Company logo
บัตรรายการ
เลขเรียกหนังสือJC571 .ศ46
ชื่อเรื่องโครงการนวัตกรรมสร้างเสริมประชาธิปไตย การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ บ้านแก่งหลวง ตำบลแม่ปาน อำเภอลอง จังหวัดแพร่ : รายงานการวิจัย / ศรัญญู สมศักดิ์ และคณะ
พิมพลักษณ์นนทบุรี : สถาบันพระปกเกล้า, 2551
จำนวนหน้า23 หน้า : ภาพประกอบ
หมายเหตุทั่วไปทุนสนับสนุนจากสำนักวิจัย สถาบันพระปกเกล้า
สาระสังเขปวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อสำรวจและประเมินความพร้อม ศักยภาพของชุมชนต่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเพื่อศึกษาสภาพปัญหาของชุมชนในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เพื่อหาแนวทางการพัฒนาศักยภาพของชุมชนและมาตรฐานการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศให้เหมาะสมกับท้องถิ่น วิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยคณะนักวิจัยทำงานร่วมกับชาวบ้าน แต่กระบวนการวิจัยเป็นหน้าที่หลักของคณะนักวิจัยและชาวบ้านกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้กระจัดเวทีประชาคมและกระบวนการ FSC เป็นกระบวนการที่ให้คนในหมู่บ้านเข้ามามีส่วนร่วมคิด ร่วมวางแผน เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศให้มากที่สุด ใช้พื้นที่และประชากร บ้านแก่งหลวงตำบลแม่ปาน อำเภอลอง จังหวัดแพร่ ผลการวิจัยพบว่า นักวิจัยได้ทราบข้อมูลที่เกี่ยวกับบริบทในพื้นที่และสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนหมู่บ้านแก่งหลวงมากจากคนในชุมชนไม่มีอาชีพเสริมหลังจากการทำนา จึงทำให้ไม่มีรายได้ ต้องย้ายถิ่นฐานเข้าไปทำงานในเมือง อีกทังสินค้าที่ผลิตในหมู่บ้านไม่มีตลาดจำหน่าย ชุมชนหมู่บ้านแก่งหลวงมองข้ามแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญในพื้นที่ของตนที่สามารถจำทำรายได้ให้แก่ชุมชนได้ เนื่องจากคิดว่าเป็นสมบัติของเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติที่ต้องดูแลและเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์เพียงผู้เดียว คนในชุมชนหมู่บ้านแก่งหลวงยังไม่เข้ามามีส่วนร่วมเท่าที่ควร มีปัจจัยมาจาก แนวคิดในเรื่องการทำงานต้องเป็นหน้าที่ของผู้นำชุมชนรับผิดชอบและจัดการฝ่ายเดียว แต่ไม่ใช่หน้าที่ของคนในชุมชน ขาดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการท่องเที่ยว ไม่เห็นผลประโยชน์ของการรวมกลุ่มกัน และไม่เสียสละเวลา เพราะเห็นประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าส่วนรวม ผู้นำชุมชนไม่มีศักยภาพ มีปัจจัยมาจาก มีแนวคิดในเรื่องการท่องเที่ยวไม่ใช่สิ่งสำคัญ และมีงานในความรับผิดชอบของตนเองมาก การปรับแนวคิดให้กลุ่มผู้นำชุมชน ผู้นำตามธรรมชาติ และชาวบ้านได้ทราบว่าการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแตกต่างจากการท่องเที่ยวแบบเดิม ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากคนในชุมชนได้ช่วยกันคิดวางแนวทางการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศก่อนที่จะเกิดการท่องเที่ยวจริงขึ้น เพื่อรักษาสภาพธรรมชาติที่มีอยู่เดิมของตนไว้ อีกทั้งเป็นการเพิ่มรายได้แก่คนในชุมชนอีกด้วย นอกจากรายได้หลักแล้วที่ทำกินอยู่ทำให้ชาวบ้านสนใจมากขึ้น แต่ก็เป็นเพียงการจุดประกายเท่านั้น ยังไมมีการปฏิบัติอย่างจริงจัง เจ้าหน้าที่ป่าไม้ไม่ให้ความร่วมมือกับชุมชนที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยสามารถเข้าไปขายของหรืออาหารในเขตอุทยานฯ ได้และยังให้เยาวชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการเป็นไกด์นำเที่ยวให้กับนักท่องเที่ยวอีกด้วย
หัวเรื่องประชาธิปไตย -- ไทย -- แพร่ (2)
ฉบับปัจจุบันที่มีLIC
URL ObjectEbook Log and redirect
ประเภทสิ่งพิมพ์สิ่งพิมพ์สถาบันพระปกเกล้า
 งานวิจัยสถาบันพระปกเกล้า
หน้าปก

ส่งหน้านี้ไปยังสมาร์ทโฟน




ฐานข้อมูลปัจจุบัน
ฐานข้อมูลหลัก
(Total 30929 Bib)
กลับสู่ด้านบน

© 2024. Book Promotion & Service Co.,Ltd. · เจ้าหน้าที่เข้าสู่ระบบ · ติดต่อห้องสมุด