Page 141 - kpiebook65020
P. 141
102
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”
คุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้าม อันจะส่งให้เป็นการกีดกันบุคคลบางกลุ่มในสังคม ท าให้ไม่สามารถขึ้นทะเบียน
และกระท าการดังกล่าวได้
4. การอนุญาต/ใบอนุญาต มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นมาตรการในการควบคุมและก ากับดูแลการท า
กิจกรรมหรือการประกอบธุรกิจของประชาชนที่มีความเข้มงวดสูง หรือมีความจ าเป็นต้องก าหนดจ านวนหรือ
ปริมาณ เพราะเป็นกิจกรรมที่มีลักษณะที่กระทบต่อชีวิต สิทธิ เสรีภาพ สังคม หรือประโยชน์สาธารณะอย่าง
ร้ายแรง จึงจ าเป็นต้องห้ามมิให้ประกอบกิจกรรมหรือธุรกิจนั้นจนกว่าจะได้รับอนุญาต โดยการใช้ระบบอนุญาต
153
สามารถกระท าได้เมื่อ
- เป็นกรณีที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เนื่องจากการควบคุมหรือก ากับดูแลในรูปแบบของการก าหนด
กฎเกณฑ์ให้ปฏิบัติตาม การจดแจ้ง และการจดทะเบียนไม่เพียงพอส าหรับการคุ้มครองประโยชน์ส่วนรวมของ
ประชาชน
- ไม่มีมาตรการอื่นที่ดีกว่าเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการคุ้มครองประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน
- ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวม
- ไม่เป็นภาระแก่ประชาชนจนไม่คุ้มค่ากับประโยชน์ที่ภาครัฐจะได้รับ
ตัวอย่างกรณีเหตุจ าเป็นเพื่อรักษาประโยชน์ของประเทศชาติหรือประชาชน เช่น การก าหนดระบบ
อนุญาตเพื่อการควบคุมการกระท าที่อาจส่งผลกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงหรือความปลอดภัยสาธารณะ
หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เช่น กฎหมายอาวุธปืน หรือการก าหนดระบบอนุญาตเพื่อการบริหารจัดการ
ทรัพย์สินสาธารณะที่มีจ ากัดหรือสิ่งที่เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เช่น กฎหมายที่ดิน ป่าไม้ น้ า หรือกฎหมาย
เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
จะเห็นได้ว่า การใช้ระบบอนุญาตในกฎหมายเพื่อใช้ในการควบคุม ก ากับดูแล หรือเพื่อที่รัฐจะเข้าไป
เกี่ยวข้องในกิจกรรม การด าเนินชีวิต หรือการประกอบธุรกิจของประชาชน จึงนับเป็นการจ ากัดสิทธิและ
154
เสรีภาพของบุคคลขั้นสูง เนื่องจากเป็นการห้ามมิให้กระท าการที่ต้องขออนุญาตนั้น จนกว่าจะได้รับอนุญาต
ดังนั้น การจะตรากฎหมายขึ้นเพื่อจ ากัดเสรีภาพในการกระท าหรือไม่กระท าการโดยก าหนดให้ใช้ระบบอนุญาต
(หรือที่มีผลท านองเดียวกันไม่ว่าจะเรียกว่าอย่างไร) จึงต้องกระท าเท่าที่จ าเป็นส าหรับกรณีที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้
การเลือกใช้ระบบอนุญาตในกฎหมายจึงสมควรต้องพิจารณาตามระดับความส าคัญของกิจกรรม
ประโยชน์สาธารณะ และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นแก่ประชาชน รวมทั้งความคุ้มค่าของระบบการควบคุมหรือ
ก ากับดูแลที่เลือกใช้ให้มีความเหมาะสม และได้สัดส่วนกับมาตรการที่เลือกใช้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน
และมีขอบเขตแนวทางในการใช้ระบบอนุญาตที่ชัดเจน เพื่อมิให้เป็นภาระแก่ประชาชนจนเกินสมควร
153 ค าแนะน าของคณะกรรมการพัฒนากฎหมาย เรื่อง การใช้ระบบอนุญาตในกฎหมาย ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม
136 ตอนที่ 132 ก ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2562
154
คณะท างานศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการใช้ระบบอนุญาตในกฎหมาย, “การใช้ระบบอนุญาตและมาตรการอื่นทดแทนระบบ
อนุญาตในระบบกฎหมายต่างประเทศ,” (รายงานผลการวิจัยเสนอต่อส านักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา), จาก http://web.
krisdika.go.th /data/outsitedata/article77/file/3-02.pdf.