Company logo
บัตรรายการ
ISBN9744492627
เลขเรียกหนังสือJQ1749.ก795 .ส72
ผู้แต่งสุเชาวน์ มีหนองว้า
ชื่อเรื่องนักการเมืองถิ่นจังหวัดอุบลราชธานี / สุเชาวน์ มีหนองว้า
พิมพ์ครั้งที่พิมพ์ครั้งที่ 1
พิมพลักษณ์นนทบุรี : สถาบันพระปกเกล้า, 2549
จำนวนหน้า99 หน้า : ภาพประกอบ
ชื่อชุดชุดสำรวจเพื่อประมวลข้อมูลนักการเมืองท้องถิ่น ; เล่มที่ 3
 ชุดผลงานวิจัยเด่น 10 ปี สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า (58)
สาระสังเขปการศึกษาเรื่องนักการเมืองถิ่นจังหวัดอุบลราชธานี ตั้งแต่ พ.ศ. 2475-ปัจจุบัน (พ.ศ. 2548) มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาที่สำคัญ คือ เพื่อรู้จักนักการเมืองที่เคยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดอุบลราชธานีตั้งแต่อดีตจนกระทั่งปัจจุบัน เพื่อทราบถึงเครือข่ายและความสัมพันธ์ของนักการเมืองในจังหวัดอุบลราชธานี บทบาทและความสัมพันธ์ของกลุ่มผลประโยชน์ที่มีส่วนให้การสนับสนุนทางการเมืองแก่นักการเมืองในจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อทราบถึงบทบาทและความสัมพันธ์ของพรรคการเมืองกับนักการเมืองในจังหวัดอุบลราชธานี และทราบถึงวิธีการหาเสียงในการเลือกตั้งของนักการเมืองในจังหวัดอุบลราชธานี ตั้งแต่อดีตจนกระทั่งปัจจุบัน ซึ่งการศึกษาเป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ดำเนินการวิจัยโดยการศึกษาวิจัยจากเอกสาร การเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี และใช้การสังเกตการณ์ จากการศึกษาพบว่า ตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทยมาสู่ระบอบประชาธิปไตย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 และจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2476 เป็นต้นมาจนกระทั่งปัจจุบัน จังหวัดอุบลราชธานีในฐานะจังหวัดหนึ่งในประเทศไทย ก็เข้าสู่กระบวนการการเมืองการปกครองไทย โดยจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพื่อเข้าไปทำงานในรัฐสภา เช่นเดียวกับจังหวัดอื่นๆ เช่นกัน อย่างไรก็ตาม เมื่อใช้เกณฑ์ภูมิหลัง และอาชีพของนักการเมืองในจังหวัดอุบลราชธานีตั้งแต่อดีตจนกระทั่งปัจจุบัน สามารถแบ่งได้เป็น 2 ยุค คือ ยุคของนักการเมืองที่เป็นข้าราชการ ระหว่างปี พ.ศ. 2476 – พ.ศ.2514 และยุคของนักการเมืองที่เป็นนักธุรกิจ พ่อค้า ระหว่างปี พ.ศ.2518-ปัจจุบัน ในส่วนเครือข่ายของนักการเมืองในจังหวัดอุบลราชธานีและกลุ่มผลประโยชน์ที่มีส่วนให้การสนับสนุนทางการเมืองแก่นักการเมืองในจังหวัดอุบลราชธานี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะหลังมีการรวมกันเป็นกลุ่มในบางช่วงบางขณะ เพื่อให้ความช่วยเหลือกันในการเลือกตั้ง เช่น ในสมัยแรกๆ ภายหลังการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2518 เริ่มมีการรวมกลุ่มทางการเมืองที่มี นายสุทัศน์ เงินหมื่น เป็นผู้นำ ต่อมามีกลุ่มทางการเมืองที่มี นายประสิทธิ์ ณรงค์เดช และ นายไชยศิริ เรืองกาญจนเศรษฐ์ เป็นผ้านำ ส่วนในปัจจุบันในจังหวัดอุบลราชธานี มีกลุ่มการเมืองสำคัญ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มี นายปรีขา เลาหพงศ์ชนะ เป็นผู้นำ กับกลุ่มที่มีนายเกรียง กัลป์ตินันท์ เป็นผู้นำ แม้ว่าจะอยู่ในพรรคการเมืองเดียวกัน โดยกลุ่มการเมืองเหล่านี้จะลงสมัครในพรรคการเมืองเดียวกัน และเมื่อย้ายพรรคก็จะย้ายไปสังกัดพรรคใหม่คล้ายกัน ขณะเดียวกัน หัวหน้ากลุ่มก็อาจมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับนักการเมืองระดับชาติที่เป็นแกนนำในระดับรองหัวหน้าหรือหัวหน้าพรรคการเมืองด้วย ในส่วนรูปแบบและวิธีการหาเสียงของนักการเมืองถิ่นในจังหวัดอุบลราชธานี จากการศึกษาพบว่า รูปแบบวิธีการหาเสียงของนักการเมืองที่ได้รับการเลือกตั้งในสมัยแรกที่มีการเลือกตั้งกับในปัจจุบันแตกต่างกัน กล่าวคือ ในสมัยแรกจากการเลือกตั้งของจังหวัดอุบลราชธานีที่มีนักการเมืองได้รับการเลือกตั้ง เช่น นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ นายเลียง ไชยกาล นายฟอง สิทธิธรรม การหาเสียงใช้รูปแบบของการออกปราศรัยตามท้องถิ่นต่างๆ ในเขตเลือกตั้ง และการใช้กลุ่มเครือญาติเพื่อนสนิทช่วยในการหาเสียง แต่รูปแบบและวิธีการหาเสียงของนักการเมืองในจังหวัดอุบลราชธานีในยุคปัจจุบันเปลี่ยนไปจากเดิม เป็นการใช้การจัดตั้งระบบหัวคะแนนในหมู่บ้านและชุมขนกระจายครอบคลุมเขตเลือกตั้ง ซึ่งปัจจัยเกี่ยวกับความสามารถในการจัดตั้งหัวคะแนนจัดได้ว่าเป็นปัจจัยชี้ขาดสำคัญที่จะทำให้ผู้สมัครได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง นอกจากนี้ผู้สมัครยังต้องมีความสามารถและเอาใจใส่ต่อการให้บริการต่อประชาชนในเขตเลือกตั้ง เช่น การดูแลทุกข์สุขของประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนที่มาขอความช่วยเหลือจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง การเข้าร่วมกิจกรรมในงานบุญประเพณีที่ชาวบ้านในชุมชนจัดขึ้นอย่างสม่ำเสมอตลอดเวลา ซึ่งรูปแบบและวิธีการหาเสียงดังกล่าวสำคัญมาก อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้สมัครที่เป็นคนมีความรู้ความสามารถ คบง่าย พึ่งพาได้ ก็เป็นปัจจัยที่สำคัญประกอบกัน
หัวเรื่องนักการเมือง -- ไทย -- อุบลราชธานี (3)
 การหาเสียงเลือกตั้ง -- ไทย -- อุบลราชธานี
 ชุดผลงานวิจัยเด่น 10 ปี สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า (55)
 กลุ่มอิทธิพล -- ไทย -- อุบลราชธานี
 นักการเมืองถิ่น (14)
รายการเพิ่มผู้แต่งกิติรัตน์ สีหบัณฑ์
ฉบับปัจจุบันที่มีLIC
ประเภทสิ่งพิมพ์สิ่งพิมพ์สถาบันพระปกเกล้า
 งานวิจัยสถาบันพระปกเกล้า
หน้าปก

ส่งหน้านี้ไปยังสมาร์ทโฟน




ฐานข้อมูลปัจจุบัน
ฐานข้อมูลหลัก
(Total 30900 Bib)
กลับสู่ด้านบน

© 2024. Book Promotion & Service Co.,Ltd. · เจ้าหน้าที่เข้าสู่ระบบ · ติดต่อห้องสมุด