Page 29 - 22432_fulltext
P. 29

28


               ให้ผู้ประกอบธุรกิจท าข้อตกลงต่อต้านการแข่งขันในแนวราบและแนวดิ่ง (horizontal and vertical anti-

               competitive agreement) นั้นแสดงให้เห็นประเด็นดังกล่าว ทั้งนี้ กขค. ได้ออกประกาศเรื่อง แนวทางปฏิบัติ
               ในการพิจารณาการกระท าร่วมกันของผู้ประกอบธุรกิจ อันเป็นการผูกขาด หรือลดการแข่งขัน หรือจ ากัดการ

                                      81
               แข่งขันในตลาด พ.ศ. 2561  เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาว่ามีการละเมิด พ.ร.บ.การแข่งขันฯ มาตรา
               54 หรือ 55 หรือไม่


                       แนวทางปฏิบัติฉบับนี้ไม่ได้กล่าวถึงข้อตกลงในแนวราบหรือแนวดิ่งที่ท าขึ้นในต่างประเทศแต่มี
               ผลกระทบต่อตลาดไทย นอกจากนี้ แม้แนวทางปฏิบัติฉบับนี้ไม่ได้ก าหนดว่าข้อตกลงการต่อต้านการแข่งขัน

               จะต้องเป็นข้อตกลงระหว่างผู้ประกอบธุรกิจในประเทศไทย แต่ก็ยังคงต้องใช้ค านิยามของ “ผู้ประกอบธุรกิจ”

               ตามมาตรา 5 ของ พ.ร.บ.การแข่งขันฯ พ.ศ. 2560 ซึ่งตีความได้ว่าสามารถบังคับใช้ได้เฉพาะผู้ประกอบธุรกิจ
               ภายในประเทศไทยเท่านั้น ดังนั้น อาจมีปัญหาเกิดขึ้นในอนาคตหากมีการตกลงร่วมกันในต่างประเทศ

               (foreign cartel arrangement) ที่ส่งผลกระทบในทางลบต่อตลาดไทย ในกรณีดังกล่าว หน่วยงานการแข่งขัน

               ของประเทศไทยจะต้องเลือกระหว่างการไม่ด าเนินการใด ๆ (และปล่อยให้ตลาดไทยรับความเสียหาย) หรือ
               ด าเนินการโดยไม่มีทั้งเขตอ านาจศาลในเชิงอรรถคดีและในเชิงการบังคับตามกฎหมาย (subject-matter and

               enforcement jurisdiction) (และอาจเผชิญกับผลทางการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ตามมา)


                       ท่ามกลางความเป็นไปได้มากมาย ผู้เขียนจะขอน าเสนอสามสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตหาก

               พ.ร.บ.การแข่งขันฯ พ.ศ. 2560 ยังคงถูกตีความว่าสามารถบังคับใช้ได้เฉพาะภายในประเทศไทยเพียงเท่านั้น
               และยังคงไม่มีฐานทางกฎหมายเพื่อสนับสนุนการบังคับใช้กฎหมายนอกอาณาเขต


                       สถานการณ์ที่ 1: บริษัท 1 และ บริษัท 2 ตั้งอยู่ในประเทศ ก และสกัดแร่ X ส่วนบริษัท 3 ตั้งอยู่ใน

                       ประเทศไทยและสกัดแร่ X เช่นเดียวกัน บริษัท 3 มีศักยภาพที่จะสกัดและก็เป็นผู้สกัดเพื่อสนองความ
                       ต้องการของแร่ X ทั้งหมดในประเทศไทย บริษัท 1 และบริษัท 2 เป็นผู้จ าหน่ายวัตถุดิบแร่ X ให้กับ

                       ประเทศทั่วโลกที่ไม่ใช่ประเทศไทย จากนั้น บริษัท 1 และบริษัท 2 ลดการขายแร่ X ตามข้อตกลง

                       ร่วมกัน ซึ่งท าให้ราคาแร่ X นอกประเทศไทยสูงขึ้นอย่างมาก เนื่องจากราคาแร่ X นอกประเทศไทยที่
                       เพิ่มขึ้น บริษัท 3 จึงเริ่มส่งออกแร่ X ซึ่งเป็นอุปทานของไทยเป็นจ านวนมาก และเนื่องจากไม่มีบริษัท

                       อื่นผลิตแร่มาทดแทนบริษัท 3 ในส่วนที่บริษัท 3 เดิมขายในประเทศไทยแต่ได้เปลี่ยนไปขายที่อื่น ใน

                                                       82
                       ที่สุดราคาแร่ X ในประเทศไทยก็เพิ่มขึ้น


               81  คณะกรรมการแข่งขันทางการค้า, แนวทางปฏิบัติในการพิจารณาการกระท าร่วมกันของผู้ประกอบธุรกิจอันเป็นการผูกขาด

               หรือลดการแข่งขัน หรือจ ากัดการแข่งขันในตลาด พ.ศ. 2561, สามารถเข้าถึงได้ที่ https://otcc.or.th/wp-
               content/uploads/2020/ 03/4article_20190606005333_4.pdf
               82   Joint  Department  of  Justice  and  Federal  Trade  Commission,  Antitrust  Guidelines  for  International

               Enforcement and Cooperation (January 2017), p. 24, สามารถเข้าถึงได้ที่ https://www.justice.gov/atr/ [ซึ่งต่อไป
               ในเชิงอรรถนี้เรียกว่า “DoJ/FTC International Guidelines”]
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34