Page 31 - 22432_fulltext
P. 31

30


               ร่วมกับผู้ประกอบธุรกิจต่างประเทศอย่างไม่มีเหตุผลอันสมควร) ในขณะที่บริษัท 1 และบริษัท 2 อาจสามารถ

               หลบเลี่ยงจากความรับผิดหรือการตรวจสอบจากหน่วยงานการแข่งขันของไทยโดยที่ไม่ได้รับผลกระทบใด ๆ
               หากพิจารณาข้อเท็จจริงที่ประเทศไทยนั้นยังไม่มีมาตรการนิรโทษกรรมหรือลดหย่อนโทษ (leniency

               programme) แล้ว โอกาสในการป้องกันหรือจับกุมการกระท าร่วมกันที่เข้าข่ายมาตรา 54 และ 55 ของ

               พ.ร.บ.การแข่งขันฯ พ.ศ. 2560 นั้นย่อมลดต่ าลงอย่างมีนัยส าคัญ


                       นอกจากนี้ ยังมีกรณีที่เกี่ยวกับการควบรวมกิจการในต่างประเทศ ซึ่ง พ.ร.บ.การแข่งขันฯ พ.ศ. 2560
               ไม่ได้มีบทบัญญัติใด ๆ เกี่ยวกับกรณีเช่นนี้ แม้ว่าการควบรวมกิจการของบริษัทต่างชาติสามารถส่งผลกระทบ

               ต่อตลาดไทยได้เป็นอย่างมาก ไม่น้อยไปกว่าการควบรวมกิจการในประเทศ โดยจะเห็นได้จากกรณีตัวอย่างเช่น

               การควบรวมกิจการของ Unilever/Best Foods ซึ่งเป็นการควบรวมกิจการของผู้ผลิตอาหารในยุโรปและ
               อเมริกา การควบรวมกิจการได้รับการอนุมัติจากสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาเนื่องจากไม่มีปัญหาเรื่องการ

               ต่อต้านการแข่งขันในตลาดเหล่านั้น อย่างไรก็ตาม หากการควบรวมกิจการเกิดขึ้นในวันนี้ กขค. จะมีอ านาจ

               สืบสวน หรืออย่างน้อยก็สอบสวนหรือไม่ หาก กขค. สงสัยว่าการควบรวมกิจการจะท าให้การแข่งขันใน
               ประเทศไทยลดลงอย่างมาก เพราะ พ.ร.บ.การแข่งขันฯ พ.ศ. 2560 มาตรา 52 ไม่ได้มีการบัญญัติเกี่ยวกับการ

               ควบรวมกิจการในต่างประเทศที่ส่งผลกระทบต่อการแข่งขันในประเทศไทย นอกจากนี้ แม้ว่า กขค. จะ

               ตัดสินใจตรวจสอบการควบรวมกิจการ ก็อาจมีความเสี่ยงท าให้บริษัทเหล่านั้นย้ายออกจากตลาดไทยไปโดย
               สิ้นเชิง ดังนั้น ผลกระทบเชิงลบต่อสวัสดิการในตลาดไทยที่เกิดจากการย้ายออกของบริษัทต่างชาติอาจมี

               มากกว่าผลกระทบเชิงลบต่อสวัสดิการที่เกิดขึ้นหากบริษัทเหล่านั้นยังคงประกอบธุรกิจในเขตแดนของประเทศ

               ไทย


                       อีกกรณีหนึ่งที่น่าจะเป็นที่คุ้นเคยและเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจดิจิทัลที่ก าลังการเติบโตนั้นคือ การควบ
                                                     85
               รวมกิจการของ Grab/Uber ในปี ค.ศ. 2018  หลังจากที่ได้ประกาศว่าจะเข้าซื้อกิจการของ Uber ในทวีป
               เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Grab ได้น าบริการการใช้รถร่วมกัน (ridesharing) และการจัดส่งอาหารของ Uber ใน

               ภูมิภาคนี้เข้ามารวมกับแพลตฟอร์มฟินเทค (fintech platform) และการขนส่งหลายรูปแบบที่ Grab มีอยู่แล้ว
               การควบรวมกิจการครั้งนี้คาดว่าจะเพิ่มอ านาจตลาดของ Grab อย่างมหาศาล และส่งผลเชิงลบต่อสวัสดิการ

               ของผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม มีเพียงประเทศสิงคโปร์และฟิลิปปินส์เท่านั้นที่ประสบความส าเร็จในการก ากับการ

               รวมกิจการของ Grab/Uber ในขณะที่ประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทยไม่มีข้อสรุปใด ๆ เกี่ยวกับการ
               ควบรวมกิจการนี้ หาก พ.ร.บ.การแข่งขันฯ พ.ศ. 2560 อนุญาตให้มีสิทธิสภาพนอกอาณาเขต กขค. และ สขค.

               จะสามารถตรวจสอบธุรกรรมร่วมกันกับสิงคโปร์และฟิลิปปินส์ได้








               85  Grab  ( Press  Release) ,  Grab  Merges  with  Uber  in  Southeast  Asia  ( 26  March  2018) ,
               https://www.grab.com/th/en/press/business/
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36