Page 61 - kpiebook65020
P. 61
22
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”
บังคับใช้กฎ เมื่อบังคับใช้กฎที่เกิดจากข้อมูลที่ไม่ครบถ้วนอาจท าให้ผู้อยู่ใต้บังคับของกฎแสดงพฤติกรรมที่คาด
เดาได้ยากหรือเปลี่ยนพฤติกรรมบางประการเพื่อหลบเลี่ยงกฎที่มีต้นทุนในการท าตามที่สูงมาก ท าให้ผู้ควบคุม
กฎไม่สามารถคาดเดาและควบคุมพฤติกรรมที่เกิดขึ้นตลาดรวมถึงไม่สามารถออกแบบการลงโทษเพื่อส่งเสริม
การท าตามกฎได้ ปัญหาด้านข้อมูลจึงท าให้การออกกฎไม่สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในตลาดได้ซ้ ายังท าให้เกิด
ปัญหาอื่น ๆ ตามมาอีกด้วย
ปัญหาประการที่สอง คือ ปัญหาด้านการระบุวัตถุประสงค์ของกฎ ดังที่ได้กล่าวในตอนต้นว่า
นอกเหนือจากการแทรกแซงตลาดเพื่อแก้ไขภาวะตลาดล้มเหลวแล้ว รัฐอาจเข้าแทรกแซงตลาดเพื่อสาเหตุอื่น
เช่น เพื่อส่งเสริมจัดสรรทรัพยากรอย่างเป็นธรรม หรือเพื่อเหตุผลทางสังคมอื่น ๆ ก็ได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ออกกฎ
ส่วนใหญ่มักค านึงถึงเหตุปัจจัยอื่น ๆ เหล่านี้มากกว่าค านึงถึงการแก้ปัญหาตลาดล้มเหลวทางเศรษฐกิจ
กล่าวคือรัฐหรือผู้ออกกฎไม่ได้ให้ความส าคัญกับประสิทธิภาพรวมถึงต้นทุนและก าไรในการออกกฎเท่าปัจจัย
ทางสังคมอื่น ๆ Stingler ระบุว่ากฎส่วนมากมักจะปกป้องผู้เล่นเดิมในตลาดและกีดกันผู้เล่นหน้าใหม่ ในทาง
ปฏิบัติผู้ออกกฎอาจอ้างถึงเหตุผลสูงส่งอื่น ๆ มากมายทางการเมืองเพื่อสนับสนุนความจ าเป็นในการออกกฎ
34
แม้ว่าแท้จริงแล้วพวกเขาอาจค านึงถึงเพียงผลประโยชน์ที่ตัวเองจะได้รับ ดังนั้น กฎจึงไม่ได้ออกมาเพื่อเพิ่ม
ประสิทธิภาพในทางเศรษฐกิจและสังคมแต่ออกกมาเพื่อผลประโยชน์ของคนกลุ่มใดกลุ่มนึงเท่านั้น แนวคิดการ
ผ่อนคลายกฎจึงเกิดขึ้นเพื่อลดความครอบง าของผู้มีส่วนได้เสียบางกลุ่มต่อการออกกฎ นอกจากนี้แนวคิดการ
ผ่อนคลายกฎยังอธิบายว่า การออกกฎโดยทั่วไปไม่ได้ค านึงถึงต้นทุนมากมายที่ซ่อนอยู่ในการออกกฎ การผ่อน
คลายกฎไม่ได้ต้องการเพียงแต่ละลดการออกกฎแต่ยังต้องการเพิ่มความโปร่งใสให้กับขั้นตอนการออกกกฎ
โดยการออกกฎแต่ละครั้งจะต้องมีหลักฐานชัดเจนที่แสดงถึงความจ าเป็นในการออกกฎ และกฎดังกล่าวจะต้อง
น าไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจและสังคม มิใช่เพียงเพื่อเหตุผลจับต้องไม่ได้ทางการเมืองเท่านั้น
ปัญหาประการที่สาม คือ ปัญหาที่เกิดจากรัฐหรือองค์กรผู้ออกกฎเอง การออกกฎแต่ละครั้ง
คือการสร้างสิทธิให้รัฐหรือองค์กรผู้ออกกฎเข้าไปควบคุม มีสิทธิในเข้าไปก ากับดูแลตลาดและผู้เล่น ดังนั้น การ
ออกกฎจึงเปรียบเสมือนการสร้างสิทธิให้องค์กรนั้น ๆ เข้าไปดูแลจัดการตลาด เมื่อตลาดกลายเป็นกรรมสิทธิ
ขององค์กรแล้ว องค์กรก็มีสิทธิ์จัดการดูแลตลาดได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นหากองค์กรที่เข้าดูแลมีโครงสร้าง วิธีการ
หรือวัฒนธรรมภายในองค์กรที่ไม่มีประสิทธิภาพและเน้นการเข้าแทรกแซงควบคุมตลาดเพียงอย่างเดียว ก็จะ
ท าให้ตลาดทั้งตลาดอด าเนินการไปอย่างไรประสิทธิภาพ ความไร้ประสิทธิในองค์กรหรือที่ทางทฤษฎีเรียกว่า
X-inefficiency จะถูกส่งผ่านให้กับตลาดผ่านการเข้าไปสร้างกรรมสิทธิในการดูแลตลาดด้วยการออกกฎนั้นเอง
34
George J Stigler, "The Theory of Economic Regulation," The Bell Journal of Economics and Management
Science 2, no. 1 p.3-21 (1971)