Page 137 - kpiebook65020
P. 137

98

                                                                                     รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
                                     โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”


                       โดยสรุป การวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายเป็นทั้งเครื่องมือ (tool) และกระบวนการ
                                                                                               142
               ในการตัดสินใจ (decision process) ส าหรับหน่วยงานของรัฐในกระบวนการจัดท าร่างกฎหมาย  RIA เป็น
               เครื่องมือในการเก็บข้อมูล ศึกษาข้อเท็จจริง เรียบเรียงล าดับการคิดวิเคราะห์ และคาดการณ์ผลที่จะเกิดขึ้นใน
               อนาคตอย่างเป็นระบบโดยการตั้งค าถามว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมนั้น รัฐจ าเป็นต้องแทรกแซงจริงหรือไม่ รัฐมี

               ทางเลือกใดบ้างในการช่วยแก้ไขปัญหา และหากจ าเป็นต้องใช้กฎหมาย จะมีต้นทุน เกิดประโยชน์ และสร้าง
               ผลกระทบอย่างไรบ้างการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายอย่างครบถ้วนและรอบด้านจะต้อง
               ผ่านการพูดคุย แลกเปลี่ยนความรู้ และพัฒนาความเข้าใจหว่างหน่วยงานของรัฐและผู้ที่เกี่ยวข้องจากฝ่ายต่าง

               ๆ ในอีกมุมมองหนึ่ง RIA  จึงเป็นกระบวนการในการตัดสินใจของรัฐ ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลและ
               ข้อเท็จจริง เพื่อให้ได้มาซึ่งกฎหมายที่มีคุณภาพและตรงกับความต้องการของสังคม ดังนั้น หัวใจที่ส าคัญที่สุด
                                                                                                       143
               ของกระบวนการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายจึงไม่ได้อยู่ที่ความแม่นย าของการค านวณ
               แต่อยู่ที่กระบวนการล าดับการคิดวิเคราะห์ การตั้งค าถาม ก าหนดสภาพปัญหาตั้งต้นที่ถูกต้องและตรงกับความ
               เป็นจริง การมีส่วนร่วมในการแสดงความเห็นและแลกเปลี่ยนความรู้ของผู้ที่เกี่ยวข้อง การท าความเข้าใจถึง

               ความเชื่อมโยงกันระหว่างเหตุและผลที่อาจเกิดขึ้น และการด าเนินการในทุกขั้นตอนอย่างเปิดเผยและโปร่งใส


                                                                    144
               2.6 การตรวจสอบเนื้อหาในการตรากฎหมายของประเทศไทย

                       การร่างกฎหมาย คือ การสร้างกฎเกณฑ์ กติกา วิธีการ หรือเงื่อนไข ที่จะใช้ทั่วไปในสังคมและจะต้อง
               ใช้กับทุกคนในสังคม ขึ้นมาเป็นเอกสารที่จะต้องสื่อความหมายของกฎเกณฑ์ กติกาที่สร้างขึ้นนั้นไปยังสังคมให้
                  145
               ได้  การตรวจสอบเนื้อหาของร่างกฎหมายจึงเป็นขั้นตอนส าคัญที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เนื้อหาของร่าง
               กฎหมายที่จัดท าขึ้นนั้นจะต้องสอดคล้องกับหลักการทั่วไปในทางกฎหมาย และสอดคล้องกับความต้องการของ
               สังคม หลักการทั่วไปในทางกฎหมายล้วนเป็นหลักการที่นักกฎหมายคุ้นเคยดีอยู่แล้ว เช่น หลักธรรมาภิบาล
               หลักนิติธรรม (Rule  of  Law)  หลักการแบ่งแยกอ านาจ รวมถึงหลักความได้สัดส่วน (Proportionality)  แต่
               การจัดท าร่างกฎหมายที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับความต้องการของสังคมนั้น การตรวจสอบเนื้อหาของกฎหมาย

               ในมุมมองนี้ จะต้องประเมินไปถึงผลดีผลเสียของมาตรการในกฎหมาย ความเหมาะสมต่อสภาพการณ์ และ
               ค านึงถึงความสามารถของมาตรการในการบรรลุวัตถุประสงค์ของกฎหมาย  การตรวจสอบเนื้อหาของร่าง

               2. ค าแนะน าของคณะกรรมการพัฒนากฎหมาย เรื่อง การใช้ระบบคณะกรรมการในกฎหมาย พ.ศ. 2562
               https://www.krisdika .go.th/librarian/get?sysid=849185&ext=pdf
               3. ค าแนะน าของคณะกรรมการพัฒนากฎหมาย เรื่อง การก าหนดโทษอาญาในกฎหมาย พ.ศ. 2562
               https://www.krisdika.go.th /librarian/get?sysid=849187&ext=pdf
               142
                  เดือนเด่น นิคมบริรักษ์  วีรวัลย์ ไพบูลย์จิตต์อารี  และณัฏฐณิชา เลอฟิลิแบร์ต,  “การวิเคราะห์ผลกระทบในการออก
               กฎหมาย (Regulatory Impact Analysis),” (รายงานการวิจัยเสนอต่อสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) โดยทุน
               สนับสนุนจากส านักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, 2557).
               143  ส านักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, “ค าอธิบายสาระส าคัญของพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมายและการ
               ประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562,” (2563).
               144
                  ข้อมูลในหัวข้อนี้ได้รับความอนุเคราะห์จากนางสาวใจใส วงส์พิเชษฐ  นักกฎหมายกฤษฎีกา กองพัฒนากฎหมาย ส านักงาน
               คณะกรรมการกฤษฎีกา
               145
                  มีชัย ฤชุพันธุ์,  “แนวความคิดและข้อสังเกตในการร่างกฎหมาย,”  ใน ค าบรรยายพิเศษ, จัดโดยคณะนิติศาสตร์
               มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์, 2541: น. 1-2.
   132   133   134   135   136   137   138   139   140   141   142