Page 85 - kpi21595
P. 85
บทที่ 4
ผลการศึกษา
งานวิจัยชิ้นนี้มีโจทย์การวิจัยที่สำคัญคือโครงการปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมืองสามารถสร้างความ
เปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองตระหนักรู้และพลเมืองกระตือรือร้นได้หรือไม่ นำไปสู่การกำหนดวัตถุประสงค์
การวิจัย 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับพลเมืองที่เข้าร่วมโครงการปฏิบัติการ
เสริมสร้างพลังพลเมืองในพื้นที่บูรณาการ 2) เพื่อศึกษาเงื่อนไขปัจจัยที่ส่งเสริมหรือขัดขวางต่อการสร้างความ
เป็นพลเมืองในระดับพื้นที่ เพื่อตอบวัตถุประสงค์การวิจัยข้างต้น ผู้วิจัยเลือกใช้การศึกษาแบบผสมผสาน
ระหว่างการศึกษาเชิงปริมาณ (quantitative method) และ การศึกษาเชิงคุณภาพ (qualitative method)
ประกอบกัน โดยดำเนินการกับกลุ่มตัวอย่างจาก 10 อำเภอนำร่องในจังหวัดร้อยเอ็ดภายใต้โครงการปฏิบัติการ
เสริมสร้างพลังพลเมือง ซึ่งประกอบด้วย อำเภอเมืองร้อยเอ็ด อำเภอธวัชบุรี อำเภอปทุมรัตต์ อำเภอสุวรรณภูมิ
อำเภอโพนทอง อำเภอเสลภูมิ อำเภอจังหาร อำเภอหนองพอก อำเภอพนมไพร และ อำเภอเกษตรวิสัย
ผ่านเครืองมือในการเก็บข้อมูลที่หลากหลาย ประกอบด้วย การเก็บแบบสอบถาม (questionnaire)
การสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง (semi structured interview) การจัดสนทนากลุ่ม (focus group) และการ
สำรวจเอกสารที่เกี่ยวข้อง (documentary review) โดยในบทนี้ผู้วิจัยจะนำเสนอว่าผลการศึกษาที่ได้สามารถ
ตอบวัตถุประสงค์ในการวิจัยทั้ง 2 ประการได้อย่างไรบ้างตามลำดับ
การเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองตระหนักรู้และพลเมืองกระตือรือร้น
ความเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองสำหรับรายงานฉบับนี้ ประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงความเป็น
พลเมืองใน 2 สองมิติใหญ่ๆ คือ 1) การเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองตามนิยามของพลเมืองตระหนักรู้
(concerned citizen) ในเรื่องของความรู้ความเข้าใจต่อบทบาทและหน้าที่ของพลเมืองในระบอบ
ประชาธิปไตย มีความสนใจต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเมืองมากขึ้น ตลอดจน ตระหนักถึง
ความสำคัญของหลักการประชาธิปไตยและตระหนักในศักยภาพของตนเองในการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการ
เมืองในระบอบประชาธิปไตยมากขึ้น 2) การเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองตามนิยามของพลเมือง
กระตือรือร้น (active citizen) ในที่นี้คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมความเป็นพลเมือง อาทิ มีการแสดงออก
ในการเข้าไปมีส่วนร่วมกับกิจกรรมทางสังคมและการเมืองมากขึ้น กล้าแสดงความคิดเห็น เข้าร่วมกิจกรรมกับ
กลุ่มต่างๆในชุมชนหรือมีการติดตามตรวจสอบผลการดำเนินงานของผู้นำท้องที่ท้องถิ่นมากขึ้น เป็นต้น
การวัดความเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองนั้น ใช้การศึกษาเชิงปริมาณ (quantitative research)
และการศึกษาเชิงคุณภาพ (qualitative research) ประกอบกัน โดยมุ่งหวังให้ผลการศึกษาเชิงปริมาณ
ชี้ให้เห็นแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองที่เกิดขึ้นกับกลุ่มตัวอย่างใน 10 อำเภอนำร่อง จังหวัด
ร้อยเอ็ด ภายหลังมีโครงการปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลังเมือง โดยเปรียบเทียบคะแนนความเป็นพลเมืองของ
กลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังดำเนินโครงการดังกล่าว ส่วนการศึกษาเชิงคุณภาพนั้นมุ่งหวังให้เป็นการตรวจสอบ
74