Page 135 - kpiebook65020
P. 135
96
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”
เกิดขึ้นจากการประชุม มาใช้ค านวณต้นทุนของภาครัฐในข้อ 7.4 เนื่องจากการตรวจสอบต้นทุนของภาครัฐมี
วัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบว่ารัฐทราบและมีความพร้อมหรือไม่ที่จะแบกรับค่าใช้จ่ายที่จะต้องเกิดขึ้นเพื่อให้
สามารถบังคับใช้กฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ การจัดท าร่างกฎหมาย
เช่นเดียวกับการจัดท านโยบายทางบริหาร หรือการเสนอโครงการต่าง ๆ ล้วนเป็นการด าเนินการตามภารกิจ
ของหน่วยงาน ไม่ว่าหน่วยงานจะเลือกใช้วิธีการหรือมาตรการใดในการผลักดันภารกิจของตน หน่วยงานย่อมมี
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการตอบแทนบุคลากรและการด าเนินงานทั่วไปในหน่วยงาน กล่าวคือค่าใช้จ่ายเหล่านี้เป็น
ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นอยู่แล้วไม่ว่าจะมีการจัดท าร่างกฎหมายหรือไม่ อีกทั้งการจัดท าร่างกฎหมายมักใช้เวลาใน
การจัดท ายาวนานหลายปี ซึ่งจะท าให้ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้มีจ านวนสูงมาก หากน าค่าใช้จ่ายเหล่านี้มารวมไว้ใน
การค านวณต้นทุนของภาครัฐ จะท าให้ต้นทุนของรัฐเพิ่มจ านวนสูงขึ้นมหาศาลเมื่อเทียบกับผลประโยชน์และ
ต้นทุนที่อาจเกิดต่อประชาชนจากร่างกฎหมาย หากการเปรียบเทียบต้นทุนและประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจาก
กฎหมายไม่อยู่บนพื้นฐานของประเภทข้อมูลที่เป็นลักษณะเดียวกัน (เริ่มเก็บข้อมูลจากจุดเดียวกัน คือ
หลังจากกฎหมายมีผลบังคับใช้) อาจส่งผลให้การตัดสินใจของรัฐไม่เป็นกลางได้
ต้นทุน อัตราก าลัง หรือค่าใช้จ่ายที่คาดว่าต้องใช้ในการปฏิบัติตามและบังคับการให้
เป็นไปตามกฎหมายไม่มีรูปแบบในการจัดท าที่ตายตัว แต่หน่วยงานจะต้องแนบรายละเอียดการค านวณต้นทุน
หรือค่าใช้จ่ายของรัฐ และการใช้อัตราก าลังมาพร้อมกับรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบด้วย ไม่ว่าหน่วยงานจะ
เลือกน าเสนอข้อมูลข้างต้นในรูปแบบใดก็ตาม
(3) ผลกระทบโดยรวมที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย
ค าถามข้อที่ 8 เป็นการวิเคราะห์ผลกระทบโดยรวม หรือผลกระทบที่ไม่ได้เกิดขึ้น
โดยตรงต่อผู้ที่อยู่ใต้บังคับของกฎหมาย มีวัตถุประสงค์เพื่อให้หน่วยงานของรัฐพิจารณาผลกระทบโดยรวมของ
ร่างกฎหมายให้ครบถ้วนในทุกมิติ มิใช่แต่เฉพาะผลที่จะเกิดขึ้นต่อผู้ที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายเพียงกลุ่มเดียว
ผลกระทบโดยรวมสามารถแบ่งออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่
• ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ เช่น ผลกระทบที่เกี่ยวกับกลไกตลาดเสรี การ
แข่งขันทางการค้า การพัฒนาตลาดสินค้าหรือบริการ หรือการขยายตัวของเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
• ผลกระทบต่อสังคม เช่น ผลกระทบที่เกี่ยวกับสิทธิความเท่าเทียมกันทาง
เพศ ทางการศึกษา ความมั่นคงทางด้านอาหาร ความมั่นคงของมนุษย์
• ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือสุขภาวะ เช่น ผลกระทบที่เกี่ยวกับ
สิ่งแวดล้อมในเชิงธรรมชาติ ระบบนิเวศ ป่าไม้ แหล่งน้ า และทรัพยากรทางธรรมชาติอื่น ๆ และรวมไปถึง
ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในด้านการสาธารณสุข
• ผลกระทบอื่นที่ส าคัญ คือ ผลกระทบในประเด็นอื่น ๆ ที่หน่วยงานผู้จัดท า
ร่างกฎหมายเห็นว่าเป็นผลกระทบส าคัญ เช่น ร่างกฎหมายมีผลขัดต่อความตกลงระหว่างประเทศที่ไทยเป็น
สมาชิก อาจท าให้เสี่ยงโดนฟ้องร้องจากประเทศสมาชิกอื่น ๆ และอาจกระทบต่อความน่าเชื่อถือระหว่าง
ประเทศได้ หรืออาจเป็นต้นทุนทางอ้อมในการปฏิบัติตามกฎหมาย (indirect impact) หรือผลกระทบที่ไม่พึง
ประสงค์ (unintended consequence) ซึ่งไม่เหมาะที่จะจัดอยู่ใน 3 ประเภทข้างต้น เช่น ต้นทุนอันเกิดจาก