Page 80 - kpi21595
P. 80

หลายมิติทั้งเรื่องความรู้ความเข้าใจบทบาทและความสำคัญของการเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย ความ

               สนใจความเป็นไปของบ้านเมือง การตระหนักในศักยภาพของตนเองและการเข้าไปมีส่วนร่วมกับกิจกรรมทาง
               สังคมและกิจกรรมทางการเมืองในชุมชน เพื่อเป็นการตรวจสอบเรื่องการเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองที่เกิด

               ขึ้นกับประชากรในพื้นที่ขยายผลพร้อมทั้งตรวจสอบประสิทธิภาพของเงื่อนไขด้านปัจจัยนำเข้าและกระบวนการ

               สร้างความเป็นพลเมืองของแกนนำพลเมืองไปพร้อมกัน สำหรับข้อมูลแบบสัมภาษณ์ทั้ง 3 แบบนั้นสามารถดู
               รายละเอียดได้ในภาคผนวก ฉ

                       สำหรับเครื่องมืออีกชิ้นหนึ่งที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้สำหรับจัดสนทนากลุ่ม (focus group) ผู้นำ
               ท้องที่และผู้นำท้องถิ่นจากอำเภอนำร่องที่ต้องการศึกษาเชิงลึก ก็คือ แนวทางคำถามและรูปแบบการจัดสนทนา

               กลุ่ม ซึ่งจะกำหนดให้ใช้แนวทางคำถามและรูปแบบการจัดสนทนากลุ่มแบบเดียวกันนี้กับการสนทนกลุ่มผู้นำ

               ชุมชนทุกแห่ง เพื่อให้ข้อมูลที่ได้ครบถ้วนตามกรอบคำถามหลักคำถามรองและสามารถเทียบกันได้ในการ
               วิเคราะห์ผล สำหรับแนวทางคำถามในส่วนนี้ จะมุ่งเน้นเป็นการตรวจสอบข้อมูลโครงการ/นโยบายในระดับ

               อำเภอและระดับจังหวัดที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมความเป็นพลเมืองอันเป็นชุดข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์
               นายอำเภอเป็นหลัก รวมไปถึงเพื่อสอบถามโครงการเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองในระดับตำบลที่

               นอกเหนือไปจากโครงการที่ปรากฎอยู่ในแผนพัฒนาจังหวัดและอำเภอในส่วนของตำบลต่างๆ ตลอดจนเพื่อ

               ตรวจสอบความสำเร็จของโครงการเหล่านั้นว่ามีศักยภาพในการส่งเสริมความเป็นพลเมืองตระหนักรู้และ
               กระตือรือร้นได้เพียงใด สำหรับแนวทางในการจัดสนทนากลุ่มนั้นกำหนดให้มีขั้นตอนดังนี้ 1) ผู้วิจัยอธิบาย

               โครงการปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมืองที่สถาบันพระปกเกล้าดำเนินการมาระหว่างปี 2559-2561 เป้าหมาย

               ของโครงการและวัตถุประสงค์ในการประชุม 2) สอบถามความเข้าใจเกี่ยวกับพลเมืองและความสำคัญของ
               พลเมือง ด้วยคำถาม “พลเมืองคือใคร สำคัญอย่างไร” โดยให้ผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่มเขียนคำตอบลงในกระดาษ

               โดยไม่ต้องระบุชื่อ เนื่องจากผู้วิจัยเพียงต้องการสร้างบรรยากาศและเก็บข้อมูลความเข้าใจเรื่องพลเมืองใน
               ภาพรวมเท่านั้น ที่สำคัญคือต้องการให้กิจกรรมนี้เชื่อมโยงไปสู่กิจกรรมหลักในการสอบถามโครงการเกี่ยวกับ

               พลเมืองและการประเมินความสำเร็จของโครงการที่ผ่านมา 3) เมื่อผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่มเขียนคำตอบเสร็จแล้ว

               ผู้ช่วยวิจัยจะเก็บคำตอบและอ่านคำตอบเหล่านั้น จากนั้น ผู้วิจัยจะให้คำอธิบายเรื่องพลเมืองในภาพรวมตาม
               นิยามพลเมืองตระหนักรู้และพลเมืองกระตือรือร้นที่กำหนดไว้ตามกรอบการวิจัย 4) สอบถามเรื่องโครงการ

               สร้างความเป็นพลเมืองในระดับอำเภอและระดับตำบลที่ผ่านมาว่ามีโครงการใดบ้างและประสบความสำเร็จใน
               การสร้างความเป็นพลเมืองตระหนักรู้และกระตือรือร้นตามนิยามพลเมืองที่กำหนดไว้หรือไม่ โดยใช้ “สติก

               เกอร์” มาเป็นเครื่องมือเสริมในการเก็บข้อมูล โดยผู้วิจัยกำหนดใช้สติกเกอร์ 3 สีเพื่อให้ผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่มได้

               ประเมินความสำเร็จของโครงการที่มีลักษณะส่งเสริมความเป็นพลเมืองที่มีอยู่ในระดับอำเภอและระดับตำบล
               ตามความหมายของสีสติกเกอร์ที่ผู้วิจัยกำหนดไว้ ดังนี้

                       สติกเกอร์สีเขียว แทนโครงการที่ยังประสบความสำเร็จในการสร้างความเป็นพลเมืองตระหนักรู้และ

               กระตือรือร้นตามนิยามที่กำหนดไว้
                       สติกเกอร์สีเหลือง แทนโครงการที่ประสบความสำเร็จเพียงบางส่วนในการสร้างความเป็นพลเมือง

               ตระหนักรู้และกระตือรือร้นตามนิยามที่กำหนดไว้


                                                                                                        69
   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85