Page 14 - 22432_fulltext
P. 14
13
(extraterritorialism) ตัวอย่างที่น่าสนใจคือกรณีของประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ เนื่องจากทั้งสองประเทศนั้น
ค่อนข้างต่อต้านการใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้านอกอาณาเขตในช่วงแรก หลังจากนั้น มุมมองของทั้ง
สองประเทศต่อประเด็นนี้ได้พัฒนาไปอย่างมากจนในที่สุดมาตราเกี่ยวกับสิทธิสภาพนอกอาณาเขตก็ถูกเพิ่มเข้า
ไปในกฎหมายการแข่งขันทางการค้าของทั้งสองประเทศ
ในช่วงแรก ประเทศญี่ปุ่นและประเทศอื่น ๆ ลังเลที่จะใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้านอกอาณา
เขตในขณะที่หลักผลกระทบเริ่มปรากฏในสหรัฐอเมริกา และประเทศญี่ปุ่นยังประท้วงอย่างแข็งขันต่อการที่
สหรัฐอเมริกาใช้สิทธิสภาพนอกอาณาเขตในกรณีที่เกี่ยวข้องกับการกระท าในต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม
มุมมองของประเทศญี่ปุ่นค่อย ๆ มีการพัฒนาในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา จุดเปลี่ยนในเชิงปฏิบัติและเชิง
สัญลักษณ์ของแนวทางการใช้สิทธิสภาพนอกอาณาเขตในกฎหมายการแข่งขันทางการค้าของประเทศญี่ปุ่น
เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1990 เมื่อคณะศึกษาซึ่งจัดขึ้นโดยคณะกรรมการเพื่อการค้าที่เป็นธรรมแห่งประเทศญี่ปุ่น
34
(Japan Fair Trade Commission “JFTC”) มีความเห็นชอบในยอมรับและน าเอาหลักผลกระทบมาใช้
35
รายงานของคณะศึกษาดังกล่าวมีอิทธิพลและยังคงถูกใช้อ้างอิงโดยหน่วยงานความร่วมมือแบบพหุภาค
การเปลี่ยนแปลงที่ส าคัญบางประการในการตรวจสอบการควบรวมกิจการของประเทศญี่ปุ่นเริ่มมีผล
บังคับใช้ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1999 ภายใต้ระบบเก่า การตรวจสอบมีขอบเขตจ ากัดเพียงการท าธุรกรรมที่
เกิดขึ้น ‘ในประเทศญี่ปุ่น’ โดยที่อย่างน้อยฝ่ายหนึ่งในการท าธุรกรรมที่ถูกเสนอจะต้องเป็นชาวญี่ปุ่นเพื่อให้ตก
อยู่ภายใต้การบังคับใช้ของกฎหมายป้องกันการผูกขาดของประเทศญี่ปุ่น (Antimonopoly Law) จึงเป็นเหตุที่
ท าให้ JFTC ไม่สามารถตรวจสอบได้ ตัวอย่างเช่น การควบรวมกิจการของ Boeing-McDonnell Douglas ใน
ปี ค.ศ. 1997 ซึ่งแม้ว่าในกรณีนี้สายการบินญี่ปุ่นเป็นผู้ซื้อเครื่องบินโดยสารรายใหญ่ที่ผลิตโดยทั้งสองฝ่าย และ
36
แม้ว่าตลาดญี่ปุ่นจะได้รับผลกระทบอย่างมีนัยส าคัญก็ตาม การแก้ไขเพิ่มเติมในปี ค.ศ. 1998 ได้ยกเลิก
ข้อก าหนดเรื่องความสัมพันธ์ของบุคคลในด้านดินแดน (territorial nexus) ซึ่งท าให้สามารถตรวจสอบธุรกรรม
37
ในต่างประเทศได้ โดยปัจจัยที่ใช้เป็นเงื่อนไขในการตกอยู่ภายใต้การบังคับของกฎหมายป้องกันการผูกขาด
คือยอดขายในประเทศญี่ปุ่นต้องมีมูลค่าตามที่ก าหนด
34 Dumping Regulations and Competition Policy, Extraterritorial Application of the Antimonopoly Act: Report
of the Study Group. ส าหรับการอภิปรายในเรื่องนี้ ดู J Tamura, “US Extraterritorial Application of Antitrust Law
to Japanese Keiretsu,” (1992) 25 NYUJInt'lLaw&Pol, 393-6.
35 ดูตัว อ ย่างเช่น OECD, Working Party No3 on Co-operation and Enforcement: Roundtable on Cartel
Jurisdiction Issues, including the Effects Doctrine: Japan, DAF/COMP/WP3/WD(2008) 88 (21 October 2008),
5-7.
36 E Kameoka, Competition Law and Policy in Japan and the EU (Edward Elgar 2014), 194.
37 ส าหรับการอภิปรายในเรื่องนี้ ดู K Yamaguchi, “Extra-Territorial Application of Japanese Anti-Monopoly Law
to Pure Non-Japanese M&As” (1999) 5(4) IntTLR 100.