Page 13 - 22432_fulltext
P. 13
12
ในระบบกฎหมายการแข่งขันทางการค้าของสหภาพยุโรปนั้น มีหลักการสามประการ หากกรณีหรือ
พฤติการณ์นั้นสอดคล้องกับหลักการข้อใดข้อหนึ่ง ก็อาจท าให้เขตอ านาจศาลสามารถบังคับใช้ได้กับกิจการ
29
นอกสหภาพยุโรป หลักการแรกคือหลัก ‘หน่วยธุรกิจเดียวกัน’ (single economic entity doctrine)
สถานภาพทางกฎหมายของบริษัทแม่และบริษัทในเครือที่แยกต่างหากออกจากกันนั้นไม่มีผลให้เกิดความเป็น
อิสระในทางเศรษฐกิจ ตราบเท่าที่บริษัทแม่สามารถและมีการใช้อิทธิพลเหนือการตัดสินใจของบริษัทในเครือ
หลักการที่สองคือหลัก ‘การใช้’ (implementation doctrine) ซึ่งเป็นกรณีที่อาจมีเขตอ านาจศาลจากผลของ
การด าเนินการปฏิบัติร่วมกันในสหภาพยุโรป หลักการที่สามคือหลัก ‘ผลกระทบที่เข้าเกณฑ์’ (qualified
30
effects doctrine) ซึ่งถูกใช้หลายครั้งโดยคณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) และศาล
ยุติธรรมของยุโรป (European Court of Justice) หลักผลกระทบที่เข้าเกณฑ์จะถูกใช้เมื่อผลกระทบซึ่งท าให้
ลดการแข่งขันทางการค้าที่เกิดขึ้นภายในสหภาพยุโรปนั้น “สามารถเล็งเห็นได้ เป็นผลทันที และกระทบเป็นวง
31
กว้าง” (foreseeable, immediate, and substantial) เกณฑ์ความสามารถในการเล็งเห็นได้นั้นประเมิน
32
จาก ‘ความน่าจะเป็น’ ของผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการกระท า อย่างไรก็ตาม เช่นเดียวกับหลักผลกระทบ
(effect doctrine) ของสหรัฐอเมริกา การที่ระบุว่าการกระท านั้นส่งผลกระทบที่สามารถเล็งเห็นได้ เป็นผล
ทันที และมีผลกระทบเป็นวงกว้างภายในสหภาพยุโรปนั้นเป็นการสอบสวนที่เน้นข้อเท็จจริงอย่างเข้มข้น (fact-
intensive inquiry) ดังนั้น ควรที่จะตีความเป็นรายกรณีไปเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้สิทธิสภาพนอกอาณาเขตมี
ขอบเขตที่มากเกินไป
ข้อสังเกตของการใช้สิทธิสภาพนอกอาณาเขตของสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปที่เกี่ยวข้องกับ
33
กฎหมายการแข่งขันทางการค้า คือ ทั้งสองแห่งมีลักษณะอย่างหนึ่งที่เหมือนกันคือ อ านาจทางการเมืองและ
เศรษฐกิจ การที่ทั้งสองน าหลักผลกระทบมาใช้นั้นมีอิทธิพลในระดับหนึ่งต่อแนวทางการใช้สิทธิสภาพนอก
อาณาเขตในกฎหมายการแข่งขันทางการค้าของประเทศอื่น ๆ เช่น ประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย
สิงคโปร์ และอิสราเอล เพื่อแสดงให้เห็นถึงการแพร่กระจายของลัทธิสิทธิสภาพนอกอาณาเขต
ระดับที่เพียงพอบนพื้นฐานของปัจจัยทางภาวะวิสัยของกฎหมาย หรือข้อเท็จจริงของข้อตกลงหรือพฤติกรรมที่อาจมีอิทธิพล
ไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อม ที่เกิดขึ้นจริงหรืออาจเกิดขึ้น ต่อรูปแบบการค้าระหว่างประเทศสมาชิก, ดูตัวอย่างเช่น ค า
พิพากษาใน Case 172/80, Züchner, [1981] ECR 2021, para. 18; Case 319/82, Kerpen & Kerpen, [1983] ECR
4173; Joined Cases 240/82 and others, Stichting Sigarettenindustrie, [1985] ECR 3831, para. 48; and Joined
Cases T-25/95 and others, Cimenteries CBR, [2000] ECR II-491, 3930.
29 Richard Whish, David Bailey, “Chapter 12 The International Dimension of Competition Law,” Competition
th
Law (9 ed., 2018), 502.
30 Woodpulp I.
31 Intel v Commission, Case C-413/14 P (2017). [ซึ่งต่อไปในเชิงอรรถนี้เรียกว่า “Intel”]
32 Intel, 49.
33 Supra paras. 15-20.