Page 131 - kpiebook65020
P. 131
92
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”
(4) การรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง
ค าถามข้อที่ 4 เป็นการรายงานการรับฟังความคิดเห็นข้องผู้ที่เกี่ยวข้อง ตามมาตรา
5 แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมายฯ ที่ก าหนดให้หน่วยงานพึงจัดให้มีการรับฟังความ
คิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องก่อนการตรากฎหมายทุกฉบับ ดังนั้น ค าถามข้อ 4 ในแบบรายงานการวิเคราะห์
ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการรับรองว่าหน่วยงานที่เสนอร่างกฎหมายได้
จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นและได้น าผลการรับฟังมาใช้ประกอบการวิเคราะห์แล้ว โดยผลการวิเคราะห์
ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายควรจะต้องสอดคล้องกับผลการรับฟังความคิดเห็น หรืออย่างน้อยความ
คิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องก็ควรจะถูกสะท้อนอยู่ในบทการวิเคราะห์ในส่วนต่าง ๆ ของรายงานการวิเคราะห์
ผลกระทบฯ ด้วย
(5) ความสัมพันธ์หรือความใกล้เคียงกับกฎหมายอื่น
ค าถามข้อที่ 5 นี้เป็นการตรวจสอบความซ้ าซ้อนของกฎหมายอื่น ทั้งนี้ ในการ
ตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย หน่วยงานควรศึกษากฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันว่ามี
ความสัมพันธ์หรือใกล้เคียงกับร่างกฎหมายที่ตนต้องการเสนอหรือไม่ ตามบทบัญญัติในมาตรา 17 (2) แห่ง
พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมายฯ เพื่อเป็นการตรวจสอบประเด็นความซ้ าซ้อนกับกฎหมาย
อื่น และเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ร่างกฎหมายที่จัดท าขึ้นขัดหรือแย้งกับกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ด้วย
หน่วยงานควรระบุรายชื่อกฎหมายหรือกฎระเบียบที่มีหลักการหรือผลการบังคับใช้
ใกล้เคียงหรือสัมพันธ์กับร่างกฎหมายนี้ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาเรื่องนี้ให้ชัดเจนและครบถ้วน
และควรอธิบายโดยละเอียดว่ามีความใกล้เคียงหรือแตกต่างกับร่างกฎหมายฉบับนี้อย่างไร
หากพบว่ากฎหมายหรือกฎระเบียบที่มีอยู่แล้วมีหลักการหรือมีผลบังคับใช้ใกล้เคียง
กับหลักการในร่างกฎหมาย หน่วยงานก็ควรชี้แจ้งเหตุผลให้ชัดเจนว่าเหตุใดจึงต้องตรากฎหมายขึ้นมาใหม่ และ
ไม่สามารถใช้กฎหมายนั้นแก้ปัญหาได้
2.5.2.1.2 การรายงานส่วนการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย
การวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเคราะห์เกิดขึ้นจากกฎหมายนั้น เป็นค าถามข้อที่ 6 - 8
ในแบบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายมีวัตถุประสงค์ให้หน่วยงานวิเคราะห์และ
คาดการณ์ว่ามาตรการที่จะก าหนดในร่างกฎหมายนั้น จะท าให้เกิดผลกระทบอย่างไร ต่อผู้เกี่ยวข้องกลุ่มใดบ้าง
ตามความในมาตรา 12 และมาตรา 17 (3) - (8) แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมายฯ
เพื่อให้หน่วยงานผู้จัดท าร่างกฎหมายและหน่วยงานที่จะมีหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมายสามารถเตรียม
มาตรการป้องกัน แก้ไข คุ้มครอง หรือเยียวยาให้แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งเป็นการให้
หน่วยงานต้องพิจารณาทบทวนความพร้อมของตนเองในการบังคับใช้กฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพและตรง
ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
(1) ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย
ค าถามข้อที่ 6 เป็นค าถามเกี่ยวกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย โดยมี
วัตถุประสงค์เพื่อให้หน่วยงานได้ศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบโดยตรงที่อาจเกิดขึ้นต่อกลุ่มผู้เกี่ยวข้องที่