Page 7 - 22432_fulltext
P. 7
6
จึงอาจกล่าวได้ว่าประเด็นเรื่องสิทธิสภาพนอกอาณาเขตนั้นเป็นเรื่องของระดับความมากน้อยตามที่แต่
ละประเทศจะใช้ ทั้งนี้ สามารถสันนิษฐานโดยทั่วไปได้ว่าบางประเทศมีความสามารถและประสงค์ที่จะใช้
กฎหมายของตนกับการกระท าที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ ในขณะที่บางประเทศอาจไม่สามารถ หรือไม่ประสงค์ที่
จะท าเช่นนั้น ซึ่งระดับของการสิทธิสภาพนอกอาณาเขตดังกล่าวนั้น ส่งผลโดยตรงต่อการวางนโยบายการ
ป้องกันการผูกขาดของประเทศใดประเทศหนึ่ง ที่ผู้ก าหนดนโยบายจะต้องชั่งน้ าหนักระหว่างประโยชน์ที่จะ
ได้รับจากการเพิ่มขึ้นของข้อบังคับของรัฐซึ่งถูกออกแบบให้ลดพฤติกรรมต่อต้านการแข่งขันทางการค้ากับความ
6
เสี่ยงที่ข้อบังคับดังกล่าวจะกีดกันไม่ให้บริษัทด าเนินการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ดังนั้น นโยบายการ
ป้องกันการผูกขาดจะมุ่งไปยังการยับยั้งกิจกรรมที่ลดสวัสดิการโดยรวม (overall welfare) และยังคงยอมให้มี
กิจกรรมที่เพิ่มสวัสดิการโดยรวม
ถึงแม้แนวคิดเรื่องการกระท าข้ามชาติที่ผิดกฎหมายจะดูเหมือนเป็นเรื่องไกลตัวหรือนามธรรม ความ
จริงแล้วประเด็นดังกล่าวเป็นสิ่งเป็นสิ่งที่พบได้ทั่วไป และที่ส าคัญคือมีจ านวนทวีคูณมากขึ้นเรื่อย ๆ
ตัวอย่างเช่น มีการค้นพบการตกลงร่วมกัน (cartel) เพื่อก าหนดราคาในหมู่ผู้ผลิตคอมเพรสเซอร์ของระบบการ
ท าความเย็น ซึ่งคืออุปกรณ์ท าความเย็นในตู้เย็น ในกรณีดังกล่าว ผู้ที่ละเมิดกฎหมายถูกปรับในประเทศ
7
สหรัฐอเมริกา แคนาดา สหภาพยุโรป นิวซีแลนด์ ชิลี เม็กซิโก และบราซิล ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความแพร่หลาย
ของการท าการตกลงร่วมกัน แต่เนื่องจากความท้าทายและข้อจ ากัดหลากหลายรูปแบบ การกระท าดังกล่าวมัก
ไม่ได้รับการตรวจสอบ หรือที่แย่กว่านั้น แม้จะมีการเปิดโปงก็มักจะสามารถหลบหนีความผิดได้ โดยมักกระท า
ภายใต้ความเข้าใจว่าเป็นเรื่องที่ไม่สามารถก ากับดูแลได้
ทั้งนี้ ผลร้ายทางเศรษฐศาสตร์ที่เกิดขึ้นจากประเด็นดังกล่าวมีนัยส าคัญเป็นอย่างมาก มีการประเมินว่า
ในช่วงปี ค.ศ. 1990 ถึง 2016 เพียงแค่การตกลงร่วมกันของภาคเอกชนระหว่างประเทศ (private
international cartel) ที่ถูกค้นพบนั้นมีผลกระทบต่อการขายทั่วโลกเป็นเงินจ านวนมากกว่า 51 ล้านล้าน
ดอลลาร์สหรัฐ และมูลค่าของราคาที่ก าหนดแพงเกินจริงทั่วโลกถูกประเมินไว้เป็นเงินจ านวนมากกว่า 1.5
8
9
ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ ผลร้ายต่อการแข่งขันทางการค้าในระดับนี้เป็นการดึงความร่ ารวยจาก
ประเทศที่ได้รับผลกระทบไปยังประเทศที่ผู้ที่ละเมิดอยู่ ซึ่งต่างจากกรณีที่เกิดขึ้นภายในประเทศที่ผลร้ายต่อการ
แข่งขันทางการค้าอาจเป็นเพียงเรื่องการแจกจ่ายทรัพยากรระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค
6 Joseph F. Brodley, “The Economic Goals of Antitrust: Efficiency, Consumer Welfare, and Technological
Progress,” 62 N.Y.U. L. Rev. 1020 (1987) (อภิปรายเรื่องจุดมุ่งหมายที่ขัดกันระหว่างสวัสดิการของผู้บริโภคกับ
ประสิทธิภาพในการผลิต).
7 Antitrust: Commission fines six car air conditioning and engine cooling suppliers € 155 million in cartel
settlement (2017), สามารถเข้าถึงได้ที่ https://ec.europa.eu/commission/presscorner/detail/en/IP_17_501.
8 John M Connor, The Private International Cartels (PIC) Data Set: Guide and Summary Statistics, (2nd edn
2016), 24.
9 เพิ่งอ้าง, 30.