Page 81 - kpi21595
P. 81

สติกเกอร์สีแดง แทนโครงการที่ยังไม่ประสบความสำเร็จในการสร้างความเป็นพลเมืองตระหนักรู้และ

               กระตือรือร้นตามนิยามที่กำหนดไว้
                       สุดท้ายผู้วิจัยจะเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่มได้แสดงความคิดเห็นต่อการสร้างความเป็นพลเมือง

               ในระดับพื้นที่ที่ผ่านมาพร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะ สำหรับกรอบคำถามและแนวทางในการจัดสนทนากลุ่มของ

               ผู้นำท้องที่ผู้นำท้องถิ่นสามารถดูรายละเอียดได้จาก ภาคผนวก ฉ


                       วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
                       ดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้นว่าการศึกษาเชิงคุณภาพของวิจัยชิ้นนี้ ผู้วิจัยจะใช้วิธีการศึกษาแบบผสมผสาน

               ประกอบด้วย วิธีการสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง (semi-structured interview) การสนทนากลุ่มย่อย (focus

               group) และการศึกษาเอกสารหลักฐาน ซึ่งนอกจากจะเป็นไปเพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะเฉพาะของกลุ่ม
               ตัวอย่างทั้ง 3 กลุ่มแล้วก็ยังเป็นไปเพื่อตรวจสอบความน่าเชื่อของข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่ต่างกัน

               (triangulation) เพื่อคุณภาพของข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาเชิงคุณภาพอีกด้วย ดังนั้น วิธีการเก็บข้อมูลที่จะใช้กับ
               กลุ่มตัวอย่างแต่ละกลุ่มจึงแตกต่างกันออกไปดังนี้

                       ในส่วนของแกนนำพลเมืองนั้น ผู้วิจัยเลือกใช้การสัมภาษณ์เป็นหลัก เนื่องจากแกนนำพลเมืองถือว่า

               เป็นบุคคลที่อยู่ใน 3 สถานะคือเป็นทั้งปัจจัยนำเข้า (input) ผู้ทำกระบวนการ (process) และผลลัพธ์ (output)
               ของกระบวนการสร้างความเป็นพลเมืองของสถาบันพระปกเกล้าในเวลาเดียวกัน การพูดคุยต้องใช้เวลามาก

               การสัมภาษณ์จะช่วยให้ผู้ให้ข้อมูลมีความสบายใจและสามารถให้ข้อมูลได้มากกว่าการจัดสนทนากลุ่มอย่างเป็น

               ทางการ ขณะที่ การพูดคุยในบรรยากาศที่เป็นกันเองอาจช่วยให้แกนนำพลเมืองสามารถให้ข้อมูลที่เป็น
               ประโยชน์ต่อการวิเคราะห์เงื่อนไขที่ส่งเสริมหรือขัดขวางการสร้างพลเมืองในทางปฏิบัติได้มากขึ้น

                       อีกกลุ่มหนึ่งที่ผู้วิจัยเลือกใช้วิธีการสัมภาษณ์ก็คือชาวบ้านที่เป็นประชากรตัวอย่างในพื้นที่ เนื่องจาก
               การลงพื้นที่เก็บข้อมูลจากคนกลุ่มนี้ ไม่สามารถเดินทางไกลเพื่อมาร่วมสนทนากลุ่มกับผู้วิจัยได้ ดังนั้น การลง

               พื้นที่เพื่อสัมภาษณ์พวกเขาตัวต่อตัวจึงเป็นวิธีการได้ข้อมูลที่ดีที่สุด ขณะเดียวกัน การพูดคุยตัวต่อตัวก็ยังช่วยลด

               ปัญหากลุ่มตัวอย่างไม่ให้ความคิดเห็นเนื่องจากความไม่คุ้นเคยกับการแสดงความคิดเห็นท่ามกลางคนหมู่มากได้
               อีกด้วย นอกจากนั้น การลงพื้นที่เพื่อสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างด้วยตนเองยังช่วยแก้ไขปัญหาการไม่พบกลุ่ม

               ตัวอย่างจากการสุ่มในตอนแรกได้อีกด้วย เพราะผู้วิจัยสามารถเลือกกลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับกลุ่ม
               ตัวอย่างที่ไม่พบดังกล่าวในพื้นที่ได้ทันทีอีกด้วย ที่สำคัญกลุ่มประชากรตัวอย่างก็นับเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญที่จะ

               สามารถสะท้อนความเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองที่เกิดขึ้นภายหลังปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมืองของ

               แกนนำพลเมืองได้เป็นอย่างดี ทั้งยังเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญที่จะสะท้อนให้เห็นกระบวนการและสภาพแวดล้อม
               ทางด้านสังคมเศรษฐกิจการเมืองที่แวดล้อมพวกเขาและอาจมีผลต่อการเป็นพลเมืองตระหนักรู้และ

               กระตือรือร้นของพวกเขาได้อีกด้วย กรอบคำถามสำหรับกลุ่มประชากรตัวอย่างจึงมีอยู่จำนวนมากและต้องใช้

               เวลาในการพูดคุยการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์กับกลุ่มตัวอย่างนี้จึงมีความเหมาะสมที่สุด
                       ด้านนายอำเภอผู้วิจัยเลือกที่จะใช้วิธีการสัมภาษณ์ เนื่องจากนายอำเภอมีเวลาไม่มากนักที่จะให้ข้อมูล

               กับผู้วิจัยได้ทั้งวัน และจำเป็นต้องนัดหมายล่วงหน้าเพื่อเก็บข้อมูลสักชั่วโมงสองชั่วโมงตามกรอบคำถามที่


                                                                                                        70
   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86