Page 3 - 22432_fulltext
P. 3
2
ประเด็นที่พิจารณาเบื้องต้น
ปัญหาขอบเขตการบังคับใช้ของกฎหมายโดยเฉพาะหากเป็นกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจนั้นไม่มีสถานะทาง
กฎหมายที่จดทะเบียนอยู่ในราชอาณาจักร (Extraterritoriality) นั้นเป็นที่รู้จักกันอยู่ในนามของ effect
doctrine ในการบังคับใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้าของต่างประเทศ อาทิ ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นต้น
โดยพิจารณาว่าแม้ผู้ประกอบธุรกิจจะไม่ได้มีสถานะเป็นนิติบุคคลภายใต้กฎหมายของประเทศนั้น ๆ รวมถึงไม่
มีจุดเกาะเกี่ยวที่เป็นส านักงานสาขา หรือตัวแทนในประเทศดังกล่าวแต่ประการใด หากแต่การกระท าใด ๆ
ของผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวนั้นอาจก่อให้เกิดผลกระทบในทางลบต่อการแข่งขันในประเทศนั้นแล้ว ก็ย่อมตก
อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายแข่งขันทางการค้าของประเทศดังกล่าวด้วย
หากพิจารณาถึงหลักการแล้วในการศึกษาจะได้พิจารณาถึงความสมเหตุสมผลในแง่ของหลักกฎหมาย
ที่ใช้จุดเกาะเกี่ยวอันเกิดจากผลของการกระท า ซึ่งหากพิจารณาจากข้อเท็จจริงแล้ว กฎหมายสมัยใหม่นั้นมีการ
ปรับใช้หลักการดังกล่าวกันอย่างแพร่หลาย อาทิ กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เป็นต้น ที่มีผลบังคับต่อ
ตัวผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ที่แม้จะไม่มีตัวตนทางกฎหมายในประเทศนั้น ๆ แต่หากมีการติดตามพฤติกรรม
หรือเสนอสินค้าและบริการให้แก่บุคคลที่อยู่ในประเทศนั้น ก็ตกอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายดังกล่าว
เช่นเดียวกัน หากพิจารณาบทบัญญัติในพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้าฯ จะเห็นได้ว่าแม้ไม่ได้มีการ
บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งว่าให้น าหลักการดังกล่าวมาใช้ด้วย แต่ก็ไม่มีการบัญญัติไว้ว่าผู้ประกอบธุรกิจนั้นจ ากัดแต่
เฉพาะนิติบุคคลภายใต้กฎหมายไทยแต่ประการใด อีกทั้งเมื่อมีการกล่าวถึงผู้ประกอบธุรกิจในประเทศไทย ก็มี
การก าหนดไว้เป็นการเฉพาะ ดังเช่นบทบัญญัติมาตรา 58 ซึ่งบัญญัติเกี่ยวกับการเข้าท านิติกรรมหรือสัญญา
ระหว่าง “ผู้ประกอบธุรกิจในประเทศ” และ “ผู้ประกอบธุรกิจในต่างประเทศ” ซึ่งอาจตีความได้ว่า “ผู้
ประกอบธุรกิจ” นั้นอาจหมายความรวมถึงทั้งสองกรณี
อย่างไรก็ดี หากผู้ประกอบธุรกิจที่อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้าฯ นั้นหมายรวมถึงผู้
ประกอบธุรกิจในต่างประเทศได้เช่นเดียวกัน ประเด็นที่พึงพิจารณาต่อมาคือประเด็นในเรื่องของการบังคับใช้
กฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของการบังคับคดีให้เป็นไปตามค าพิพากษา หรือให้เป็นไปตามค าสั่งทาง
ปกครองของคณะกรรมการฯ ว่าจะสามารถบังคับผู้ประกอบธุรกิจต่างประเทศได้มากน้อยเพียงใด และผ่าน
กลไกใด
ส าหรับปัญหาอีกประการหนึ่ง คือ เรื่องการประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวกับความผิด
ตามมาตรา 54 และ 55 แห่งพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้าฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นการ
ออกแบบและบังคับใช้มาตรการยกเว้นและลดหย่อนโทษ (Leniency programme) ซึ่งเป็นเครื่องมือส าคัญที่
ใช้ในประเทศต่าง ๆ เพื่อใช้ในการป้องกัน (deterrence) และลงโทษ (punishment) โดยมีโครงสร้างการ
ยกเว้น หรือลดหย่อนที่อาจแตกต่างกันไปตามแต่ละประเทศ ซึ่งต่างมีเหตุผลและหลักการแตกต่างกัน
ยกตัวอย่างเช่น ประเทศสหรัฐอเมริกานั้นยกเว้นโทษให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจรายแรกที่น าพยานหลักฐานที่เชื่อถือ
ได้มาให้แก่ Department of Justice (DOJ) ด้วยเหตุผลที่ต้องการสร้างแรงจูงใจให้ผู้ประกอบธุรกิจที่มีส่วน