัน
ฐานข้อมูลหลัก
(Total 30954 Bib)
กลับสู่ด้านบน

© 2024. Book Promotion & Service Co.,Ltd. · เจ้าหน้าที่เข้าสู่ระบบ · ติดต่อห้องสมุด