Page 10 - 22432_fulltext
P. 10
9
โดยทั่วไปแล้วหลักเขตอ านาจทางดินแดนที่เป็นอัตวิสัยและภาวะวิสัย รวมถึงหลักสัญชาติเช่นกันนั้น
14
เพียงพอที่จะจัดการการละเมิดกฎหมายการแข่งขันทางการค้าได้เป็นจ านวนมาก ตัวอย่างเช่น หลักเขต
อ านาจทางดินแดนที่เป็นภาวะวิสัยสามารถน าไปใช้กับกิจการในต่างประเทศที่เข้าซื้อกิจการคู่แข่ง หรือเรียก
เก็บเงินในราคาที่ตั้งขึ้นเพื่อก าจัดคู่แข่งขัน (predatory pricing) ภายในอาณาเขตของรัฐ ซึ่งจะสามารถใช้
กฎหมายของตนกับการกระท าเหล่านั้นได้ อย่างไรก็ตาม หลักการเหล่านี้อาจไม่เพียงพอส าหรับทุกกรณีที่รัฐ
อาจประสงค์ที่จะมีเขตอ านาจศาลเหนือกิจการในต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านกฎหมายเศรษฐกิจ สิ่ง
นี้ยังคงเป็นค าถามอยู่ว่ารัฐจะสามารถใช้เขตอ านาจศาลในเชิงอรรถคดีเพียงเพราะกิจการในต่างประเทศ
ก่อให้เกิด “ผล” ทางการค้าภายในอาณาเขตของตนได้หรือไม่ แม้กิจการดังกล่าวจะไม่ได้อยู่ในอาณาเขตนั้น
และไม่ได้กระท าการใด ๆ ที่นั่น
หลักกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมืองแบบดั้งเดิมไม่เพียงพอที่จะจัดการกับปัญหาเหล่านี้
เนื่องจากเป็นหลักที่ได้รับการพัฒนาโดยค านึงถึงการกระท าทางกายภาพมากกว่าการกระท าทางเศรษฐกิจหรือ
15
แม้แต่ทางดิจิทัล กล่าวคือ กฎเกี่ยวกับเขตอ านาจศาลที่พัฒนาขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 นั้นไม่เหมาะกับ
บริบทของธุรกิจหรือเทคโนโลยีสารสนเทศในคริสต์ศตวรรษที่ 21
16
นอกจากนี้ สิทธิสภาพนอกอาณาเขตนั้นยังเป็นประเด็นที่ไม่มีค านิยามซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป
ค า ๆ นี้ถูกใช้เป็นเพียงส านวนในการเรียกเหตุการณ์ที่มีการใช้และบังคับใช้กฎหมายภายในกับสิ่งที่เกิดขึ้นนอก
เขตแดนของรัฐ ความแตกต่างระหว่างเขตอ านาจทางดินแดนที่เป็นภาวะวิสัยกับสิทธิสภาพนอกอาณาเขตคือ
เขตอ านาจทางดินแดนที่เป็นภาวะวิสัยจะเกี่ยวข้องกับส่วนของการกระท าภายในอาณาเขตของรัฐ เช่น การยิง
กระสุนปืนข้ามพรมแดนของประเทศ เป็นต้น ในขณะเดียวกัน สามารถมองสิทธิสภาพนอกอาณาเขตว่าเป็น
การที่รัฐขยายขอบเขตของการใช้ ‘เขตอ านาจศาล’ ออกมาภายนอกเขตแดนของประเทศตน ในขณะที่
ประเทศต่าง ๆ เผชิญกับผลที่เกิดขึ้นจากการกระท าต่อต้านการแข่งขันทางการค้าในต่างประเทศที่เพิ่มมากขึ้น
การใช้กฎหมายภายในที่เกี่ยวกับการแข่งขันทางการค้าจึงกลายหนึ่งในตัวเลือกเพื่อใช้ในการเยียวยาผลกระทบ
ต่อตลาดภายในประเทศที่ท าให้ลดการแข่งขัน สหรัฐอเมริกาเป็นหนึ่งในรัฐผู้บุกเบิกในการน าเอาสิทธิสภาพ
นอกอาณาเขตมาใช้ในกฎหมายการแข่งขันทางการค้า (กฎหมายต่อต้านการผูกขาด) ซึ่งเห็นได้จากค าพิพากษา
14 ดูRichard Whish and David Bailey, “Chapter 12 The International Dimension of Competition Law,”
th
Competition Law (9 edn Oxford University Press 2018)), 496.
15 Rothwell DR and others, “ Jurisdiction,” International Law: Cases and Materials with Australian
Perspectives (3rd edn Cambridge University Press 2018).
16 ดู Cynthia Day Wallace, The Multinational Enterprise and Legal Control: Host State Sovereignty in an Era
of Economic Globalization (2002) 668–9.