Page 133 - kpiebook65020
P. 133

94

                                                                                     รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
                                     โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”


                                     ข้อ 6.2  มีมาตรการป้องกัน แก้ไข คุ้มครอง หรือเยียวยาให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบตาม
               6.1 อย่างไร  หากร่างกฎหมายอาจส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้เกี่ยวข้องอย่างมีนัยส าคัญ ตามการวิเคราะห์ในข้อ
               6.1 หน่วยงานก็มีความจ าเป็นที่จะต้องพิจารณาเสนอมาตรการป้องกัน แก้ไข คุ้มครอง หรือเยียวยาให้แก่ผู้ที่
               ได้รับผลกระทบ  วัตถุประสงค์ของค าถามข้อนี้จึงมีขึ้นเพื่อให้หน่วยงานได้มีโอกาสไตร่ตรองให้ครบถ้วน

               และรอบด้านว่ามาตรการทางกฎหมายที่ตนเองต้องการจะเสนอนั้น เหมาะสมและได้สัดส่วนกับผลกระทบที่
               อาจขึ้นหรือไม่ เพราะหากผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต้องการแนวทางการป้องกันหรือเยียวยาที่ต้องใช้ทรัพยากร
               ภาครัฐมากเกินกว่าร่างกฎหมาย ก็ควรพิจารณาปรับปรุงกลไกที่ก าหนดในร่างกฎหมายหรือพิจารณานโยบาย

               ทางเลือกอื่น ๆ นอกเหนือจากการตรากฎหมายเพื่อแก้ปัญหา  ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าการตรากฎหมายเป็นไป
               โดยรอบคอบและรอบด้านและมีแนวทางในการเยียวยาหรือบรรเทาผลกระทบในร่างกฎหมายด้วยแล้ว

                                     ข้อ 6.3  กฎหมายนี้จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศ สังคม หรือประชาชนอย่างไร
               โดยทั่วไปแล้วการวิเคราะห์ประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นจากร่างกฎหมายอาจค านวณผลที่เกิดขึ้นในเชิงปริมาณได้
               ยาก และมีวิธีการที่ซับซ้อน  หลักการส าคัญในการตอบค าถามในข้อ 6.3 จึงไม่ได้ยึดอยู่กับวิธีการค านวณ

               ผลกระทบเชิงบวกให้ได้ออกมาเป็นตัวเลข แต่หน่วยงานจ าเป็นจะต้องอธิบายและชี้แจงประเด็นประโยชน์ที่
               กลุ่มผู้เกี่ยวข้อง ประชาชน หรือสังคมโดยรวมจะได้รับจากร่างกฎหมายนี้ได้อย่างชัดเจนและโดยละเอียด เช่น
               ควรแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าการก าหนดให้ใช้ระบบอนุญาตในการควบคุมการประกอบอาชีพ จะท าให้
               สามารถควบคุมการประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างไร และบุคคลกลุ่มใดจะได้รับประโยชน์

               การคุ้มครองจากมาตรการดังกล่าว

                                     ทั้งนี้ การชี้แจงผลการวิเคราะห์ในข้อนี้ หน่วยงานต้องอธิบายผลกระทบในลักษณะที่
               เป็นรูปธรรม และใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ประกอบ โดยอาจอ้างอิงจากประสบการณ์หรือความส าเร็จในการบังคับ
               ใช้กฎหมายที่มีหลักการคล้ายกันจากในประเทศหรือต่างประเทศก็ได้ อย่างไรก็ดี หากเป็นการอ้างอิงจาก
               ประสบการณ์ของระบบกฎหมายต่างประเทศ ก็ควรจะต้องพิจารณาความเหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย

               ตามค าถามข้อ 3.2 ด้วย

                                     (2) ความพร้อมและต้นทุนของรัฐในการปฏิบัติตามและบังคับการให้เป็นไปตาม
               กฎหมาย

                                     ค าถามข้อที่ 7 เป็นการวิเคราะห์ความพร้อมและต้นทุนของรัฐในการปฏิบัติตามและ
               บังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย ทั้งนี้  ในการพิจารณาความพร้อมของรัฐในการบังคับใช้กฎหมาย จุดเริ่มต้น

               ของการวิเคราะห์ในส่วนนี้ คือ การก าหนดหน่วยงานผู้จะมีหน้าที่รับผิดชอบในการบังคับใช้กฎหมายให้ชัดเจน
               ใน ข้อ 7.1. หน่วยงานผู้รับผิดชอบ เพื่อเป็นการบังคับให้หน่วยงานที่เสนอร่างกฎหมายต้องพิจารณาตั้งแต่ใน
               ชั้นการจัดท าร่างกฎหมายว่าในการปฏิบัติตามและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายจะมีหน่วยงานใดที่
               เกี่ยวข้องบ้างในกรณีที่มีหลายหน่วยงานต้องรับผิดชอบร่วมกันก็จะต้องมีการหารือเกี่ยวกับการแบ่งหน้าที่
               ความรับผิดชอบและการเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติตามและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายให้แล้วเสร็จ

               ในระหว่างการจัดท าร่างกฎหมาย


               documents/64157/4374310/11-STANDARD-COST-MODEL-DK-SE-NO-BE-UK-NL-2004-EN-1.pdf/e703a6d8-
               42b8-48c8-bdd9-57 2ab4484dd3> และนางสาวใจใส วงส์พิเชษฐ, “Standard Cost Model แบบการค านวณภาระใน
               การปฏิบัติตามกฎหมาย,” ข่าวสารพัฒนากฎหมาย (2561).
   128   129   130   131   132   133   134   135   136   137   138