Page 91 - kpi21595
P. 91
Standardized
Unstandardized Coefficients Coefficients
Model B Std. Error Beta T Sig.
สูงกว่าปริญญาตรี .093 .427 .008 .218 .828
รับราชการ -.543 .357 -.064 -1.523 .128
ธุรกิจส่วนตัว -.584 .284 -.074 -2.057 .040
เกษตรกร -.459 .200 -.131 -2.292 .022
รับจ้าง -.342 .209 -.080 -1.638 .102
ลูกจ้าง -.496 .385 -.042 -1.288 .198
a R Square 0.41
b กลุ่มอ้างอิงคือ กลุ่มที่ไม่อบรม เพศชาย อายุต่ำกว่า 20 ปี ประถมศึกษา ไม่ประกอบอาชีพ ไม่รู้จัก ไม่เข้าร่วม
จากตารางที่ 6 จะเห็นได้ว่า กลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมโครงการปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมืองในระยะ
ที่ 1 ซึ่งสถาบันพระปกเกล้า โดยสำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง ได้อบรมความรู้เรื่องบทบาทและ
ความสำคัญของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยให้ด้วยตนเองนั้น เป็นกลุ่มที่มีคะแนนความเป็นพลเมือง
ตระหนักรู้และกระตือรือร้นสูงกว่ากลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการขยายผลการสร้างความเป็นพลเมืองโดยแกนนำ
พลเมืองในระยะที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญโดยมีค่า Sig. เท่ากับ .000 โดยมีค่า B ที่แสดงให้เห็นความแตกต่างของ
คะแนนความเป็นพลเมืองทั้งสองกลุ่มอยู่ที่ 2.696 ซึ่งแปลความได้ว่าหากกลุ่มตัวอย่างที่มีเพศเดียวกัน มีช่วง
อายุเดียวกัน การศึกษาระดับเดียวกัน และประกอบอาชีพเดียวกัน แต่ต่างกันที่การเข้าร่วมโครงการปฏิบัติการ
เสริมสร้างพลังพลเมืองในระยะแรกหรือระยะที่สองเท่านั้น จะทำให้ผู้นั้นมีคะแนนความเป็นพลเมืองแตกต่าง
กันราว .45คะแนน ซึ่งผลการวิเคราะห์สหสัมพันธ์จากชุดตัวแปรดังกล่าวมีความน่าเชื่อถือที่ 41%
ตัวแปรด้านการรู้จักสถาบันพระปกเกล้า นับเป็นอีกหนึ่งตัวแปรที่ผลการศึกษาพบว่ามีความสัมพันธ์
เชิงบวกกับคะแนนความเป็นพลเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือ ยิ่งผู้นั้นรู้จักสถาบันพระปกเกล้ามากเท่าใด
ยิ่งมีแนวโน้มที่ผู้นั้นจะมีคะแนนความเป็นพลเมืองสูงกว่าผู้ที่ไม่รู้จักสถาบันพระปกเกล้าเมื่อเปรียบเทียบภายใน
กลุ่มตัวอย่างเดียวกัน ในที่นี้ผลการศึกษาระบุว่าแม้กลุ่มตัวอย่างจะไม่ได้รับการอบรมโดยตรงจากสถาบัน
พระปกเกล้าในระยะที่ 1 แต่หากกลุ่มตัวอย่างรู้จักสถาบันพระปกเกล้าก็จะทำให้ผู้นั้นมีคะแนนความเป็น
พลเมืองสูงขึ้นได้เช่นกันเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มตัวอย่างเดียวกันที่ไม่ได้รับการอบรมโดยตรงจากสถาบัน
พระปกเกล้า ในที่นี้พบว่าค่า B เท่ากับ .418 และมีค่า Sig. น้อยกว่า .05 แสดงให้เห็นว่าความสัมพันธ์ระหว่าง
สองตัวแปรข้างต้นมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเบื้องต้นของแบบสอบถามชี้ให้เห็นว่าร้อยละ 45
ของผู้ที่ระบุว่ารู้จักสถาบันพระปกเกล้านั้น รู้จักผ่านสื่อต่างๆ คือ โทรทัศน์ และ สื่อออนไลน์ เป็นหลัก ไม่ได้
รู้จักสถาบันพระปกเกล้าผ่านการทำกิจกรรมของแกนนำพลเมือง แสดงให้เห็นว่าแม้จะระบุได้ถึงความสัมพันธ์
ระหว่างการรู้จักสถาบันพระปกเกล้ากับคะแนนความเป็นพลเมืองที่สูงกว่า กระนั้น ก็ไม่ได้แสดงให้เห็นว่า
คะแนนความเป็นพลเมืองที่สูงกว่าดังกล่าวเป็นผลมาจากกระบวนการขยายผลการสร้างความเป็นพลเมืองของ
แกนนำพลเมืองที่เข้ารับการอบรมจากสถาบันพระปกเกล้าในระยะที่ 2 ของปฏิบัติการ
80