Page 20 - 22432_fulltext
P. 20
19
54
สหรัฐอเมริกานั้นได้อาศัยการด าเนินการผ่านกระบวนการยุติธรรมตามปกติจากภาคเอกชนเป็นส่วนมาก ซึ่ง
หน่วยงานการต่อต้านการผูกขาดของสหรัฐอเมริกาไม่ได้ถูกมองว่าจะต้องแบกรับความรับผิดชอบทั้งหมดใน
การบังคับใช้กฎต่าง ๆ เป็นผลให้หน่วยงานของสหรัฐอเมริกามักจะมีอ านาจน้อยกว่าหน่วยงานลักษณะเดียวกัน
55
ในประเทศอื่น ๆ โดยอาจมีข้อยกเว้นในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการควบรวมกิจการ ระบบการบังคับใช้กฎการ
ต่อต้านการผูกขาดของสหรัฐอเมริกาสะท้อนให้เห็นถึงความชอบโดยทั่วไปของสหรัฐอเมริกาในการให้
56
ความส าคัญต่อการรับผิดชอบส่วนบุคคลและการจ ากัดอ านาจส่วนกลางอย่างไม่ต้องสงสัย ในทางกลับกัน
คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าของประเทศไทย (กขค.) เช่นเดียวกับคณะกรรมาธิการยุโรปและ JFTC
นั้นท าหน้าที่กึ่งตุลาการซึ่งมีบทบาทอย่างมากในการก าหนดแนวทางการใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้า
57
และในขณะเดียวกันก็ท าหน้าที่ร่วมกับศาลปกครองไปด้วย
นอกจากรัฐจะได้รับประโยชน์จากการใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้าของตนนอกอาณาเขตแล้ว รัฐ
อื่น ๆ ยังจะได้รับผลกระทบต่อเนื่อง (flow-on effects) ที่เกิดขึ้นจากการที่รัฐที่ได้ใช้กฎหมายของตน
ตัวอย่างเช่น หากสหรัฐอเมริกาใช้กฎหมายต่อต้านการผูกขาดกับการกระท าร่วมกันอันเป็นการผูกขาด หรือลด
การแข่งขัน หรือจ ากัดการแข่งขันในตลาดโลก (international cartels) และเป็นเหตุให้การกระท าร่วมกันนั้น
จะยุติลง รัฐอื่น ๆ ย่อมจะได้รับประโยชน์จากการบังคับใช้กฎหมายโดยสหรัฐอเมริกาโดยไม่เสียต้นทุนใด ๆ
(free ride) การได้รับประโยชน์โดยไม่เสียต้นทุนเช่นนี้เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อประเทศที่มีการพัฒนาน้อยกว่า
ซึ่งหลายแห่งยังไม่มีกฎหมายการแข่งขันทางการค้าที่ใช้งานได้จริง หรือมีข้อจ ากัดด้านความสามารถในการ
58
บังคับใช้กฎหมายเป็นอย่างมาก
แม้อาจมีปัญหาในเรื่องของอ านาจอธิปไตย การได้รับประโยชน์โดยไม่เสียต้นทุนเป็นข้อเสนอที่
น่าสนใจแม้กระทั่งในกรณีที่บริษัทหนึ่งแห่งหรือหลายบริษัทตั้งอยู่ในประเทศก าลังพัฒนา เช่น ในกรณีที่
ผู้กระท าเป็นบริษัทในเครือของกิจการข้ามชาติ ซึ่งมีหลักฐานสนับสนุนมุมมองที่ว่าการจัดการกับการตกลง
54 Michael Pryles, Jeff Waincymer and Martin Davies, International Trade Law: Commentary and Materials
(2nd edn 2004) 480.
55 ดูโดยทั่วไปได้ใน Daniel Gifford, “The Jurisprudence of Antitrust” (1995) 48 Southern Methodist University
Law Review 1677 (มีการอภิปรายปัจจัยหลายอย่างที่มีอิทธิพลต่อหลักกฎหมายของสหรัฐอเมริกาเกี่ยวกับการต่อต้านการ
ผูกขาด).
56 ดูตัวอย่างเช่น Robert Pitofsky, “The Political Content of Antitrust” (1979) 127 University of Pennsylvania
Law Review 1051, 1056; William H Page, “Ideological Conflict and the Origins of Antitrust Policy” (1991) 66
Tulane Law Review 1. See also Wolfgang Pape, “Socio-Cultural Differences and International Competition
Law” (1999) 5 European Law Journal 438, 445 (มีการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างระบบกฎหมายการแข่งขัน
ของสหรัฐอเมริกาและยุโรปไว้โดยย่อ).
57 พระราชบัญญัติการเเข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 มาตรา 17, 52, 60, 62, 85.
58 Bruno Zanettin, Cooperation between Antitrust Agencies at the International Level (2002), 223.