Company logo
บัตรรายการ
ISBN9789744493354
เลขเรียกหนังสือJQ1749 ก795 .ส63
ผู้แต่งสานิตย์ เพชรกาฬ
ชื่อเรื่องนักการเมืองถิ่นจังหวัดพัทลุง / สานิตย์ เพชรกาฬ
พิมพ์ครั้งที่พิมพ์ครั้งที่ 1
พิมพลักษณ์นนทบุรี : สถาบันพระปกเกล้า, 2550
จำนวนหน้า325 หน้า
ชื่อชุดชุดสำรวจเพื่อประมวลข้อมูลนักการเมืองถิ่น
 ชุดผลงานวิจัยเด่น 10 ปี สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า (57)
สาระสังเขปโครงการสำรวจเพื่อประมวลข้อมูลนักการเมืองถิ่นจังหวัดพัทลุง มีวัตถุประสงค์เพื่อรู้จัก และเข้าใจบทบาทพฤติกรรมของนักการเมืองจังหวัดพัทลุง ที่ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภาตั้งแต่การเลือกตั้งครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2476 จนกระทั่งการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2548 โดยแบ่งเนื้อหาในการนำเสนอออกเป็น 4 บท คือบทที่ 1 เป็นบทนำว่าด้วยความเป็นมาของการศึกษา อันเกิดจากฐานความคิดว่า การศึกษาเรื่องการเมืองการปกครองของไทยในอดีต มุ่งเน้นการศึกษาบทบาทนักการเมือง และพฤติกรรมทางการเมืองแบบรวมศูนย์อยู่ในศูนย์กลางของประเทศหรือ “การเมืองในระดับชาติ” แต่ภาพของการเมืองที่มาจากจังหวัดต่างๆ หรือ “การเมืองถิ่น” ยังไม่ค่อยได้มีการศึกษาค้นคว้าหรือให้ความสนใจกันมากนักทั้งๆที่การเมืองถิ่นเป็นองค์ประกอบสำคัญของการเมืองระดับชาติ การศึกษาการเมืองถิ่นในกรณีจังหวัดพัทลุง จึงเป็นกระบวนการสืบค้นหาคำตอบที่ว่าด้วยบทบาทพฤติกรรมของนักการเมืองในพื้นที่จังหวัดพัทลุง บทที่ 2 ว่าด้วย ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดพัทลุง ได้แก่ สภาพทางภูมิศาสตร์ โครงสร้างการบริหารและการปกครอง สภาพทางด้านเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม การเมือง ซึ่งมีอิทธิพลต่อสภาพความเป็นไปทางการเมืองภายในจังหวัด นอกจากนั้นยังได้สรุปแนวคิดที่ปรากฏในเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ทั้งที่เป็นเรื่องทางการเมืองของภาคใต้ และของจังหวัดพัทลุง บทที่ 3 เป็นรายละเอียดข้อมูลนักการเมืองถิ่นจังหวัดพัทลุง คือผู้ที่เคยได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ตั้งแต่ พ.ศ. 2476 จนถึง พ.ศ.2548 จำนวน 22 คน จากพรรคการเมือง 11 พรรค และผู้สมัครอิสระ สมาชิกวุฒิสภาจำนวน 2 คน ซึ่งเคยเป็น ส.ส.มาก่อน1 คน คือ นายโอภาส รองเงิน ลักษณะของการนำเสนอวิเคราะห์ข้อมูลของนักการเมืองแต่ละคนในด้านเครือข่ายของเครือญาติ และกลุ่มองค์กรต่างๆ นอกจากนั่นยังได้นำเสนอบทบาทของนักการเมือง และกลวิธีในการหาเสียงเลือกตั้งด้วย สำหรับบทที่ 4 ซึ่งเป็นบทสุดท้ายเป็นการอภิปรายผลการศึกษาค้นคว้า และข้อค้นพบ รวมทั้งข้อเสนอแนะจากการศึกษาวิจัยครั้งนี้พบว่านักการเมืองถิ่นพัทลุงสามารถจำแนกตามภูมิหลังของอาชีพ และบทบาทพฤติกรรมได้ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มอดีตข้าราชการ กลุ่มนักกฎหมาย และกลุ่มบุคคลผู้กว้างขวางในสังคม โดยกลุ่มอดีตข้าราชการได้รับเลือกเป็น ส.ส. มากที่สุด ในจำนวนนี้ส่วนใหญ่มาจากอดีตข้าราชการครู ส่วนกลุ่มอาชีพธุรกิจยังไม่ประสบความสำเร็จในการเลือกตั้ง ส.ส. พัทลุง ปัจจัยที่เป็นเหตุผลให้ได้รับการเลือกตั้งขึ้นอยู่กับเงื่อนไขศักยภาพของนักการเมือง และอิทธิพลของพรรคการเมืองที่สังกัด กล่าวคือ การเลือกตั้งในช่วงแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2476- 2518 การได้รับเลือกตั้งเกิดจากความนิยมในตัวบุคคลมากกว่าอิทธิพลของพรรคการเมือง และในเวลาต่อมาตั้งแต่ พ.ศ. 2519-2535 อิทธิพลของพรรคการเมืองเป็นปัจจัยสำคัญควบคู่กับศักยภาพของผู้สมัครรับเลือกตั้ง ทำให้นักการเมืองพรรคต่างๆ ได้รับเลือกตั้งเข้ามาหลายพรรค แต่แนวโน้มความนิยมต่อพรรคประชาธิปัตย์เริ่มมีสูงกว่าพรรคการเมืองอื่น จนกระทั่งการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2535 เป็นต้นมา พรรคประชาธิปัตย์สามารถยึดพื้นที่จังหวัดพัทลุงได้ทั้งหมด นักการเมืองสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ได้รับเลือกตั้งเข้ามายกทีมติดต่อกันทุกครั้ง ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากความนิยมที่ประชาชนชาวพัทลุงที่มีต่อพรรคประชาธิปัตย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเชื่อถือศรัทธาที่มีต่อนายชวน หลีกภัย อดีตหัวหน้าพรรคเป็นสำคัญ ส่วนศักยภาพ และความนิยมในตัวผู้สมัครเป็นปัจจัยรองลงมาสำหรับบทที่ 4 ซึ่งเป็นบทสุดท้ายเป็นการอภิปรายผลการศึกษาค้นคว้า และข้อค้นพบ รวมทั้งข้อเสนอแนะจากการศึกษาวิจัยครั้งนี้พบว่านักการเมืองถิ่นพัทลุงสามารถจำแนกตามภูมิหลังของอาชีพ และบทบาทพฤติกรรมได้ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มอดีตข้าราชการ กลุ่มนักกฎหมาย และกลุ่มบุคคลผู้กว้างขวางในสังคม โดยกลุ่มอดีตข้าราชการได้รับเลือกเป็น ส.ส. มากที่สุด ในจำนวนนี้ส่วนใหญ่มาจากอดีตข้าราชการครู ส่วนกลุ่มอาชีพธุรกิจยังไม่ประสบความสำเร็จในการเลือกตั้ง ส.ส. พัทลุง ปัจจัยที่เป็นเหตุผลให้ได้รับการเลือกตั้งขึ้นอยู่กับเงื่อนไขศักยภาพของนักการเมือง และอิทธิพลของพรรคการเมืองที่สังกัด กล่าวคือ การเลือกตั้งในช่วงแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2476- 2518 การได้รับเลือกตั้งเกิดจากความนิยมในตัวบุคคลมากกว่าอิทธิพลของพรรคการเมือง และในเวลาต่อมาตั้งแต่ พ.ศ. 2519-2535 อิทธิพลของพรรคการเมืองเป็นปัจจัยสำคัญควบคู่กับศักยภาพของผู้สมัครรับเลือกตั้ง ทำให้นักการเมืองพรรคต่างๆ ได้รับเลือกตั้งเข้ามาหลายพรรค แต่แนวโน้มความนิยมต่อพรรคประชาธิปัตย์เริ่มมีสูงกว่าพรรคการเมืองอื่น จนกระทั่งการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2535 เป็นต้นมา พรรคประชาธิปัตย์สามารถยึดพื้นที่จังหวัดพัทลุงได้ทั้งหมด นักการเมืองสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ได้รับเลือกตั้งเข้ามายกทีมติดต่อกันทุกครั้ง ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากความนิยมที่ประชาชนชาวพัทลุงที่มีต่อพรรคประชาธิปัตย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเชื่อถือศรัทธาที่มีต่อนายชวน หลีกภัย อดีตหัวหน้าพรรคเป็นสำคัญ ส่วนศักยภาพ และความนิยมในตัวผู้สมัครเป็นปัจจัยรองลงมา ข้อเสนอแนะเพื่อการศึกษาวิจัยในโอกาสต่อไปในเบื้องต้นควรจัดให้มีการประชุมสัมมนาในเชิงประวัติศาสตร์การเมืองจังหวัดพัทลุง ตั้งแต่ พ.ศ. 2476 จนถึงปัจจุบันเพื่อจะได้ข้อมูลรายละเอียดข้อคิดเห็นที่หลากหลายมากขึ้น การศึกษาวิจัยเรื่องดังกล่าวควรเป็นโครงการต่อเนื่อง เพราะสถานการณ์การเมืองถิ่นพัทลุงได้พัฒนาการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา รวมทั้งการศึกษาเป็นกรณีเฉพาะบทบาทของพรรคประชาธิปัตย์ในพื้นที่จังหวัดพัทลุงก็สามารถทำให้ได้ภาพรวมของการเมืองถิ่นจังหวัดพัทลุงก็สามารถทำให้ได้ภาพรวมของนักการเมืองถิ่นจังหวัดพัทลุงที่มีความคมชัด และสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
หัวเรื่องการหาเสียงเลือกตั้ง -- ไทย -- พัทลุง
 นักการเมือง -- ไทย -- พัทลุง (3)
 ชุดผลงานวิจัยเด่น 10 ปี สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า (46)
 กลุ่มอิทธิพล -- ไทย -- พัทลุง
ฉบับปัจจุบันที่มีLIC
ประเภทสิ่งพิมพ์สิ่งพิมพ์สถาบันพระปกเกล้า
 งานวิจัยสถาบันพระปกเกล้า
หน้าปก

ส่งหน้านี้ไปยังสมาร์ทโฟน




ฐานข้อมูลปัจจุบัน
ฐานข้อมูลหลัก
(Total 31103 Bib)
กลับสู่ด้านบน

© 2024. Book Promotion & Service Co.,Ltd. · เจ้าหน้าที่เข้าสู่ระบบ · ติดต่อห้องสมุด