Company logo
บัตรรายการ
เลขเรียกหนังสือDS570.3.ป2 .ส435
ผู้แต่งสมบัติ จันทรวงศ์ (20)
ชื่อเรื่องโลกกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว : บทสำรวจ วิเคราะห์ และทัศนะวิจารณ์ของชาวโลก / สมบัติ จันทรวงศ์ นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ประจักษ์ ก้องกีรติ
จำนวนหน้าก-ฑ, 585 หน้า : ภาพประกอบ
หมายเหตุทั่วไปงานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสถาบันพระปกเกล้า
สาระสังเขปพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระนามเดิมว่า “สมเด็จเจ้าฟ้าชายประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา” เป็นพระโอรสองค์สุดท้ายในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ทรงจบการศึกษาทางด้านการทหารจากประเทศอังกฤษและฝรั่งเศส ทรงอภิเษกสมรสกับหม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา ได้บรมราชาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์สืบต่อจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2468 ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในรัชสมัยของพระองค์ได้เกิดเหตุการณ์ที่สำคัญๆ และเป็นปัจจัยทำให้สยามมีความปั่นป่วนอย่างมาก การเข้ามาของลัทธิคอมมิวนิสต์ที่จ้องจะให้มีการล้มล้างระบบราชวงศ์ วิกฤติศรัทธาที่เกิดขึ้นและสั่นคลอนเสถียรภาพของราชวงศ์เป็นอย่างมาก ส่วนทางด้านเศรษฐกิจ อาทิเช่น ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก การประกาศเลิกยึดมาตรฐานทองคำ ภาวการณ์ส่งออกต่ำและปัญหาหนี้สินซึ่งเกิดจากรัชกาลก่อน ทำให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงงานหนักเพื่อที่จะแก้ไขปัญหาต่างๆ เหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การหลั่งไหลเข้ามาของกระแสทางการเมืองที่เรียกว่า ระบอบประชาธิปไตย ซึ่งมีกลุ่มประเทศทางยุโรปเป็นแบบอย่าง และเผยแพร่ผ่านมาทาง “นักเรียนนอก” ทั้งหลายของรัฐบาลสยาม ซึ่งรวมตัวกันด้วยแนวคิดที่ว่าสยามควรจะเปลี่ยนระบอบการปกครองที่พระมหากษัตริย์เป็น “เจ้าชีวิต” ได้แล้วซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สถานการณ์ช่วงนั้นมีแต่ความสับสน ซึ่งตัวพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเองก็ทรงพยายามประคับประคองอย่างเต็มที่ จนในที่สุด จุดพลิกผันที่สำคัญก็เกิดขึ้นในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เมื่อ “คณะราษฎร” เข้ายึดอำนาจและเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง สยามในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อนั้นเต็มไปด้วยความสับสน วุ่นวาย แบ่งเป็นฝักเป็นฝ่าย กลุ่มอำนาจเก่าก็สูญเสียอำนาจ พวกที่ไม่เคยมีอำนาจก็กลับมาเป็นคนกุมอำนาจ บทบาทและฐานะของพระมหากษัตริย์ถูก “ลด” ลง หรือ “ไม่มีเลย” ทำให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอึดอัดอย่างยิ่ง กอรปกับเหตุการณ์หลายๆ เหตุการณ์ได้เกิดขึ้นเพื่อเสริมให้เห็นว่า พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ได้ถูกลิดรอนจนเกือบจะสูญสิ้น เช่น การพระราชทานรัฐธรรมนูญ หรือ เรื่องเค้าโครงเศรษฐกิจฉบับของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) และที่สำคัญที่สุดคือ การเกิดกบฏที่นำโดย พระองค์เจ้าบวรเดช หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กบฏบวรเดช ซึ่งเป็นส่วนผลักดันให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตัดสินพระทัยที่จะเดินทางไปรักษาพระเนตรที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และเสด็จพระราชดำเนินไปยังประเทศอังกฤษ และทรงสละราชสมบัติในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 ประวัติศาสตร์ในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวนับได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่สำคัญและมีผลต่อเนื่องสำหรับประเทศไทยจวบจนกระทั่งปัจจุบัน เพราะเป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ตลอดจนเสถียรภาพของราชวงศ์จักรี แต่อย่างไรก็ตาม ปรากฏว่ามีผลงานทางด้านพระปกเกล้าศึกษาออกมาอย่างค่อนข้างน้อย อาจจะเป็นเพราะช่วงระยะเวลาค่อนข้างสั้น หรืออาจเป็นเพราะข้อมูลต่างๆ ที่มีอยู่ยังมีความคลุมเครือ ไม่กระจ่าง รวมทั้งหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในช่วงนี้ได้กระจัดกระจายออกไปตามที่ต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ จึงเป็นความยากในการที่จะรวบรวมเอกสารต่างๆ เหล่านั้น โครงการวิจัยเรื่อง “โลกกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว : บทสำรวจ วิเคราะห์และทัศนะวิจารณ์ของชาวโลก” จึงเกิดขึ้นเพื่อสำรวจแหล่งข้อมูลและรวบรวมเอกสารชั้นต้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวที่อยู่ต่างประเทศและทำสำเนากลับมาเก็บไว้ ณ พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า โดยได้เน้นหนักไปยังประเทศมหาอำนาจในยุคนั้น ซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากต่อสยาม ได้แก่ สหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และเยอรมนี ในรายงานวิจัยฉบับนี้มีการสรุปเนื้อหาคร่าวๆ และแบ่งเป็นหมวดหมู่เพื่อความเข้าใจและเห็นภาพชัดขึ้น โดยมีเนื้อหาแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 บทนำ “”ประวัติศาสตร์ไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจากเอกสารไทย และงานวิชาการในประเทศไทย โดยได้แบ่งเป็น 2 ภาค คือ ภาคที่ 1 การเสด็จขึ้นครองราชย์-การเปลี่ยนแปลงการปกครอง (2475) ภาคที่ 2 การเปลี่ยนแปลงการปกครอง-การสละราชสมบัติ ส่วนที่ 2 บทวิเคราะห์เรื่อง “กบกบวรเดช : มุมมองจากเอกสารอังกฤษ” ส่วนที่ 2 บทวิเคราะห์เรื่อง “กบฏบวรเดช : มุมมองจากเอกสารอังกฤษ” ส่วนที่ 3 บทวิเคราะห์เรื่อง “การเมืองไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว : มุมมองจากเอกสารสหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2475-2476” ส่วนที่ 4 บทวิเคราะห์เรื่อง “Siam during the reign of King Prajadhipok in the light of German archival sources”
หัวเรื่องปกเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระฯ, 2436-2484 (98)
 ไทย -- ประวัติศาสตร์ -- กรุงรัตนโกสินทร์ -- รัชกาลที่ 7, 2468-2477 (38)
ฉบับปัจจุบันที่มีLIC
ประเภทสิ่งพิมพ์สิ่งพิมพ์สถาบันพระปกเกล้า
 งานวิจัยสถาบันพระปกเกล้า
 พระปกเกล้าศึกษา
หน้าปก

ส่งหน้านี้ไปยังสมาร์ทโฟน




ฐานข้อมูลปัจจุบัน
ฐานข้อมูลหลัก
(Total 31085 Bib)
กลับสู่ด้านบน

© 2024. Book Promotion & Service Co.,Ltd. · เจ้าหน้าที่เข้าสู่ระบบ · ติดต่อห้องสมุด