Page 86 - kpi21595
P. 86
ข้อมูลทางสถิติอีกครั้งเพื่อยืนยันว่าผลคะแนนความเป็นพลเมืองตระหนักรู้และพลเมืองกระตือรือร้น
ที่เปลี่ยนแปลงไปในทางสถิตินั้น มีความสอดคล้องกันกับผลการศึกษาเชิงคุณภาพหรือไม่ และเพื่อค้นหา
เงื่อนไขปัจจัยที่อาจส่งเสริมหรือขัดขวางต่อการสร้างความเป็นพลเมืองในระดับพื้นที่ต่อไป โดยการศึกษาทั้ง
สองวิธีจะดำเนินการกับ 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ 1) กลุ่มแกนนำพลเมืองที่ได้รับการอบรมโดยตรงจากสถาบัน
พระปกเกล้าในระยะแรกของโครงการปฏิบัติการเสริมสร้างความเป็นพลเมือง 2) กลุ่มตัวอย่างในระดับอำเภอที่
ไม่ได้รับการอบรมโดยตรงจากสถาบันพระปกเกล้า แต่คาดว่าจะเกิดความเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองจาก
ปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมืองโดยแกนนำพลเมืองในระยะที่สองของโครงการปฏิบัติการเสริมสร้างพลัง
พลเมือง โดยกลุ่มนี้จะได้จากการสุ่มรายชื่ออย่างเป็นระบบ
จากโจทย์การวิจัยข้างต้น ผู้วิจัยได้กำหนดสมมติฐานที่มีความเป็นไปได้จากผลการศึกษาไว้ 2 ประการ
คือ
H โครงการปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมือง ไม่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมือง
0
ตระหนักรู้และกระตือรือร้นให้เกิดขึ้นกับกลุ่มประชากรที่เข้าร่วมโครงการได้
H โครงการปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมืองสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมือง
1
ตระหนักรู้และกระตือรือร้นให้เกิดขึ้นกับกลุ่มประชากรที่เข้าร่วมโครงการได้
ซึ่งผลจากการศึกษาเชิงปริมาณและการศึกษาเชิงคุณภาพนั้นชี้ให้เห็นความเปลี่ยนแปลงความเป็น
พลเมืองไปในทิศทางเดียวกัน คือ โครงการปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมืองสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลง
ความเป็นพลเมืองตระหนักรู้และพลเมืองกระตือรือร้นให้เกิดขึ้นกับกลุ่มประชากรที่เข้าร่วมโครงการได้ อย่างไร
ก็ตาม การเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองที่เกิดขึ้นนั้นกลับแตกต่างกันออกไประหว่างกลุ่มตัวอย่างที่เป็นแกน
นำพลเมืองและได้รับการอบรมโดยตรงจากสถาบันพระปกเกล้า กับกลุ่มตัวอย่างในระดับอำเภอที่ไม่ได้รับการ
อบรมโดยตรงจากสถาบันพระปกเกล้า
ข้อมูลจากแบบสอบถามที่ผู้วิจัยเก็บได้จากกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 1,147 ชุด ซึ่งแบ่งออกเป็นกลุ่ม
ตัวอย่างที่ได้รับการอบรมโดยตรงจากสถาบันพระปกเกล้า จำนวน 147 ชุด และกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ได้รับการ
40
อบรมโดยตรงจากสถาบันพระปกเกล้าจำนวน 1,000 ชุด (ภายหลังจากถ่วงค่าน้ำหนัก) เมื่อทำการวิเคราะห์
โดยหาความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ย (Df.) ความเป็นพลเมืองทั้ง 8 ด้าน และคะแนนเฉลี่ยภาพรวมความเป็น
พลเมืองตระหนักรู้และความเป็นพลเมืองกระตือรือร้น พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่เป็นแกนนำพลเมืองและได้รับการ
อบรมโดยตรงจากสถาบันพระปกเกล้าทั้ง 2 ปี มีคะแนนความเป็นพลเมืองสูงกว่ากลุ่มตัวอย่างที่ไม่ได้รับการ
อบรมโดยตรงจากสถาบันพระปกเกล้าในทุกด้าน ดังตารางที่ 4
40 สำหรับรายละเอียดจำนวนแบบสอบถามและข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่างโปรดดูภาคผนวก ค
75