Page 139 - kpiebook65020
P. 139
100
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”
โอกาสและความเสมอภาค ด้านการสร้างคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และด้านการพัฒนาระบบการ
บริหารจัดการภาครัฐ
147
แผนการปฏิรูปประเทศ เป็นแผนการด าเนินงานของรัฐให้บรรลุเป้าหมายตามที่บัญญัติไว้ใน
รัฐธรรมนูญ ประกอบด้วย ความสงบเรียบร้อย มีความสามัคคี สังคมมีความสงบสุข เป็นธรรม และมีโอกาสอัน
ทัดเทียมกันเพื่อขจัดความเหลื่อมล้ า มีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ เป็นการก าหนด
ทิศทางในการพัฒนาประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศสอดคล้องและเป็นไปในทิศทาง
เดียวกัน เพื่อให้เกิดการบูรณาการระหว่างการด าเนินการต่าง ๆ ของหน่วยงานรัฐ การจัดท าร่างกฎหมายก็เป็น
เครื่องมือหนึ่งในการด าเนินการของรัฐเพื่อผลักดันการพัฒนาประเทศ จึงควรมีเนื้อหาที่ไม่ขัดแย้งต่อเป้าหมาย
ของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ
(3) สอดคล้องกับหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี หรือ Good Governance เป็นหลักการที่ว่าด้วยการบริหาร
จัดการสาธารณะโดยมุ่งเน้นเพื่อให้การด าเนินการของรัฐตอบสนองความต้องการและเกิดประโยชน์สุขแก่
ประชาชน อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่า เหมาะสมต่อบริบทในสังคม โดยไม่เพิ่มขั้นตอนในการ
148
ปฏิบัติงานเกินความจ าเป็น ในการจัดท าร่างกฎหมาย หน่วยงานอาจพิจารณาจากหลักการในพระราช
กฤษฎีกาพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
(4) ยกเลิกหรือปรับปรุงกฎหมายที่หมดความจ าเป็นหรือไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ หรือที่เป็น
อุปสรรคต่อการด ารงชีวิตหรือการประกอบอาชีพเพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่ประชาชน
หลักการมีกฎหมายเท่าที่จ าเป็นอาจกล่าวได้ว่ามีต้นก าเนิดอยู่ในช่วงยุค Deregulation ในปี 1970s
กล่าวคือ เป็นการลดการออกกฎหมายใหม่และแก้ไขกฎหมายเดิมที่สร้างอุปสรรคหรือสร้างข้อจ ากัดในการ
ด าเนินชีวิตและการประกอบอาชีพโดยไม่จ าเป็น เพื่อเป็นการเปิดระบบเศรษฐกิจ ให้เป็นระบบเศรษฐกิจเสรี
149
ลดการแทรกแซงจากรัฐ ในประเทศไทยนั้น หลักการมีกฎหมายเท่าที่จ าเป็นถูกน ามาใช้ในการตรวจสอบร่าง
กฎหมายในกระบวนการตรากฎหมายไทยตั้งแต่ในช่วงปี พ.ศ. 2531 เพียงแต่ในช่วงนั้น หลักการดังกล่าวเป็น
150
เพียงข้อบังคับส าหรับหน่วยงานของรัฐในระเบียบส านักนายกรัฐมนตรีเท่านั้น ซึ่งในปัจจุบัน หลักการ
ดังกล่าว นอกจากจะถูกบรรจุไว้ในมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว ยังสามารถพบได้ใน
มาตรา 26 และมาตรา 40 ของรัฐธรรมนูญ
หากร่างกฎหมายมีเนื้อหาเกี่ยวกับระบบอนุญาต ระบบคณะกรรมการ การใช้ดุลพินิจของ
เจ้าหน้าที่รัฐ หรือการก าหนดโทษอาญา หน่วยงานจะต้องตรวจสอบพิจารณาให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ใน
มาตรา 21 (5) – (8) ด้วย ซึ่งจะกล่าวในหัวข้อต่อไปนี้
147 พระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการด าเนินการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. 2560
148
Agere, S. (2000), “Promoting Good Governance: Principles, Practices and Perspectives,” Managing the
Public Service: Strategies for Improvement, No. 11, Commonwealth Secretariat, London.
149
Derthick, Martha, and Paul J. Quirk, The politics of deregulation, (Brookings Institution Press, 2001).
150 ระเบียบส านักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2531