Page 5 - 22432_fulltext
P. 5
4
1. ประเด็นขอบเขตการบังคับใช้ของกฎหมายในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจนั้นไม่มีสถานะทางกฎหมายที่
จดทะเบียนอยู่ในราชอาณาจักร (Extraterritoriality application)
เป็นที่ประจักษ์ว่ากฎหมายและนโยบายการแข่งขันทางการค้าได้แพร่กระจายไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วใน
หลายทศวรรษที่ผ่านมา ในปี ค.ศ. 1970 นั้นมีเขตอ านาจศาลเพียง 12 แห่งเท่านั้นที่มีกฎหมายว่าด้วยการ
แข่งขันทางการค้า และมีเพียง 7 แห่งเท่านั้นที่มีองค์กรก ากับดูแลที่มีอ านาจหน้าที่และการบังคับใช้กฎหมาย
อย่างจริงจัง ในทุกวันนี้เขตอ านาจศาลมากกว่า 125 แห่งมีกฎหมายว่าด้วยการแข่งขันทางการค้า และส่วน
2
ใหญ่มีการบังคับใช้การแข่งขันอย่างแข็งขัน อาจกล่าวได้ว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศและเศรษฐกิจดิจิทัลที่
ก าลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะในระดับภูมิภาคหรือระดับโลก กฎหมายการแข่งขันทางการค้าที่มีเขตอ านาจ
ศาลทับซ้อนกันนั้นย่อมเป็นเหตุการณ์ที่ยากจะหลีกเลี่ยง
ด้วยเหตุดังกล่าว การส่งเสริมการแข่งขันในระดับระหว่างประเทศนั้นเป็นหัวข้อที่ได้รับความสนใจ
อย่างมากมาเป็นเวลานานและอย่างกว้างขวาง แต่ความสนใจส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นภายในเวทีวิชาการ รวมถึง
องค์กรระหว่างประเทศบางแห่งและหน่วยงานด้านการแข่งขันทางการค้าซึ่งมีส่วนส าคัญในการส่งเสริมความ
สนใจนี้
3
ค านิยามของ “สิทธิสภาพนอกอาณาเขต” (extraterritoriality) หมายถึง “ความสามารถของประเทศ
4
ในการควบคุมหรือก ากับดูแลการกระท าที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ” ซึ่งทวีความส าคัญในบริบทของการปรับใช้
กฎหมายการแข่งขันทางการค้าทั่วโลกมากขึ้นในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาอันเป็นผลมาจากการเปิดเสรี
การค้าและการลงทุน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาการของนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ซึ่งท าให้การ
ประกอบธุรกิจนั้นไม่มีความจ าเป็นที่จะต้องมีการจัดตั้งบริษัทหรือมีตัวตนทางกฎหมาย (legal presence) ใน
ประเทศต่าง ๆ แต่ประการใด ปัจจัยดังกล่าวประกอบกับการแพร่หลายของกฎหมายการแข่งขันทางการค้าท า
ให้เกิดความพยายามในการควบคุมหรือก ากับดูแลการกระท าที่เกิดขึ้นในต่างประเทศที่อาจส่งผลกระทบในแง่
ของการแข่งขันทางการค้าต่อประเทศของตนในหลากหลายประเทศ แม้โดยหลักการแล้วแต่ละประเทศจะมี
อ านาจอธิปไตยของตน (self sovereign states) ก็ตาม
อย่างไรก็ดีในทางปฏิบัตินั้น ประเทศต่าง ๆ มีความสามารถในการควบคุมกิจกรรมที่เกิดใน
ต่างประเทศต่างกันออกไปแล้วแต่พฤติการณ์และปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ
2 OECD Competition Trends 2020, p. 15; ดูเพิ่มเติม Kovacic, W.E. and M. Mariniello (2016).
3 ซึ่งรวมถึงบทความทางวิชาการมากมายที่เขียนเกี่ยวกับประเด็นนี้, ดู Maher M. Dabbah, International and
Comparative Competition Law (Cambridge University Press 2010) ส าหรับบรรณานุกรมโดยละเอียดเกี่ยวกับ
ประเด็นนี้.
4 Andrew Guzman, ‘Is International Antitrust Possible?’ (1998) 73 New York University Law Review 1506.