Page 140 - kpiebook65020
P. 140
101
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”
2.6.2 ระบบอนุญาต
มาตรา 21 (5) แห่งพระราชบัญญัติฯ ก าหนดให้หน่วยงานที่จะเสนอร่างกฎหมายต้องไม่ใช้ระบบ
อนุญาต เว้นแต่จะมีเหตุจ าเป็นเพื่อรักษาประโยชน์ของประเทศชาติหรือประชาชน หรือมีกรณีจ าเป็นอันไม่อาจ
หลีกเลี่ยงได้ โดยในกรณีที่จ าเป็นต้องมีระบบอนุญาต การก าหนดระยะเวลาหรือขั้นตอนในการพิจารณายื่นค า
ขออนุญาตด าเนินการต่าง ๆ ต้องค านึงถึงหลักการและสาระส าคัญของกฎหมายเกี่ยวกับการอ านวยความ
สะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการประกอบด้วย
การจ ากัดการใช้ระบบอนุญาตในการควบคุมก ากับกิจกรรมในสังคมมาจากแนวคิดที่ว่าในสังคม
ประชาธิปไตย บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการกระท าหรือไม่กระท าการก็ได้ การแทรกแซงของรัฐในกิจทั่วไปของ
ประชาชนที่มีผลเป็นการจ ากัดสิทธิและเสรีภาพจึงต้องอาศัยอ านาจแห่งกฎหมายเพียงเท่าที่จ าเป็นเท่านั้น โดย
ระดับความหนักเบาในการควบคุม ก ากับดูแล และการแทรกแซงของรัฐในการท ากิจกรรมต่าง ๆ ของ
151
ประชาชน สามารถแบ่งได้เป็น 4 ระดับ ดังนี้
1. การก าหนดกฎเกณฑ์ให้ปฏิบัติตาม มีวัตถุประสงค์เพื่อวางกฎเกณฑ์หรือมาตรฐานให้ประชาชนหรือ
ผู้ประกอบการต้องปฏิบัติตาม โดยรัฐสามารถติดตามตรวจสอบการด าเนินการเพื่อให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์หรือ
มาตรฐานดังกล่าวได้ในภายหลัง ทั้งกรณีที่รัฐติดตามตรวจสอบเองหรือกรณีมีผู้ร้องเรียน
152
2. การจดแจ้ง มีวัตถุประสงค์เพื่อให้รัฐได้ทราบข้อมูลและสามารถติดตามได้อย่างใกล้ชิด เป็นกรณี
ที่รัฐต้องการทราบข้อมูลเชิงสถิติเพื่อใช้ในการบริหารจัดการภาครัฐ และการก ากับดูแลการท ากิจกรรม หรือ
การประกอบธุรกิจ โดยก าหนดให้จดแจ้งข้อเท็จจริงหรือรายละเอียดบางประการต่อหน่วยงานผู้รับผิดชอบก่อน
ด าเนินการ โดยหน่วยงานผู้รับผิดชอบมีหน้าที่เพียงยืนยันความครบถ้วนของรายการเท่านั้น
การก าหนดกฎเกณฑ์ให้ปฏิบัติตามและการจดแจ้งจึงเป็นการแทรกแซงของรัฐที่กระทบสิทธิเสรีภาพ
ของประชาชนในระดับต่ า เนื่องจากเป็นมาตรการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการติดตามและการเก็บข้อมูลส าหรับ
การบริหารจัดการเท่านั้น ประชาชนจึงยังสามารถด าเนินกิจกรรมได้ โดยไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐก่อน
3. การจดทะเบียน/การขึ้นทะเบียน มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบและติดตาม ส าหรับกิจกรรมที่มี
ผลกระทบต่อสาธารณะในระดับที่มิได้รุนแรงมากนัก แต่รัฐจ าเป็นต้องเข้ามาก ากับดูแล เพื่อรับรองคุณสมบัติ
หรือคุณวุฒิของผู้ประกอบการ เพื่อประกอบการตัดสินใจในการใช้บริการของประชาชนหรือเพื่อประโยชน์ใน
การตรวจสอบและการส่งเสริมหรือสนับสนุนจากภาครัฐ โดยในการรับจดทะเบียนหรือขึ้นทะเบียนอาจก าหนด
คุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามได้ ทั้งนี้ หากผู้ขอมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่ก าหนด หน่วยงาน
ของรัฐไม่อาจปฏิเสธการรับจดทะเบียนหรือขึ้นทะเบียนบุคคลนั้นได้
แม้ว่าประชาชนจะสามารถลงทะเบียนและด าเนินกิจกรรมได้เลยโดยไม่ต้องรอรับการเห็นชอบจากรัฐ
การจดทะเบียนหรือการขึ้นทะเบียนก็ยังเป็นการแทรกแซงของรัฐที่มีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของ
ประชาชนในระดับที่รุนแรงมากกว่าการก าหนดกฎเกณฑ์และการจดแจ้ง เนื่องจากรัฐสามารถก าหนด
151
ส านักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, “รายงานผลการศึกษาของคณะท างานศึกษาหลักเกณฑ์การพิจารณาการก าหนดระบบ
อนุญาตในกฎหมาย,” (2562) จาก https://www.lawreform.go.th/uploads/files/1579148886-2cqso-rwvy6.pdf.
152 Cass แบ่งมาตรการการควบคุมเป็น 3 ระดับ คือ การจดแจ้ง ขึ้นทะเบียน และการอนุญาต.