Company logo
บัตรรายการ
เลขเรียกหนังสือKPT2877 .ค46
ชื่อเรื่องความเป็นอิสระขององค์กรตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 : รายงานการศึกษาวิจัย / ชลัท คงสืบพันธ์...[และคนอื่นๆ]
พิมพลักษณ์นนทบุรี : สถาบันพระปกเกล้า, 2550
จำนวนหน้า300 หน้า : ภาพประกอบ
สาระสังเขปการวิจัยเรื่อง “การศึกษาวิเคราะห์ความเป็นอิสระขององค์กรตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540” มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อวิเคราะห์ความเป็นอิสระขององค์กรตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 และเพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับความเป็นอิสระขององค์กรตามรัฐธรรมนูญดังกล่าว โดยจำแนกขั้นตอนการศึกษาออกเป็น 3 ขั้นตอนต่อเนื่อง ขั้นตอนแรกเป็นการสร้างตัวแบบแนวคิดรวบยอด (conceptual model) เกี่ยวกับความเป็นอิสระขององค์กรตามรัฐธรรมนูญโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เอกสารที่ยึดบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 และกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญตลอดจนเอกสารวิชาการเป็นหลัก ขั้นตอนที่ 2 เป็นการพัฒนาตัวแบบความเป็นอิสระขององค์กรตามรัฐธรรมนูญมาสู่ตัวแบบนำเสนอ (proposed model) โดยศึกษาตามทัศนะของผู้ที่เกี่ยวข้องตัวอย่างจำนวน 8 กลุ่ม คือ กลุ่มสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ กลุ่มนักวิชาการกลุ่มองค์อำนาจ กลุ่มเลขาธิการ กลุ่มสื่อสารมวลชนและ NGOs กลุ่มนักศึกษา กลุ่มประชาชนทั่วไป และกลุ่มนักการเมือง ขั้นตอนสุดท้ายซึ่งเป็นขั้นตอนที่ 3 เป็นการสังเคราะห์ตัวแบบความเป็นอิสระขององค์กรตามรัฐธรรมนูญที่ได้จากการศึกษาตามขั้นตอนที่ 1 และขั้นตอนที่ 2 มาเป็นตัวแบบปรับขยาย (modified model) โดยการประชุมระดมสมองกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องทั้ง 8 กลุ่ม ด้วยเทคนิคกลุ่มสนใจ ข้อค้นพบของการวิจัย : ประมวลได้ข้อค้นพบในประเด็นสำคัญได้ดังต่อไปนี้ 1.ความเป็นอิสระขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ : ผลการวิจัยพบว่า 1.1 นิยามความเป็นอิสระขององค์กรตามรัฐธรรมนูญและคำที่เกี่ยวข้องมีลักษณะที่เป็นรูปธรรมชัดเจนและสะท้อนให้เห็นถึงการวัดเกี่ยวกับความเป็นอิสระขององค์กรตามรัฐธรรมนูญได้อย่างสมเหตุสมผล 1.2 ความเป็นอิสระขององค์กรตามรัฐธรรมนูญประกอบด้วยความเป็นอิสระ 51 มิติย่อยที่จัดเป็น 2 มิติหลักคือ 1.2.1 ความเป็นอิสระเชิงหลักการ ซึ่งประกอบด้วย 13 มิติย่อย 1.2.2 ความเป็นอิสระเชิงเทคนิควิธีการ ซึ่งจำแนกออกเป็น 5 กลุ่มมิติ คือ มิติความเป็นกลาง มิติการเข้าสู่อำนาจขององค์อำนาจ มิติด้านนโยบาย มิติด้านงบประมาณ และมิติด้านการบริหารจัดการ 1.3 โครงสร้างและองค์ประกอบของมิติย่อยในมิติหลักทั้งสอง ภายใต้ตัวแบบปรับขยายที่ได้จากการศึกษาในขั้นตอนที่ 3 (phase call) ถูกจัดเป็นน้ำหนักสำคัญ (factor loading) ได้อย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม อันเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาเป็นดัชนีชี้วัดความเป็นอิสระที่สำคัญ (KPIs) ต่อไป 1.4 โดยทฤษฎีแล้วองค์กรตามรัฐธรรมนูญโดยภาพรวมทุกองค์กรก็มีความเป็นอิสระในทุกด้านทุกมิติอยู่ในระดับสูงถึงสูงมาก แต่ในทางปฏิบัติตามความเป็นจริงแล้วองค์กรตามรัฐธรรมนูญโดยภาพรวมทุกองค์กรมีความเป็นอิสระในทางปฏิบัติตามความเป็นจริงอยู่ในระดับปานกลางค่อนไปทางต่ำและมีทิศทางค่อนข้างสวนทางกับความเป็นอิสระโดยทฤษฎี 2. ปัญหา อุปสรรคเกี่ยวกับความเป็นอิสระขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ : ผลการวิจัยพบว่า2.1ปัญหาเชิงโครงสร้าง : จำแนกข้อค้นพบได้ดังนี้ 2.1.1 การใช้ชื่อเรียกเป็น “องค์กรตามรัฐธรรมนูญ” เป็นที่ยอมรับของกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ มากกว่าการใช้ชื่อเรียกเป็น “องค์กรอิสระ” หรือ “องค์กรตรวจสอบ”2.1.2การกำหนดกรอบโครงสร้างและการวัดความเป็นอิสระขององค์กรตามรัฐธรรมนูญภายใต้นิยามที่ถูกกำหนดจากผลการวิจัยตามข้อค้นพบหัวข้อ 1.1 มีความชัดเจน เป็นรูปธรรมและสามารถวัดหรือประเมินได้ในเชิงปริมาณ2.2ปัญหาเชิงทฤษฎีหรือปัญหาเชิงวิชาการ จำแนกข้อค้นพบได้ดังนี้ 2.2.1 ปัญหาในด้านความเป็นอิสระเชิงหลักการ ปัญหาที่พบเป็นประเด็นเกี่ยวกับความไม่ชัดเจนของขอบเขตอำนาจหน้าที่ ซึ่งครอบคลุมถึงความกว้างของขอบเขตอำนาจหน้าที่ที่บางองค์กรมีมากเกินขนาด บางองค์กรมีอยู่อย่างจำกัดตลอดจนความซ้ำซ้อนของขอบเขตอำนาจหน้าที่ขององค์กรรวมถึงความซ้ำซ้อนในการปฏิบัติหน้าที่และการเชื่อมโยงหรือการประสานเครือข่ายในการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กร 2.2.2 ปัญหาการได้มาซึ่งองค์อำนาจ เป็นปัญหาที่ส่งผลที่ทำให้องค์อำนาจที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับคุณสมบัติเกี่ยวกับความเป็นกลาง ปัญหาดังกล่าวครอบคลุมถึงความไม่เหมาะสมตั้งแต่ประเด็นของคุณสมบัติผู้สมัคร หลักเกณฑ์กระบวรการสรรหา และกระบวนการแต่งตั้งที่ผ่านวุฒิสภาที่อาจถูกครอบงำจากรัฐ 2.2.3 ปัญหาจากการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ เป็นปัญหาที่เกิดจากการขาดความชัดเจนของแนวคิดในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ รวมถึงการขาดความชัดเจนของระบบ รูปแบบ กระบวนการตรวจสอบ ตลอดจนภาคประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการตรวจสอบน้อยมาก 2.3 ปัญหาเชิงเทคนิคหรือปัญหาเชิงปฏิบัติตามความเป็นจริง เป็นปัญหาที่เกิดจากการครอบงำจากรัฐ ทั้งนี้เป็นการครอบงำโดยกรรมการสรรหาในขั้นการสรรหา การครอบงำโดยวุฒิสภา รวมถึงการครอบงำโดยผ่านกลไกงบประมาณ ในขณะที่ปัญหาที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรตามรัฐธรรมนูญนั้นเป็นปัญหาเนื่องจากความไม่ชัดเจนในโครงสร้างและการบริหารจัดการในระบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบงาน ระบบการบริหารงานบุคคล ระบบงบประมาณ และระบบการตรวจสอบขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ 3. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับความเป็นอิสระขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ ผลการวิจัยได้นำข้อเสนอแนะออกเป็น 4 แนวทาง ประกอบด้วย 3.1 ข้อเสนอแนะเชิงกฎหมายทั้งในส่วนที่เป็นบทบัญญัติรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ 3.2 ข้อเสนอแนะเชิงบริหารจัดการทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบงาน ระบบบริหารงานบุคคล ระบบงบประมาณ ระบบการตรวจสอบ 3.3 ข้อเสนอแนะทางวิชาการที่เน้นด้านการพัฒนาดัชนีชี้วัดสำคัญเกี่ยวกับความเป็นอิสระขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ ตลอดจนการวิจัยเพื่อกำหนดมาตรฐานด้านคุณธรรมจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง 3.4 ข้อเสนอแนะอื่น ๆ ที่เน้นการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการเมืองการปกครองให้แก่ประชาชนและการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐของภาคประชาชน อนึ่งนอกเหนือจากข้อเสนอแนะใน 4 แนวทางกันแล้วเพื่อให้การดำเนินการขององค์กรตามรัฐธรรมนูญเป็นไปอย่างมีอิสระ องค์กรควรดำเนินงานภายใต้มาตรการกำกับและมาตรการกระตุ้นความเป็นอิสระขององค์กรที่กำหนดตามตัวแบบปรับขยายโดยเฉพาะอย่างยิ่งใช้หลักการบริหารจัดการองค์กรด้วยหลักธรรมาภิบาล โดยยึดประโยชน์สุขของประชาชนและความสงบสุขของบ้านเมืองเป็นเป้าหมายปลายทาง
หัวเรื่ององค์กรของรัฐที่เป็นอิสระ (23)
รายการเพิ่มผู้แต่งชลัท จงสืบพันธ์ (6)
ฉบับปัจจุบันที่มีLIC
ประเภทสิ่งพิมพ์สิ่งพิมพ์สถาบันพระปกเกล้า
 งานวิจัยสถาบันพระปกเกล้า
หน้าปก

ส่งหน้านี้ไปยังสมาร์ทโฟน




ฐานข้อมูลปัจจุบัน
ฐานข้อมูลหลัก
(Total 31100 Bib)
กลับสู่ด้านบน

© 2024. Book Promotion & Service Co.,Ltd. · เจ้าหน้าที่เข้าสู่ระบบ · ติดต่อห้องสมุด