Page 67 - kpi21595
P. 67

โดยกำหนดให้         คือ ค่าเฉลี่ยความเป็นพลเมืองแต่ละด้าน


                                            คือ ผลรวมของคะแนนความเป็นพลเมืองแต่ละด้าน

                                           คือ จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด

                       การหาคะแนนเฉลี่ยความเป็นพลเมืองจะดำเนินการกับคะแนนความเป็นพลเมืองของทั้ง 2 กลุ่ม
               ตัวอย่าง คือ กลุ่มแกนนำพลเมืองที่ได้รับการอบรมโดยตรงจากสถาบันพระปกเกล้า และกลุ่มประชากรใน

               อำเภอนำร่องที่ไม่ได้รับการอบรมโดยตรงจากสถาบันพระปกเกล้า แต่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากปฏิบัติการ

               เสริมสร้างพลังพลเมืองของแกนนำพลเมือง โดยจำแนกหาค่าเฉลี่ยของคะแนนความเป็นพลเมืองก่อนและหลัง
               มีปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมือง จากนั้นจึงหาค่าความแตกต่าง (Df) ของคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังมี

               ปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมืองอีกครั้ง โดยนำค่าเฉลี่ยของคะแนนหลังมีปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมือง
               ลบกับค่าเฉลี่ยคะแนนความเป็นพลเมืองก่อนมีปฏิบัติการเพื่อดูคะแนนความเป็นพลเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป

               ดังสมการด้านล่าง


                              Df =    2  -   1


                   โดยกำหนดให้ Df  คือ ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนความเป็นพลเมืองก่อนและหลังมีปฏิบัติการ


                                 1 คือ คะแนนพลเมืองก่อนมีปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมือง
                                 2 คือ คะแนนพลเมืองหลังมีปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมือง


                       ในส่วนถัดไปเพื่อทดสอบว่าคะแนนความเป็นพลเมืองตระหนักรู้และคะแนนความเป็นพลเมือง

               กระตือรือร้นที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นมีนัยสำคัญทางสถิติหรือไม่ ผู้วิจัยใช้การทดสอบด้วยสถิติ Dependent T-Test
               เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความเป็นพลเมืองของกลุ่มตัวอย่างเดิมก่อนและหลังมีปฏิบัติการเสริมสร้าง

               พลังพลเมือง โดยจับคู่คะแนนก่อนและหลังดำเนินโครงการแล้ววิเคราะห์ด้วยคำสั่ง Paired Sample T-Test ใน

               โปรแกรม SPSS เพื่อหาค่าความแตกต่างของคะแนนความเป็นพลเมืองก่อนและหลังมีปฏิบัติการเสริมสร้างพลัง
               พลเมือง (D) ของ 2 กลุ่มตัวอย่างทั้งที่ได้รับการอบรมโดยตรงจากสถาบันพระปกเกล้าและกลุ่มที่ไม่ได้รับการ

               อบรมโดยตรงจากสถาบันพระปกเกล้าว่ามีคะแนนความเป็นพลเมืองหลังมีปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมือง

               เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญหรือไม่ที่ค่า Sig. น้อยกว่า .05 เพื่อยอมรับหรือปฏิเสธสมมติฐานหลักที่กำหนดไว้ต่อไป
                       ส่วนการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นและตัวแปรตามด้วยสถิติถดถอยเชิงเส้น (regression)

               นั้น เป็นไปเพื่อทดสอบว่าตัวแปรต้นซึ่งในที่นี้คือโครงการปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมือง มีความสัมพันธ์กับ

               การเปลี่ยนแปลงคะแนนความเป็นพลเมืองตระหนักรู้และคะแนนพลเมืองกระตือรือร้นในทิศทางใดและใน
               ระดับใด โดยในส่วนนี้ผู้วิจัยแบ่งการทดสอบออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรก เป็นการทดสอบตัวแปรต้นคือ

               โครงการปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมืองกับตัวแปรแทรกซ้อนอื่นๆที่อาจมีผลต่อตัวแปรตามคือคะแนนความ
               เป็นพลเมืองทั้ง 8 ด้านและคะแนนความเป็นพลเมืองตระหนักรู้และกระตือรือร้นในภาพรวม ส่วนที่สองจะเป็น


                                                                                                        56
   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72