Page 15 - 22432_fulltext
P. 15

14


                       เช่นเดียวกับประเทศญี่ปุ่น ในส่วนของประเทศเกาหลีใต้นั้น คณะกรรมการเพื่อการค้าที่เป็นธรรมแห่ง

               เกาหลี (Korea Fair Trade Commission “KFTC”) ในอดีตไม่ได้บังคับใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้าของ
               ประเทศเกาหลีนอกอาณาเขต เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะว่า KFTC ในตอนแรกได้ให้ความส าคัญกับปัญหาการ

                                                  38
               แข่งขันทางการค้าภายในประเทศมากกว่า  และเนื่องจากกฎหมายป้องกันการผูกขาดและการแข่งขันที่เป็น
               ธรรม (Monopoly Regulations and Fair Trade Act “MRFTA”) ไม่มีบทบัญญัติอย่างชัดแจ้งเกี่ยวกับการ
                                                                           39
               บังคับใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้าของประเทศเกาหลีนอกอาณาเขต

                       ท่าทีของ KFTC ที่เพิกเฉยนี้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากเนื่องจากผู้บริโภคและบริษัทในประเทศเกาหลี
               ได้รับความเสียหายจากการกระท าต่อต้านการแข่งขันทางการค้าของบริษัทต่างชาติที่เกิดขึ้นนอกประเทศ

                                   40
               เกาหลีมากขึ้นเรื่อย ๆ  ความเสียหายดังกล่าวที่เพิ่มขึ้นจากกการตกลงราคาร่วมกันระหว่างประเทศ
               (international cartel) ท าให้ KFTC เริ่มสืบสวนคดีการร่วมกันตกลงราคากราไฟต์ อิเล็กโทรดระหว่างประเทศ
               (graphite electrodes international cartel)  และการร่วมกันตกลงราคาวิตามินระหว่างประเทศ
                                                       41
                                           42
                                                                                                  43
               (international vitamin cartel)  โดยในที่สุด KFTC ได้ออกค าสั่งแก้ไขกับการตกลงร่วมกันดังกล่าว
                       เหตุการณ์ที่มีอิทธิพลอย่างมากในการเปลี่ยนมุมมองของ KFTC เกี่ยวกับสิทธิสภาพนอกอาณาเขตมี

               สองกรณี ได้แก่การตกลงร่วมกันระหว่างประเทศของกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจกราไฟต์อิเล็กโทรดในปี ค.ศ. 2002

               และการตกลงร่วมกันระหว่างประเทศของกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจวิตามินในปี ค.ศ. 2003 ในการสืบสวนทั้งสอง
               กรณีนี้โดย KFTC มีประเด็นที่โต้เถียงกันเกี่ยวกับปัญหาเรื่องเขตอ านาจของ KFTC เนื่องจากไม่มีบทบัญญัติ

               อย่างชัดแจ้งที่จะท าให้สามารถใช้อ านาจนอกอาณาเขตและส่งหมายเรียกไปต่างประเทศได้ ซึ่ง KFTC ได้อาศัย

               หลักผลกระทบ (effects doctrine) และหลักการใช้ (implementation doctrine) ในการใช้อ านาจเหนือทั้ง
               สองกรณี แม้ว่าจะไม่มีบทบัญญัติเรื่องเขตอ านาจอย่างชัดแจ้งใน MRFTA





               38  ดู Joseph Seon Hur, Competition Law/Policy and Korean Economic Development (Publication Ziumm,
               Ltd. 2006), 268-69.

               39  ดู DOGJEOMGYUJE MICH GONGJEONGGEOLAE-UI GWANHAN BEOBLYUL [Monopoly Regulation and Fair
               Trade Act (MRFTA)] Law No. 7315 (2004) (S. Korea).
               40  Memorandum from the Korean Fair Trade Comm'n on Korea's Experience in Attacking the International

               Cartel and the Need for International Cooperation to ultimately issued corrective orders against the cartels
               . 31, 2004, เพื่อสนับสนุนการบังคับใช้สิทธิสภาพนอกอาณาเขตของกฎหมายการแข่งขันทางการค้าของเกาหลีอย่างแข็งขัน
               KFTC ได้จัดตั้ง Org. 8 9 1o 1 for Econ. Co-operation & Dev. (May 2002) จาก Joseph Seon Hur, 'Extraterritorial

               Application of Korean Competition Law' (2008) 6 Regent J Int'l L 171.
               41  Judgment of Aug. 19, 2004, 2002 Nu 6110 (Seoul High Ct.) at 8 (S. Korea).
               42  Judgment of Nov. 24, 2004, 2003 Nu 9000 (Seoul High Ct.) at 10 (S. Korea).

               43  Judgment of Aug.   19, 2004, 2002 Nu 6110 (Seoul High Ct.) at 8 (S.   Korea); Judgment of Nov.   24, 2004,
               2003 Nu 9000 (Seoul High Ct.) at 10 (S. Korea).
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20