Page 33 - 22432_fulltext
P. 33
32
ส่วนที่ 5 ข้อเสนอแนะ
สิทธิสภาพนอกอาณาเขตเป็นสิ่งที่อาจมีได้ยากในกรณีของประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดเล็กและก าลัง
พัฒนา ประเทศเหล่านี้ยังคงมีความเสี่ยงต่อผลกระทบภายนอกและการถ่ายทอดความมั่งคั่งในเชิงลบจาก
ผู้บริโภคไปยังผู้ผูกขาด (transfer of wealth) มากกว่าประเทศอื่น ๆ ความเสี่ยงนี้มีสาเหตุส่วนใหญ่มาจาก
ความบกพร่องที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการบังคับใช้ อ านาจนอกอาณาเขต และความร่วมมือ เนื่องจาก
ถือได้ว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดเล็ก และ/หรือก าลังพัฒนา ปัญหาหลักที่จะตามมาคือ
ประเทศไทยแทบจะไม่สามารถใช้ค าขู่ที่น่าจะเป็นจริงเพื่อห้ามการกระท าของบริษัทต่างชาติได้เลย โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งหากการกระท านั้นมีผลเชิงบวกในที่อื่น ซึ่งไม่ได้เกิดจากผลลบที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเพียงเท่านั้น
87
ความส าคัญของข้อตกลงระหว่างประเทศนั้นเป็นทางเลือกที่ไม่ควรถูกมองข้าม การปรับระบบการ
บังคับใช้ที่มีอยู่ในปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับการกระท าต่อต้านการแข่งขันข้ามชาติจอาจสามารถช่วยแก้ไขจุดอ่อน
ต่าง ๆ ของระบบได้ ข้อเสนอแนะที่ได้เสนอในบทความนี้จึงค านึงถึงสภาพของระบบการแข่งขันของไทยใน
ปัจจุบันเป็นส าคัญ ตลอดจนข้อกังวลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายตามปกติวิสัยซึ่งมีจ านวนมากอยู่แล้ว ข้อเสนอแนะน า
บางประการจึงอาจไม่ใช่แนวทางที่ต้องมีการเจรจาระหว่างประเทศ ซึ่งอาจท าให้เกิดความยุ่งยากโดยเฉพาะกับ
ประเทศที่มีข้อจ ากัดด้านทรัพยากร ดังนั้นแม้ข้อเสนอเหล่านี้อาจไม่สามารถก าจัดช่องว่างของการบังคับใช้ที่มี
88
อยู่ให้หมดไป แต่การปรับระบบใหม่ที่เสนอนี้จะช่วยลดช่องว่างเหล่านั้นให้แคบลงอย่างมากเพื่อสวัสดิการสูงสุด
ของระบบเศรษฐกิจไทย
1.5.1 บทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิสภาพนอกอาณาเขต
ข้อเสนอแรก คือ จะต้องมีการแก้ไขกฎหมายภายในที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันโดยเริ่มต้นจาก พ.ร.บ.
การแข่งขันฯ พ.ศ. 2560 ให้ยอมรับการมีสิทธิสภาพนอกอาณาเขตอย่างชัดแจ้ง กล่าวคือ สิทธิสภาพนอกอาณา
เขตไม่ควรจะมาจากการสันนิษฐานเพียงเพราะว่ากฎหมายที่เกี่ยวข้องไม่ได้จ ากัดความเป็นไปได้ที่จะบังคับใช้
กฎหมายในกรณีที่ผู้กระท าผิดไม่ได้มีตัวตนอยู่ในประเทศไว้อย่างชัดแจ้ง ทางเลือกที่ดีกว่าคือการมีฐานเป็น
ตัวอักษรอย่างชัดแจ้งส าหรับสิทธิสภาพนอกอาณาเขตใน พ.ร.บ.การแข่งขันฯ พ.ศ. 2560 ดังที่ได้เห็นจาก
ประสบการณ์ของเขตอ านาจศาลหลัก เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และสิงคโปร์
ควรมีการเพิ่มบทบัญญัติเพื่อสร้างฐานทางกฎหมายส าหรับการบังคับใช้กฎหมายการแข่งขันทาง
ทางการค้าของไทยนอกอาณาเขต ซึ่งอย่างน้อยควรให้มีใน พ.ร.บ.การแข่งขันฯ พ.ศ. 2560 บทบัญญัติที่ก าลัง
87 ดู Marek Martyniszyn, Competitive Harm Crossing Borders: Regulatory Gaps and A Way Forward, Journal
of Competition Law & Economics, 00(00), 1-22.
88 สามมารถดูเรื่องนี้เพิ่มเติมเกี่ยวกับความท้าทายดังกล่าวจาก Pierre Horna, Fighting Cross-Border Cartels: The
Perspective of the Young and Small Competition Authorities (Bloomsbury, 2020).