Page 134 - kpiebook65020
P. 134
95
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”
หากร่างกฎหมายผ่านการพิจารณาและได้ตราเป็นพระราชบัญญัติ หน่วยงาน
ผู้รับผิดชอบที่ถูกก าหนดไว้ในข้อนี้ จะเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายเมื่อ
ครบรอบระยะเวลาตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมายฯ ด้วย
ข้อ 7.2 มีแนวทางและระยะเวลาเตรียมการในการปฏิบัติตามหรือบังคับการให้
เป็นไปตามกฎหมายอย่างไรและมีการน าเทคโนโลยีมาใช้เพื่ออ านวยความสะดวกหรือลดขั้นตอนและค่าใช้จ่าย
ในการด าเนินการหรือไม่ เพื่อเป็นการเตรียมการให้การบังคับใช้กฎหมายสามารถด าเนินการได้ทันทีที่
กฎหมายมีผลใช้บังคับ หน่วยงานควรพิจารณาก าหนดกลไก กระบวนการ หรือแนวทางที่จ าเป็นต่อการปฏิบัติ
ตามและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย ตัวอย่างประเด็นเกี่ยวกับความพร้อมของหน่วยงานรัฐ เช่น
• ความพร้อมด้านบุคลากร อาจชี้แจงความพร้อมด้านอัตราก าลังและความรู้
ความสามารถของบุคลากร ว่าอัตราก าลังที่มีอยู่สามารถด าเนินการได้หรือไม่ หรือจ าเป็นต้องเพิ่มอัตราก าลัง
และต้องมีการฝึกอบรมเพิ่มเติมเพื่อเตรียมความพร้อม
• ความพร้อมด้านอุปกรณ์ อาจชี้แจงว่ามีความจ าเป็นต้องใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์
ใดบ้างในการปฏิบัติงานตามภารกิจที่เพิ่มขึ้น และในกรณีที่เหมาะสม ควรพิจารณาด้วยว่าจะสามารถน า
เทคโนโลยีมาใช้เพื่ออ านวยความสะดวกหรือลดขั้นตอนและค่าใช้จ่ายในการด าเนินการได้หรือไม่
นอกจากการเตรียมความพร้อมของภาครัฐในการบังคับใช้กฎหมายให้บรรลุตาม
วัตถุประสงค์แล้ว หน่วยงานจะต้องค านึงถึงการเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติตามกฎหมายของประชาชน
ด้วย โดยในข้อ 7.3 มีแนวทางและระยะเวลาในการสร้างความเข้าใจให้แก่ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
กับการปฏิบัติตามและการบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายอย่างไร หน่วยงานจะต้องพิจารณาก าหนด
กระบวนการหรือแนวทาง รวมทั้งระยะเวลาในการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมาย
เพื่อให้ประชาชนและหน่วยงานภาครัฐมีความพร้อมในการปฏิบัติตามและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายได้
อย่างถูกต้องเมื่อกฎหมายมีผลใช้บังคับ
ข้อ 7.4 ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่คาดว่าต้องใช้ในการปฏิบัติตามและบังคับการให้
เป็นไปตามกฎหมาย หน่วยงานจะต้องแสดงผลการค านวณคาดการณ์ว่าในระยะ 3 ปีแรกเมื่อกฎหมายมีผล
บังคับใช้ จะมีค่าใช้จ่ายประเภทใดเกิดขึ้นบ้าง เช่น งบลงทุนส าหรับค่าอาคารส านักงานและอุปกรณ์ งบ
ด าเนินงาน งบบุคลากร ทั้งนี้ ไม่ว่าต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายดังกล่าวจะมาจากงบประมาณแผ่นดินหรือไม่ และใน
ส่วนของอัตราก าลังต้องใช้ในการปฏิบัติตามและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย หน่วยงานควรระบุ
อัตราก าลังที่ต้องใช้ เพื่อให้สามารถบังคับการตามกฎหมายและบรรลุวัตถุประสงค์ได้จริง หากจ าเป็นต้องขอ
อัตราก าลังเพิ่มเติมส าหรับการปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว ก็จะต้องระบุให้ชัดเจนว่าเป็นจ านวนเท่าใด เพื่อ
ภารกิจใดบ้าง
ตัวอย่างของภาระหรือต้นทุนที่อาจเกิดกับภาครัฐ เช่น ต้นทุนในการบังคับใช้
กฎหมายที่เสนอ (enforcement cost) เริ่มนับจาก เมื่อกฎหมายมีผลใช้บังคับแล้ว หรือต้นทุนในการเตรียม
ความพร้อมในการบังคับใช้กฎหมาย (Implementation cost) เช่น ในกรณีที่ต้องมีการตั้งหน่วยงานใหม่ หรือ
การจัดหาอุปกรณ์ประกอบการด าเนินการ
อย่างไรก็ดี การวิเคราะห์ต้นทุนของภาครัฐจะไม่น าค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นใน
กระบวนการการจัดท าร่างกฎหมาย เช่น เงินเดือนของเจ้าหน้าที่ในการจัดท าร่างกฎหมาย หรือค่าใช้จ่ายที่