Page 9 - 22432_fulltext
P. 9
8
ส่วนที่ 2 พัฒนาการของสิทธิสภาพนอกอาณาเขตในกฎหมายการแข่งขันทางการค้า
เขตอ านาจศาลกลายเป็นประเด็นในกฎหมายระหว่างประเทศเมื่อรัฐออกกฎหมายที่ควบคุมเรื่อง
10
ต่าง ๆ ที่ไม่ได้เกี่ยวพันกับเรื่องภายในประเทศเพียงอย่างเดียว ในทฤษฎีกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดี
เมืองนั้น ความสามารถด้านเขตอ านาจของรัฐมีสององค์ประกอบด้วยกัน คือ (1) เขตอ านาจศาลในเชิงอรรถคดี
(subject-matter jurisdiction) และ (2) เขตอ านาจศาลในการบังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย (enforcement
11
jurisdiction) ในขณะที่เขตอ านาจศาลในเชิงอรรถคดีเกี่ยวข้องกับอ านาจของรัฐในการออกกฎหมายที่มี
ผลกระทบต่อการกระท าการภายในอาณาเขตของตน (‘หลักดินแดน’) และพลเมืองของตนในต่างประเทศ
12
(‘หลักสัญชาติ’) เขตอ านาจในการบังคับให้เป็นไปกฎหมายนั้นเกี่ยวข้องกับอ านาจของรัฐในการบังคับใช้
กฎหมายโดยใช้มาตรการในทางปฏิบัติเพื่อการด าเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ซึ่งรวมถึงการใช้อ านาจบังคับ
13
โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเขตอ านาจในเชิงอรรถคดีจะเกี่ยวข้องกับการด าเนินการของบุคคล
ในอีกรัฐหนึ่งก็ตาม โดยทั่วไปแล้วจะถือว่าเป็นการกระท าที่ “ไม่เหมาะสม” ในการพยายามบังคับใช้กฎหมาย
ดังกล่าวภายในอาณาเขตของรัฐนั้นโดยไม่ได้รับอนุญาต
ในส่วนของเขตอ านาจในเชิงอรรถคดีนั้น หลักดินแดนได้ถูกขยายขอบเขตในลักษณะที่เป็นเหตุเป็นผล
เพื่อให้รัฐได้มีเขตอ านาจศาลไม่เพียงแต่ในกรณีที่การกระท านั้นเริ่มต้นขึ้นในอาณาเขตของตน (‘เขตอ านาจทาง
ดินแดนที่เป็นอัตวิสัย’ (subjective territoriality)) เท่านั้น แต่รวมถึงกรณีที่การกระท าความผิดนั้นเริ่มต้นที่
ต่างประเทศและมีผลสิ้นสุดภายในอาณาเขตของตนเช่นกัน (‘เขตอ านาจทางดินแดนที่เป็นภาวะวิสัย’
(objective territoriality)) ตัวอย่างที่มักถูกยกขึ้นมาใช้ในการอธิบายเขตอ านาจทางดินแดนที่เป็นภาวะวิสัย
คือ สถานการณ์ที่ลูกกระสุนถูกยิงข้ามเขตแดน ในกรณีนี้ แม้ว่าการกระท าบางส่วนจะเกิดขึ้นนอกเขตแดนของ
รัฐนั้นก็ตาม รัฐจะมีเขตอ านาจศาลเนื่องจากเหตุการณ์ที่สร้างความเสียหาย ซึ่งคือการบาดเจ็บหรือการเสียชีวิต
ได้เกิดขึ้นภายในเขตแดนของรัฐนั้น ผลที่ตามมาจากกรณีดังกล่าวคือ รัฐมากกว่าหนึ่งรัฐอาจใช้เขตอ านาจศาล
กับเรื่องเดียวกันเมื่อการกระท าดังกล่าวที่คร่อมพรมแดนระหว่างสองประเทศ
10 Allen S and others, “Introduction: Defining State Jurisdiction and Jurisdiction in International Law,” The
Oxford handbook of jurisdiction in international law (Oxford University Press 2019).
11 ดูRichard Whish and David Bailey, “Chapter 12 The International Dimension of Competition Law,”
th
Competition Law (9 edn Oxford University Press 2018), 495.
12 ทฤษฎีนี้เป็นที่รู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า อ านาจของรัฐ ‘ในทางนิติบัญญัติ’ หรือในการ ‘ตรากฎหมาย’ (‘legislative’ or
‘prescriptive’ jurisdiction) ; ดู Opinion of AG Darmon in A Ahlström Osakeyhtiö v Commission, joined case C-
89/85 and others. [ซึ่งต่อไปในเชิงอรรถนี้เรียกว่า “Woodpulp I”]
13 Woodpulp I.