Page 17 - 22432_fulltext
P. 17
16
ส่วนที่ 3 เหตุที่หน่วยงานการแข่งขันทางการค้าของไทย
ควรพิจารณาการใช้สิทธิสภาพนอกอาณาเขต
ดังที่ได้พิจารณาในส่วนที่ 2 การบังคับใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้านอกอาณาเขตไม่ใช่เรื่องใหม่
แต่สิ่งที่ใหม่คือจ านวนรัฐในตอนนี้ที่มีกฎหมายการแข่งขันทางการค้า สิ่งที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นเพียงปรากฏการณ์
ในสหรัฐอเมริกาก าลังกลายเป็นมาตรฐานระดับโลก ดังนั้น รัฐจ านวนมากจะต้องตัดสินใจเกี่ยวกับการก าหนด
ขอบเขตอ านาจศาลของกฎข้อบังคับของการแข่งขันทางการค้าของตนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากหลายรัฐ
44
เผชิญกับการกระท าในต่างประเทศที่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยส าคัญต่อเศรษฐกิจภายในรัฐตนเอง ซึ่งรวมถึง
ประเทศไทยด้วย
บนการสันนิษฐานว่าการเพิ่มสวัสดิการโดยรวม (aggregate welfare) ให้สูงสุดคือจุดประสงค์หลัก
ของกฎข้อบังคับของการแข่งขันทางการค้า พฤติกรรมทางตลาดจะถือว่าเป็นภัยหากพฤติกรรมนั้นท าให้
สวัสดิการโดยรวมลดน้อยลง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วเป็นที่เข้าใจกันว่า สวัสดิการโดยรวมนั้นหมายถึงผลรวมส่วนเกิน
45
ของผู้บริโภคและผู้ผลิต (sum of consumer and producer welfares) ดังนั้น พฤติกรรมทางตลาดจะถือ
เป็นภัยในกรณีที่การสูญเสียส่วนเกินของผู้บริโภคเป็นจ านวนที่มากกว่าส่วนเกินที่ผู้ผลิตได้
อาจกล่าวได้ว่าการบังคับใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้านอกอาณาเขตนั้นเป็นมาตรการที่สร้างให้
เกิดการ “น าเข้าผลของการกระท าของตน” (internalisation) โดยผู้ประกอบธุรกิจที่ด าเนินการที่ต่อต้านการ
แข่งขันที่มีผลในหลายประเทศ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาการสร้างผลกระทบภายนอกในทางลบ (negative
externalities) ที่เกิดขึ้นในประเทศหนึ่ง ๆ จากการจ ากัดการแข่งขันจากต่างประเทศ กลับกัน หากผู้มีอ านาจ
ตัดสินใจภายในประเทศจะไม่ค านึงถึงสวัสดิการของชาวต่างชาติและสนใจแต่สวัสดิการของชาติตนเองเพียง
เท่านั้น ดังนั้น การควบรวมกิจการหรือการร่วมทุนที่อาจไม่ได้รับการอนุญาตในระบบเศรษฐกิจแบบปิดด้วย
เหตุที่ว่า การกระท าดังกล่าวจะส่งผลเสียต่อสวัสดิการโดยรวมนั้น อาจได้รับการอนุญาตให้ท าได้ในระบบ
เศรษฐกิจแบบเปิด เนื่องจากผลเสียต่อสวัสดิการนั้นสามารถส่งออกไปภายนอก (ย้ายไปให้ชาวต่างชาติ) ใน
46
สัดส่วนที่มากเป็นนัยส าคัญได้ บนการสันนิษฐานว่าการเพิ่มสวัสดิการโดยรวมให้สูงสุดนั้นเป็นจุดประสงค์ของ
44 Brendan Sweeney, “Combating Foreign Anti-Competitive Conduct: What Role for Extraterritorialism?”,
(2007) 8 Melbourne Journal of International Law 1.
45 John B Taylor, Principles of Microeconomics (3rd edn 2000), 227.
46 Alan O Sykes, ‘ Externalities in Open Economy Antitrust and Their Implications for International
Competition Policy’ (1999) 23 Harvard Journal of Law and Public Policy 89, 92–3. ในทางทฤษฎี ข้อสันนิษฐาน
นี้อาจเป็นจริงไม่ว่าผู้ก าหนดนโยบายจะปฏิบัติตามทฤษฎีทางเลือกสาธารณะ หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะก็ตาม โดยตาม