Page 132 - kpiebook65020
P. 132

93

                                                                                     รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
                                     โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”


               เกี่ยวข้องโดยตรงต่อร่างกฎหมาย (direct impact on the immediate stakeholders) โดยค าถามในเรื่องนี้
               แบ่งออกเป็น 3 ข้อย่อย ดังนี้

                                     ข้อ 6.1 กฎหมายนี้จ ากัดสิทธิหรือเสรีภาพ หรือก่อให้เกิดหน้าที่หรือภาระอะไร แก่
               ใครบ้างวัตถุประสงค์ของค าถามในข้อ 6.1 คือ เพื่อให้หน่วยงานของรัฐตรวจสอบและค านึงถึงผลกระทบของ

               กฎหมายที่จะเกิดขึ้นแก่ประชาชนหรือกลุ่มผู้เกี่ยวข้องที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย จากการก าหนดมาตรการใน
               กฎหมายที่มีลักษณะเป็นการก าหนดหน้าที่ ภาระ หรือการจ ากัดสิทธิหรือเสรีภาพ รวมทั้งเป็นการตรวจสอบว่า
               การจ ากัดสิทธิหรือเสรีภาพของประชาชนในร่างกฎหมายนี้เป็นไปโดยถูกต้องและพอสมควรแก่เหตุหรือไม่

                                     • ในกรณีที่มีการจ ากัดสิทธิหรือเสรีภาพ จะต้องระบุรายละเอียดของการจ ากัดสิทธิ
               หรือเสรีภาพให้ชัดเจน และระบุบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่ให้อ านาจในการจ ากัดสิทธิเสรีภาพในเรื่องนั้นด้วย

                                     • ในกรณีที่เป็นการสร้างภาระหรือต้นทุนให้แก่ประชาชน หน่วยงานควรวิเคราะห์ว่า
               มาตรการที่ก าหนดในร่างกฎหมายนี้ก าหนด (1) สิทธิหรือหน้าที่อะไร ซึ่งจะก่อให้เกิด (2) ภาระ/ต้นทุนประเภท

               ใด ต่อ (3) ผู้เกี่ยวข้องกลุ่มใดบ้าง  โดยอาจพิจารณาแยกประเภทของภาระตามกลุ่มผู้เกี่ยวข้อง เช่น การ
               ก าหนดให้มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้ประกอบอาชีพที่จะไปขอรับใบอนุญาตได้ ท าให้
               ประชาชนที่ประสงค์จะประกอบวิชาชีพมีภาระหรือต้นทุนมากขึ้นในการขอใบอนุญาต

                                     • ภาระหรือต้นทุนที่อาจเกิดขึ้นต่อประชาชนหรือภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้อง มี

               ตัวอย่างเช่น

                                     - ภาระที่เกิดขึ้นกับประชาชนทั่วไปในการปฏิบัติตามกฎหมายที่กระทบกับการ
               ด ารงชีวิต

                                     - ต้นทุนที่เกิดขึ้นกับผู้ประกอบการ

                                     - Capital cost เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นครั้งเดียวจบไป เพื่อให้เป็นไปตามที่กฎหมาย
               ก าหนด

                                     - Operating  cost  เป็นค่าใช้จ่ายในการด าเนินการตามกฎหมายที่จะต้องเกิดขึ้น
               อย่างสม่ าเสมอ เช่น ค่าบ ารุงรักษา

                                     - Administrative  burden  เป็นภาระอื่น ๆ ที่เกิดเพิ่มขึ้นจากการปฏิบัติตาม

               กฎหมาย

                                     • ผลกระทบในข้อนี้ควรให้อธิบายอย่างเป็นรูปธรรม และใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์
               ประกอบ เช่น สถิติ ผลการศึกษาหรืองานวิจัย  หน่วยงานจ าเป็นจะต้องระบุและอธิบายภาระที่จะเกิดขึ้นจาก
               กฎหมายได้โดยละเอียด ครบถ้วน และชัดเจน แต่ไม่จ าเป็นว่าจะต้องค านวณภาระต้นทุนทุกประเภทออกมาให้
               ได้เป็นเชิงปริมาณ หากหน่วยงานมีศักยภาพที่จะสามารถค านวณภาระ ต้นทุน หรือผลกระทบเป็นเงินได้ ก็ควร
                                                                    138
               ระบุไว้ในรายงานด้วย หลักการค านวณ Standard Cost Model  เป็นวิธีการค านวณผลกระทบโดยตรงแบบ
               หนึ่งที่ไม่ซับซ้อนและหน่วยงานสามารถทดลองค านวณได้เองโดยใช้ข้อมูลสถิติจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง


               138
                  International working group on Administrative Burdens, “The Standard Cost Model: A framework for
               defining and quantifying administrative burdens for businesses,” (2004) < https:// ec.europa.eu/eurostat/
   127   128   129   130   131   132   133   134   135   136   137