Page 142 - kpiebook65020
P. 142

103

                                                                                     รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
                                     โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”


                       2.6.3 ระบบคณะกรรมการ

                       มาตรา 21  (6)  แห่งพระราชบัญญัติฯ ก าหนดให้หน่วยงานที่จะเสนอร่างกฎหมายต้องไม่ใช้ระบบ
               คณะกรรมการ เว้นแต่เพื่อก าหนดนโยบาย หรือก ากับ หรือก าหนดหลักเกณฑ์ หรือเพื่อการอื่นที่จ าเป็น ทั้งนี้
               ในกรณีที่น าระบบคณะกรรมการมาใช้ ให้ระบุให้ชัดเจนด้วยว่ามติของคณะกรรมการผูกพันหน่วยงานที่มีผู้แทน

               เป็นกรรมการโดยต าแหน่งด้วย
                       ระบบคณะกรรมการ คือ ระบบการพิจารณาและตัดสินใจในรูปแบบกลุ่มบุคคลที่ก าหนดขึ้นเพื่อให้มี

               การด าเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดในด้านการบริหารโดยมีเป้าหมายในการท างานร่วมกัน

                       การตัดสินใจโดยระบบคณะกรรมการมีข้อดี คือ เป็นการตัดสินใจด้วยผู้แทนจากกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้อง ท า
               ให้ได้รับข้อมูลความเห็นจากหลากหลายด้าน และผลการตัดสินใจจะได้รับการยอมรับมากกว่าการตัดสินใจโดย
                                                                                   155
               บุคคลเพียงคนเดียว และเป็นการป้องกันการผูกขาดอ านาจไว้ในบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
                       การตัดสินใจโดยระบบคณะกรรมการมีข้อเสียหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัญหาเกี่ยวกับความ

               ล่าช้า การหาผู้รับผิดชอบที่แท้จริง (accountability)  ซึ่งกระท าได้ยากเมื่อเกิดข้อผิดพลาด ปัญหาที่เกิดจาก
               การกระบวนการสรรหาที่มิชอบ การเข้าประชุมแทน การมอบอ านาจแทน รวมทั้งการปฏิบัติงานของ
               คณะกรรมการจะมีต้นทุนและค่าใช้จ่ายสูง หลายครั้งจึงท าให้รัฐต้องสูญเสียงบประมาณแผ่นดินโดยไม่
                     156
               จ าเป็น
                       ข้อเสียของการใช้ระบบคณะกรรมการ มักจะพบในกรณีดังต่อไปนี้

                       1) การแต่งตั้งให้คณะกรรมการเป็นผู้บริหารงานโดยตรงหรือรับผิดชอบต่อการบริหารงานโดยตรง เว้น

               แต่เป็นผู้ควบคุมก ากับผู้บริหารในมหาวิทยาลัย รัฐวิสาหกิจ หรือองค์การมหาชน

                       2) การแต่งตั้งให้คณะกรรมการมีหน้าที่หรืออ านาจซ้ าซ้อนกับหน่วยงานหรือคณะกรรมการอื่น

                       3)  การแต่งตั้งคณะกรรมการที่จะส่งผลให้การบริการประชาชนหรือการปฏิบัติหน้าที่ราชการเกิด
               ขั้นตอนมากขึ้นหรือเกิดความล่าช้า

                       4) การก าหนดให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีจ านวนมากร่วมเป็นกรรมการด้วย

                       5) การแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อให้เกิดผลเป็นการเบี่ยงเบนความรับผิดรับชอบ (accountability) ใน
               ผลของการกระท าได้โดยง่าย

                       6) การแต่งตั้งคณะกรรมการที่มีวัตถุประสงค์ให้เป็นการด าเนินการแทนภารกิจของคณะรัฐมนตรี









               155   W.H.  Newman,  Administrative  Action:  The  Technique  of  Organisation  and  Management,  (2nd  ed,
               Prentice Hall 1963), p. 238-252.
               156
                  ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. กมลชัย. รัตนสกาววงศ์, “ปัญหาของระบบคณะกรรมการตามกฎหมาย,” ใน การจัดสัมมนา เรื่อง
               หลักเกณฑ์การใช้ระบบคณะกรรมการในกฎหมาย, ณ โรงแรม เดอะ เบอร์เคลีย์ ประตูน้ า,  2560:  จาก http://web.
               krisdika.go.th /data/outsitedata/article77/file/4-03.pdf.
   137   138   139   140   141   142   143   144   145   146   147