Page 82 - kpi21595
P. 82
กำหนดไว้ กระนั้น การสัมภาษณ์นายอำเภอก็มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะนายอำเภอสามารถให้ภาพรวมของ
โครงการและปฏิบัติการในระดับอำเภอและระดับตำบลทั้งยังสามารถฉายภาพของสภาพแวดล้อมทางด้าน
สังคมและการเมืองในระดับอำเภอได้ ที่สำคัญผู้วิจัยยังสามารถขอความอนุเคราะห์จากนายอำเภอเพื่อ
สัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ท่านอื่นที่เกี่ยวข้องตลอดจนสามารถขอความอนุเคราะห์เรื่องข้อมูลต่างๆตามกรอบการวิจัย
ซึ่งได้แก่แผนพัฒนาอำเภอและข้อบัญญัติท้องถิ่นได้อีกด้วย
สำหรับผู้นำท้องที่และผู้นำท้องถิ่นนั้น ผู้วิจัยเลือกใช้วิธีการสนทนากลุ่ม (focus group) เนื่องจาก
ต้องการความเห็นในภาพรวมเกี่ยวกับกิจกรรมระดับอำเภอและระดับตำบล ซึ่งข้อมูลส่วนใหญ่เป็นข้อมูลทั่วไป
ที่สามารถเปิดเผยได้ ไม่ได้เป็นข้อมูลเชิงลึกหรือเป็นความลับอะไร จึงสามารถนำมาแลกเปลี่ยนกันในการ
สนทนากลุ่มได้ นอกจากนั้น การสนทนากลุ่มยังเป็นประโยชน์ต่อการทวนสอบข้อมูลที่ได้จากแผนพัฒนาอำเภอ
และข้อบัญญัติเทศบาล/อบต.ที่ได้จากการสำรวจแผนพัฒนาฯเบื้องต้น ทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อการสอบถาม
ความสำเร็จของโครงการที่มีแนวโน้มส่งเสริมสำนึกความเป็นพลเมืองในระดับอำเภอและตำบลได้อย่างมี
อรรถรส เพราะการสนทนากลุ่มอาจนำไปสู่การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ร่วมสนทนากลุ่ม อันจะเป็น
ประโยชน์ต่อการวิจัย
โดยในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลเชิงลึกนั้นผู้วิจัยจะจัดทำเอกสารแบบสัมภาษณ์เฉพาะกลุ่มเป้าหมายเพื่อ
ความสะดวกในการสัมภาษณ์ทุกครั้ง เพื่อให้การเก็บข้อมูลครอบคลุมทุกประเด็นที่ต้องการ ทั้งยังสามารถ
บันทึกข้อมูลเป็นรายบุคคลได้ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้ต่อไป โดยผู้วิจัยจะบันทึกเทป
บทสนทนาไว้ด้วย ที่สำคัญผู้วิจัยจะใช้กรอบคำถามเดิมทุกครั้งและใช้กิจกรรมเดิมทุกครั้งที่มีการสัมภาษณ์หรือ
จัดสนทนากลุ่ม เพื่อให้การสัมภาษณ์แต่ละครั้งเป็นไปในทิศทางเดียวกันและข้อมูลที่ได้สามารถเทียบกันได้
การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล
สำหรับการรวบรวมข้อมูลนั้นผู้วิจัยจะใช้วิธีการถอดเทปบทสัมภาษณ์และบันทึกบทสัมภาษณ์ที่ได้เป็น
รายบุคคลตามกรอบคำถามที่กำหนดไว้ เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์นัยสำคัญของคำพูดต่างๆ เพื่อให้เห็น
ภาพรวมความคิดของบุคคลผู้ให้สัมภาษณ์และเพื่อให้สามารถเปรียบเทียบข้อมูลต่างๆในประเด็นเดียวกันได้อัน
จะเป็นประโยชน์ในการวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป โดยผู้วิจัยจะจัดกลุ่มข้อมูลที่ได้ตามวิธีการเก็บข้อมูลและกลุ่ม
ตัวอย่างผู้ให้ข้อมูล และก่อนวิเคราะห์ผู้วิจัยจะตรวจสอบข้อมูลที่ได้แบบสามเส้าด้วยวิธีการรวบรวมข้อมูลที่
แตกต่างกัน คือการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับการใช้กลุ่มตัวอย่างที่
แตกต่างกันในที่นี้คือ กลุ่มตัวอย่างที่เป็นแกนนำพลเมือง เจ้าหน้าที่ของรัฐ และประชากรตัวอย่างในพื้นที่
ในส่วนของการวิเคราะห์ข้อมูลนั้นใช้วิธีอุปนัย (inductive approach) เพื่อค้นหาข้อสรุปและตอบ
วัตถุประสงค์ในการวิจัย ซึ่งมี 2 ข้อคือ 1) เพื่อศึกษาความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับพลเมืองที่เข้าร่วมโครงการ
ปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมืองในพื้นที่บูรณาการ 2) เพื่อศึกษาเงื่อนไขปัจจัยที่ส่งเสริมหรือขัดขวางต่อการ
สร้างความเป็นพลเมืองในระดับพื้นที่ โดยในการวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวผู้วิจัยได้กำหนดคำสำคัญ (keywords)
เพื่อค้นหาความเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองที่เกิดขึ้นตลอดจนเงื่อนไขที่อาจส่งเสริมหรือขัดขวางต่อการสร้าง
ความเป็นพลเมืองไว้ดังนี้
71