Page 79 - kpi21595
P. 79

กรอบการสร้าง         แกนนำพลเมือง              ตัวแทนชาวบ้าน                เจ้าหน้าที่รัฐ
                 ความเป็นพลเมือง

                 ปัจจัยส่วนบุคคล  หรือขัดขวางต่อการสร้างความ ขัดขวางต่อการสร้างความเป็น -ขอหลักฐานที่เกี่ยวข้องเช่น
                 (เพศ/การศึกษา/ เป็นพลเมือง                พลเมือง                     แผนพัฒนาอำเภอ ข้อบัญญัติ
                 อายุ/อาชีพ)                               -สอบถามปัจจัยส่วนบุคคล อาทิ  ตำบล รางวัลที่ตำบลได้รับ

                                                           ความสนใจทางการเมืองและการ
                                                           ตระหนักในศักยภาพของตนเองใน
                                                           การเข้ามามีส่วนร่วม

                 ผลลัพธ์         -ให้แกนนำประเมินความสำเร็จ  -สอบถามการรับรู้การดำเนิน  สอบถามความเห็นเกี่ยวกับการ
                                 ของการดำเนินโครงการ ทั้งใน  โครงการเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง สร้างความเป็นพลเมืองที่ผ่านมา
                                 ส่วนของตนเองและในส่วนของ  ของแกนนำพลเมือง             ว่าประสบความสำเร็จหรือไม่
                                 คนในพื้นที่               -ประเมินความสำเร็จของโครงการ  เพราะอะไร

                                 -สอบถามแนวทางดำเนินการ    ดังกล่าว
                                 ต่อไป                     -สอบถามความเปลี่ยนแปลงที่เกิด
                                                           ขึ้นกับตนเองและชุมชนอัน

                                                           เนื่องมาจากปฏิบัติการดังกล่าว

                       สำหรับรายละเอียดของกรอบการวิจัยเชิงคุณภาพที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมาเป็นคำถามหลักคำถามรองและ

               คำถามสำหรับการสัมภาษณ์นั้นปรากฎอยู่ในภาคผนวก จ โดยที่กรอบคำถามดังกล่าวได้รับการตรวจสอบโดย

               กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเรียบร้อยแล้วว่ามีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการวิจัยทั้ง 2 ข้อ
                       เมื่อได้กรอบคำถามสำหรับการวิจัยแล้วผู้วิจัยจึงได้พัฒนาเครื่องมือสำหรับเก็บข้อมูลตามรูปแบบวิธีการ

               เก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งประกอบไปด้วย แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้างและแนวทางการจัดสนทนากลุ่มต่อไป

                       โดยในส่วนของแบบสัมภาษณ์นั้น ผู้วิจัยจะจัดทำโครงร่างคำถามสำหรับการสัมภาษณ์โดยพิจารณาจาก
               กลุ่มตัวอย่างที่สัมภาษณ์เป็นหลัก ทำให้แบบสัมภาษณ์ถูกจำแนกออกเป็น 3 ชุด คือ แบบสัมภาษณ์นายอำเภอ

               แบบสัมภาษณ์แกนนำพลเมือง และแบบสัมภาษณ์ประชากรตัวอย่างในระดับตำบล โดยแบบสัมภาษณ์แต่ละชุด

               จะดำเนินการตามกรอบคำถามหลักและคำถามรองที่กำหนดไว้โดยมีจุดเน้นที่ต้องการลงรายละเอียดแตกต่าง
               กัน กล่าวคือ ในส่วนของแกนนำพลเมืองจะเน้นไปที่องค์ความรู้และกระบวนการขยายผลการสร้างความเป็น

               พลเมืองสู่คนในชุมชนเป็นหลัก อาทิ เรื่องการถ่ายทอดความรู้ โครงการและกิจกรรมที่แกนนำพลเมือง
               ดำเนินการกับคนในพื้นที่ เป็นต้น เนื่องจากข้อมูลที่คาดว่าจะได้รับจากแกนนำพลเมืองจะชี้ให้เห็นเงื่อนไขด้าน

               ปัจจัยนำเข้า (input) และเงื่อนไขด้านกระบวนการ (process) ส่งเสริมความเป็นพลเมืองในระยะที่สองของ

               โครงการปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมืองได้อย่างสำคัญ ด้านนายอำเภอนั้นแบบสัมภาษณ์จะเน้นไปที่
               ภาพรวมของโครงการ/นโยบายในระดับอำเภอและระดับจังหวัดเพื่อตรวจสอบว่ามีโครงการที่เป็นไปเพื่อ

               ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเรื่องพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยหรือไม่มากน้อยเพียงใด ตลอดจนเพื่อ
               ตรวจสอบว่าในมุมมองของเจ้าหน้าที่รัฐคนในพื้นที่มีการเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองตระหนักรู้และ

               กระตือรือร้นมากน้อยเพียงใดจากเงื่อนไขใด ในส่วนของประชากรตัวอย่างในพื้นที่แบบสัมภาษณ์จะครอบคลุม


                                                                                                        68
   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84