Page 89 - kpi21595
P. 89

โดยกลุ่มที่อบรมในปี 2559 ได้คะแนนเพิ่มขึ้น 0.77 จาก 6.37เป็น 7.76 โดยกลุ่มที่เข้ารับการอบรมในปี 2560

               ได้คะแนนเพิ่ม 0.44 จาก 7.73 เป็น 8.17 คะแนน
                       จากผลคะแนนความเป็นพลเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปข้างต้นแสดงให้เห็นว่ากลุ่มที่ได้รับการอบรม

               โดยตรงจากสถาบันพระปกเกล้านั้นมีคะแนนความเป็นพลเมืองทุกด้านและในภาพรวมสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับ

               การอบรมโดยตรงจากสถาบันพระปกเกล้า อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เป็นที่แน่ใจว่าคะแนนเฉลี่ยความเป็นพลเมือง
               ที่เพิ่มขึ้นและลดลงดังกล่าวของกลุ่มตัวอย่างเป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญ ผู้วิจัยจึงทดสอบT-test กับ

               ค่าเฉลี่ยดังกล่าวอีกครั้ง ซึ่งผลการทดสอบคะแนนความเป็นพลเมืองเปรียบเทียบก่อนและหลังดำเนินโครงการ
               ปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมืองด้วยคำสั่ง Paired-Samples T-Test ในโปรแกรม SPSS ก็ยืนยันว่าคะแนน

               ความเป็นพลเมืองตระหนักรู้และกระตือรือร้นของกลุ่มตัวอย่างที่เข้ารับการอบรมโดยตรงจากสถาบัน

               พระปกเกล้า มีค่า T-test สูงกว่ากลุ่มตัวอย่างที่ไม่ได้รับการอบรมจากสถาบันพระปกเกล้าโดยตรงอย่างมี
               นัยสำคัญ ดังตารางที่ 5


                       ตารางที่ 5 ผลการทดสอบ T Test คะแนนความเป็นพลเมืองก่อนและหลังมีปฏิบัติการเสริมสร้าง
               พลังพลเมือง จำแนกตามกลุ่มเป้าหมาย

                       ประเภทพลเมือง                 กลุ่มตัวอย่าง        Mean       Sd.      T      Sig

                ความเป็นพลเมืองตระหนักรู้    กลุ่มที่ได้รับการอบรม       1.20      1.21     12.00  .000
                                             (2559 และ 2560)

                                             กลุ่มที่ไม่ได้รับการอบรม    -.75      2.23     -10.70  .000

                ความเป็นพลเมืองกระตือรือร้น  กลุ่มที่ได้รับการอบรม       1.30      1.70     9.42    .000
                                             (2559 และ 2560)

                                             กลุ่มที่ไม่ได้รับการอบรม    -.61      2.20     -8.74   .000

                       จากตารางที่ 5 จะเห็นได้ว่ากลุ่มตัวอย่างที่เข้ารับการอบรมโดยตรงจากสถาบันพระปกเกล้าทั้ง 2 ปีนั้น

               มีคะแนน T-test เป็นบวก โดยได้ค่า T ของคะแนนความเป็นพลเมืองตระหนักรู้อยู่ที่ 12.00  ขณะที่คะแนน

               ความเป็นพลเมืองกระตือรือร้นมีค่า T เป็นบวกอยู่ที่ 9.42 โดยทั้งสองค่ามีค่า Sig. น้อยกว่า .05 แสดงให้เห็นถึง
               คะแนนความเป็นพลเมืองดังกล่าวเป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญ ในทางกลับกันกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ได้รับการ

               อบรมโดยตรงจากสถาบันพระปกเกล้า พบว่าค่า T ของคะแนนความเป็นพลเมืองตระหนักรู้และความเป็น
               พลเมืองกระตือรือร้นติดลบทั้งคู่ ที่ -10.70 และ -8.74 ตามลำดับ โดยมีค่า Sig. น้อยกว่า .05 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า

               คะแนนความเป็นพลเมืองที่ลดลงของกลุ่มตัวอย่างดังกล่าวเป็นไปอย่างมีนัยสำคัญ

                       จากผลคะแนนความเป็นพลเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปข้างต้นแสดงให้เห็นว่า กลุ่มที่ได้รับการอบรม
               โดยตรงจากสถาบันพระปกเกล้ามีคะแนนความเป็นพลเมืองทุกด้านและในภาพรวมสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับการ

               อบรมโดยตรงจากสถาบันพระปกเกล้า สะท้อนให้เห็นว่า โครงการปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมืองสามารถ

               สร้างความเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองตระหนักรู้และกระตือรือร้นให้แก่กลุ่มตัวอย่างได้จริง แต่เฉพาะใน
               ส่วนของการดำเนินโครงการในระยะที่ 1 เท่านั้น ที่สถาบันพระปกเกล้าได้มีปฏิบัติการกับคนในพื้นที่ด้วยตนเอง



                                                                                                        78
   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94