Company logo
บัตรรายการ
เลขเรียกหนังสือJS7153.3.ก8 .ก645
ผู้แต่งโอฬาร อ่องฬะ (5)
ชื่อเรื่องการศึกษารูปแบบในการพัฒนายกระดับศักยภาพของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลในการเข้าไปหนุนเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ในการบริหารจัดการท้องถิ่น : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบล พื้นที่อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ / โอฬาร อ่องฬะ ... [และคนอื่นๆ]
พิมพลักษณ์นนทบุรี : สถาบันพระปกเกล้า, 2550
จำนวนหน้า132 หน้า : ภาพประกอบ
สาระสังเขปการวิจัยเชิงปฏิบัติการ “การศึกษารูปแบบในการพัฒนายกระดับศักยภาพของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ในการเข้าไปหนุนเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ในการบริหารจัดการท้องถิ่น : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบล พื้นที่อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่” มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษารูปแบบในการพัฒนายกระดับศักยภาพของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลในทิศทางการกระจายอำนาจและกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการบริหารจัดการท้องถิ่นและเพื่อสร้างรูปแบบ (model) แนวทางในการผลักดันให้เกิดกลไกการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการบริหารจัดการท้องถิ่นทั้งในระดับท้องถิ่นและในระดับนโยบาย โดยมีโจทย์การวิจัยว่า “รูปแบบในการพัฒนายกระดับศักยภาพของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลในการเข้าไปหนุนเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ในการบริหารจัดการท้องถิ่น ภายใต้เงื่อนไขสถานการณ์บริบททางการเมืองในปัจจุบัน ควรเป็นอย่างไรถึงจะเหมาะสมกับนิเวศวัฒนธรรมท้องถิ่นและสามารถนำไปสู่การปฏิบัติการจริงได้” ซึ่งมีขอบเขตของการศึกษาในเขตพื้นที่อำเภอเชียงดาว 6 ตำบล ได้แก่ ตำบลเมืองนะ ตำบลทุ่งข้าวพวง ตำบลปิงโค้ง ตำบลเมืองคองและตำบลแม่นะ จากการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการพบว่า รูปแบบในการพัฒนายกระดับศักยภาพของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ในการเข้าไปหนุนเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการบริหารจัดการท้องถิ่น กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบล 6 ตำบลของอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ขอบเขตพื้นที่ลุ่มน้ำแม่ปิงตอนบน (ปิงส่วนที่ 1) มีรูปแบบลักษณะของการพัฒนาศักยภาพของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลที่หลากหลายรูปแบบตามฐานความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของสมาชิกสภา อบต. แต่ละพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มคนที่ผ่านการเรียนรู้มาจากเวทีต่างๆ ทั้งในระดับพื้นที่และระดับภาค มีโอกาสที่จะเข้ามาเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการหนุนเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่นั้นๆ ส่วนรูปแบบของการพัฒนาจากการจัดเวทีจากการจัดเวทีระดมความเห็น การสัมภาษณ์รายบุคคลมีรูปแบบต่างๆ อาทิ การพัฒนาให้เข้าใจในบทบาทหน้าที่ของการเป็นตัวแทนภาคประชาชน โดยเอาสถานการณ์ปัญหาของชุมชนเป็นฐานเข้าไปต่อรอง และผลักดันให้เกิดการปฏิบัติการ และการเชื่อมประสานกับกลุ่มองค์กรที่เกี่ยวข้อง ทั้งผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้านและประชาชน เข้ามามีบทบาทร่วมในการดำเนินงาน การพัฒนาศักยภาพสมาชิกผ่านกิจกรรมการอบรม โดยเฉพาะการเรียนรู้กฎหมายมาตราที่เกี่ยวข้องกับการปกครองท้องถิ่น บทบาทหน้าที่ ทั้งในส่วนของสมาชิกสภา อบต. และบทบาทหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อการพัฒนาท้องถิ่น ศึกษาดูงานและเปลี่ยนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีผลงานการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนต่อกระบวนการคิด วางแผน และลงมือปฏิบัติการร่วมกัน เป้าหมายสำคัญให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถพึ่งตนเองได้ จากรูปแบบของการพัฒนาศักยภาพสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลตามที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เป็นเพียงรูปแบบที่จะสามารถพัฒนาศักยภาพสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลได้เรียนรู้บทบาทหน้าที่ของตนเอง ทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ ก่อนที่จะทำให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นได้ อย่างไรก็ตามจากกระบวนการวิจัย นอกจากการศึกษารูปแบบการพัฒนาศักยภาพของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลแล้วยังพบว่า หากจะหนุนเสริมกลไกความร่วมมือของชุมชนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต.) จะมีรูปกิจกรรมที่เหมาะสมกับท้องถิ่นนั้นๆ เช่น การเสนอให้มีการติดตามประเมินผลการทำงานของอบต. โดยการเปิดเวทีประเมินร่วมกับชาวบ้านทุกโครงการฯ ก่อนที่จะลงมือทำ รวมไปถึงแผนพัฒนาในระดับตำบล หมู่บ้านว่าสอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการของชุมชนหรือไม่ อย่างไร เปิดโอกาสให้ชุมชนท้องถิ่นเข้ามาเรียนรู้ในกระบวนการทำงานของท้องถิ่น และเชื่อมการเรียนรู้จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปสู่การเรียนรู้กับชุมชนมากยิ่งขึ้น เข้าใจชุมชนมากขึ้นและมองเห็นปัญหา คิดหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน นอกจากการพัฒนาศักยภาพของสมาชิก อบต.แล้ว ยังมีข้อเสนอ แนวทางในการกระจายอำนาจให้กับท้องถิ่นภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน รวมทั้งข้อเสนอต่อแนวทางการกระจายอำนาจต่อร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ซึ่งมีข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะที่หลากหลาย โดยเฉพาะการมองเรื่องขององค์กรท้องถิ่นที่ซ้ำซ้อนกัน ไม่ว่าจะเป็นองค์การบริหารส่วนจังหวัด ฝ่ายปกครองในระดับอำเภอที่เข้ามามีอำนาจในการกำกับติดตามท้องถิ่น อาจจะต้องลดบทบาทลงและเปิดโอกาสท้องถิ่นบริหารจัดการท้องถิ่นโดยท้องถิ่นนั้นเอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการบริหารงบประมาณต่อการพัฒนาโครงการต่างๆ ในระดับหมู่บ้าน การพัฒนาการศึกษาที่มีนโยบายในการโอนการศึกษาให้ท้องถิ่น หากเห็นว่าอบต. เองยังไม่พร้อมมีการเสนอให้อบต. เข้าไปหนุนเสริมในแต่ละโรงเรียน ผ่านกลไกที่เรียกว่าคณะกรรมการการศึกษาโรงเรียน การพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม โดยไม่มองแต่เฉพาะเรื่องของสิ่งแวดล้อมที่เน้นพลังกลุ่มคนเท่านั้น แต่ทำให้สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติได้เข้าถึงชุมชนท้องถิ่น ชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการ แก้ไขปัญหาและเข้าไปใช้ประโยชน์ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บทบัญญัติตามกฎหมายรัฐธรรมนูญที่มีการร่างใหม่นั้น มีเนื้อหาที่เน้นการกระจายอำนาจให้กับท้องถิ่นอย่างแท้จริง ผลสรุปจากการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการพบว่า นอกจากพัฒนาศักยภาพของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลแล้ว สิ่งสำคัญต่อการเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของอบต. คือ การปรับโครงสร้างเชิงนโยบายต่อทิศทางการกระจายอำนาจ ในลักษณะที่ไม่แยกส่วน รวมไปถึงกลไกในระดับท้องถิ่นที่สามารถเข้ามาร่วมคิด วางแผนและลงมือปฏิบัติการร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ ในขณะเดียวกันองค์กรท้องถิ่นเอง สามารถบริหารจัดการท้องถิ่นของตนเองโดยอิสระ ไม่ซ้ำซ้อนในกระบวนการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นองค์การบริหารส่วนจังหวัด ฝ่ายปกครองในระดับอำเภอก็ตาม ซึ่งมีข้อเสนอของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ให้มีการยุบหน่วยงานที่มีความซ้ำซ้อนดังกล่าว และให้อำนาจในการตัดสินใจกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากขึ้น ทั้งการบริหารจัดการงบประมาณ การหนุนเสริม และงานพัฒนาที่เอาสถานการณ์ปัญหาในท้องถิ่นเป็นฐานนำไปสู่การวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหาต่อไปได้ อย่างไรก็ตาม การพัฒนาศักยภาพสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลพบว่า ยังคงมีอำนาจเดิมในระดับท้องถิ่นที่ต้องใช้เวลาในการเข้าใจบทบาทหน้าที่ของสมาชิกสภาฯ หรือแม้กระทั่งฝ่ายบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลที่ต้องทำความเข้าใจบทบาทหน้าที่ตนเองต่อการบริหารจัดการท้องถิ่นให้สามารถดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง โดยมีการปรับไปตามสถานการณ์ ไม่ยึดกรอบของกฎหมายมากกว่าความต้องการและความจำเป็นของชุมชนที่ต้องดำเนินการแก้ และพัฒนาทั้งแนวคิด ความรู้ไปพร้อมๆ กับโครงสร้างพื้นฐานและเป็นลักษณะการตัดสินใจร่วมของชุมชนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อการดำเนินงานในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และตั้งอยู่บนฐานทางวัฒนธรรม จารีต ประเพณีของท้องถิ่นที่ปฏิบัติสืบทอดกันมา
หัวเรื่องการบริหารส่วนตำบล -- ไทย -- เชียงใหม่ -- การมีส่วนร่วมของพลเมือง
รายการเพิ่มผู้แต่งกิติมา ขุนทอง
 คมจรสันท์ นารายณ์
 วิชิต หวุ่ยเฌอกู่
 สุนทร เทียนแก้ว
 ทนงศักดิ์ เดชไพรขลา
 และอนันต์ เขื่อนเพชร
ฉบับปัจจุบันที่มีLIC
ประเภทสิ่งพิมพ์สิ่งพิมพ์สถาบันพระปกเกล้า
 งานวิจัยสถาบันพระปกเกล้า
หน้าปก

ส่งหน้านี้ไปยังสมาร์ทโฟน




ฐานข้อมูลปัจจุบัน
ฐานข้อมูลหลัก
(Total 30943 Bib)
กลับสู่ด้านบน

© 2024. Book Promotion & Service Co.,Ltd. · เจ้าหน้าที่เข้าสู่ระบบ · ติดต่อห้องสมุด