Page 138 - kpiebook65020
P. 138
99
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”
กฎหมายในส่วนนี้ จึงเป็นการน าหลักการของการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายมาใช้ประกอบ
กับขั้นตอนการตรวจสอบเนื้อหาร่างกฎหมาย โดยเน้นไปยัง 4 มาตรการในกฎหมายของไทยที่มักเกิดปัญหา
หรือสร้างผลกระทบในชั้นการบังคับใช้ คือ การใช้ระบบอนุญาต การใช้ระบบคณะกรรมการ การใช้ดุลพินิจ
ของเจ้าหน้าที่ และการก าหนดโทษอาญา การตรวจสอบเนื้อหาของกฎหมายตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์
การจัดท าร่างกฎหมายฯ จึงมีเป้าหมายของการมีกฎหมายที่ถูกต้องตามหลักกฎหมายทั่วไปและมีประสิทธิภาพ
ดังนั้น นอกจากการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายและการรับฟังความคิดเห็นก่อนการ
เสนอร่างกฎหมายแล้ว พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของ
กฎหมาย พ.ศ. 2562 จึงได้ก าหนดให้หน่วยงานของรัฐที่จะเสนอร่างกฎหมายต้องจัดท าและตรวจสอบเนื้อหา
ของร่างกฎหมายให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ 5 ประการ ได้แก่
(1) ร่างกฎหมายต้องสอดคล้องกับหลักการทั่วไปในการตรากฎหมาย
(2) ร่างกฎหมายต้องก าหนดให้มีการใช้ระบบอนุญาตเฉพาะกรณีที่จ าเป็น
(3) ร่างกฎหมายต้องก าหนดให้มีการใช้ระบบคณะกรรมการเฉพาะกรณีที่จ าเป็น
(4) ร่างกฎหมายต้องก าหนดหลักเกณฑ์การใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ของรัฐและระยะเวลาใน
การด าเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ ที่บัญญัติไว้ในร่างกฎหมายนั้นให้ชัดเจน
(5) ร่างกฎหมายต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์การก าหนดโทษอาญา
2.6.1 การตรวจสอบหลักการทั่วไปในการตรากฎหมาย
หลักการทั่วไปในการจัดท าร่างกฎหมายที่หน่วยงานของรัฐต้องตรวจสอบและพิจารณานั้นถูกก าหนด
ไว้ในมาตรา 21 (1) - (4) แห่งพระราชบัญญัติฯ ซึ่งได้แก่
(1) สอดคล้องและไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ โดยในกรณีที่เป็นการจัดท าร่างพระราชบัญญัติหรือ
ประมวลกฎหมายต้องสอดคล้องและไม่ขัดหรือแย้งต่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญด้วย
เนื่องจากรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เป็นกฎหมายแม่บทของกฎหมายอื่น ๆ อัน
ก าหนดสิทธิหน้าที่พื้นฐานของประชาชน และวางโครงสร้าง อ านาจหน้าที่ขององค์กรของรัฐ ตลอดจนก าหนด
ความสัมพันธ์ระหว่างอ านาจหน้าที่ขององค์กรต่าง ๆ ของรัฐ ดังนั้น กฎหมายที่หน่วยงานจะจัดท าขึ้นจะไม่
สามารถก าหนดให้มีมาตรการ ภารกิจ หรือเนื้อหาอื่นใดที่เกินไปกว่าขอบเขตที่ก าหนดไว้ในรัฐธรรมนูญได้ ซึ่ง
รวมไปถึงขอบเขตในการจ ากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลด้วย
(2) สอดคล้องและไม่ขัดหรือแย้งกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ
146
ยุทธศาสตร์ชาติ เป็นการก าหนดเป้าหมายในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามหลักธรรมาภิบาล
เพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดท าแผนต่าง ๆ ให้สอดคล้องและบูรณาการกัน โดยแบ่งได้เป็น 6 ด้าน คือ ด้านความ
มั่นคง ด้านความสามารถในการแข่งขัน ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ด้านการสร้าง
146
ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 – 2580 จาก https://www.nesdc.go.th/download/document/SAC/NS_ PlanOct
2018.pdf>.