Page 90 - kpi21595
P. 90
ส่วนการดำเนินโครงการในระยะที่ 2 ซึ่งเป็นการขยายผลการสร้างความเป็นพลเมืองสู่คนในชุมชนโดยแกนนำ
พลเมืองนั้น พบว่ายังไม่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองให้แก่กลุ่มตัวอย่างได้อย่างมี
นัยสำคัญ
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เป็นที่มั่นใจว่าคะแนนความเป็นพลเมืองของทั้ง 2 กลุ่มตัวอย่างนั้นแตกต่างกัน
ออกไประหว่าง การดำเนินโครงการในระยะแรก และการดำเนินโครงการในระยะที่สองจริง ผู้วิจัยจึงได้ทำการ
วิเคราะห์สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนความเป็นพลเมืองที่เปลี่ยนแปลงของกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 อีกครั้ง กับชุดตัว
แปรขนาดใหญ่ ซึ่งประกอบด้วย ตัวแปรด้านเพศ อายุ อาชีพ การศึกษา การได้รับการอบรมโดยตรงจาก
สถาบันพระปกเกล้า และการรู้จัก-เข้าร่วมกิจกรรมกับของแกนนำพลเมืองที่ได้รับการอบรมจากสถาบัน
พระปกเกล้า ซึ่งเป็นการดำเนินโครงการในระยะที่สองโดยแกนนำพลเมืองในพื้นที่ โดยผลการวิเคราะห์ที่ได้จะ
ชี้ให้เห็นว่าภายใต้ตัวแปรควบคุมด้านเพศ อายุ อาชีพเดียวกัน แตกต่างกันเพียงเงื่อนไขด้านการเข้าร่วม
โครงการปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมืองในระยะที่ 1 และ ระยะที่ 2 เท่านั้น ทำให้คะแนนความเป็นพลเมือง
ของกลุ่มตัวอย่างแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ดังตารางที่ 6
ตารางที่ 6 ความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองตระหนักรู้กับโครงการ
ปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมืองระยะที่ 1 และ ระยะที่ 2
Standardized
Unstandardized Coefficients Coefficients
Model B Std. Error Beta T Sig.
(Constant) 6.097 .456 13.364 .000
กลุ่มที่อบรมโดยตรงจาก 2.696 .350 .451 7.693 .000
สถาบันฯ (ระยะที่1)
เพศชาย -.048 .099 -.014 -.481 .631
อายุ .023 .025 .189 .914 .361
2
อายุ .000 .000 -.107 -.532 .595
รู้จักสถาบันพระปกเกล้า .418 .106 .120 3.927 .000
เข้าร่วมกิจกรรมระยะที่ 2 -.736 .308 -.138 -2.392 .017
ช่วงอายุ 21-30 ปี .051 .236 .009 .216 .829
ช่วงอายุ 31-40 ปี -.096 .229 -.021 -.420 .675
ช่วงอายุ 41-50ปี -.406 .227 -.100 -1.787 .074
ช่วงอายุ 51-60ปี -.300 .229 -.074 -1.312 .190
อายุ 60 ปีขึ้นไป -.074 .243 -.015 -.303 .762
ระดับอาชีวะ .669 .257 .084 2.599 .009
มัธยมศึกษาตอนต้น .133 .156 .029 .853 .394
มัธยมศึกษาตอนปลาย .040 .155 .009 .258 .797
ปริญญาตรี .184 .258 .025 .713 .476
79