Page 63 - kpiebook65020
P. 63

24

                                                                                     รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
                                     โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”


                       นอกจากวิธีการทั้งสี่แล้ว ในปัจจุบันยังมีวิธีการผ่อนคลายกฎอีกประเภทที่ได้รับความนิยมอย่างสูงนั้น
                                                            36
               คือ แนวคิดการดุน หรือ การสะกิด (Nudge Theory)  ซึ่งเป็นแนวคิดน าเสนอกลยุทธ์การเสริม แรงทางบวก
               (Positive reinforcement) และการเสนอแนะทางอ้อม (Indirect suggestions) เพื่อสร้างเหตุจูงใจ กระตุ้น
               แรงจูงใจ และโน้มน้าวการตัดสินใจของบุคคลหรือกลุ่มคนซึ่งเชื่อว่าวิธีการนี้จะมีประสิทธิภาพต่อการ

               เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมากกว่าการออกค าสั่ง การใช้กฎหมายหรือ การบีบบังคับให้บุคคลหรือกลุ่มคนเปลี่ยน
                        37
               พฤติกรรม  กล่าวโดยย่อ  คือแนวคิดในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมนุษย์ผ่านการดุนหรือการสะกิดเพียง
               เล็กน้อยแทนการใช้กฎในการบังคับหรือการลงโทษ แนวคิดเรื่องการสะกิดนั้นตั้งอยู่บนแนวคิดแบบ

               เศรษฐศาสตร์พฤติกรรมที่แตกกต่างจากเศรษฐศาสตร์เสรีนิยม โดยเศษฐศาสตร์พฤติกรรมเป็นเศรษฐศาสตร์
               แนวใหม่ที่มีการน าเอาความรู้จากสาขาวิชาอื่น ๆ ทั้งทางสังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ร่วมกับ
               วิชาเศรษฐศาสตร์ดั้งเดิมเพื่อใช้ในการพัฒนากระบวนการและเครื่องมือที่จะทาให้เกิดความเข้าใจในพฤติกรรม
                                                                                38
               และกระบวนการตัดสินใจของมนุษย์ในเชิงประจักษ์ได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น  สมมุติฐานอย่างหนึ่งที่ส าคัญ
               ของเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมที่แตกต่างเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมคือสมมุติฐานที่ว่า มนุษย์นั้นแท้จริงแล้วไม่ใช่

               สิ่งมีชีวิตที่มีเหตุผล แต่เป็นสิ่งมีชีวิตที่ด าเนินชีวิตและตัดสินใจอย่างไม่มีมีเหตุผล (irrational)  ดังนั้นแล้ว
               เศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรมมองว่า ภาครัฐจ าเป็นต้องเข้าแทรกแซงและก ากับดูแลไม่ใช่มนุษย์ใช้ชีวิตและ
               ตัดสินใจอย่างไร้เหตุผล แต่การเข้าแทรกแซงของรัฐไม่ควรท าผ่านการออกกฎบังคับแต่ควรท าผ่านการสร้าง

               แรงจูงใจทางบวก และหากจะมีการบังคับก็ควรเป็นการบังคับที่มีความรุนแรงเป็นเพียงการสะกิดหรือการดุน
               เท่านั้น เนื่องจากการสะกิดหรือการดุนจะเป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษย์ได้ดีที่สุด ดังนั้นแล้วแม้ว่า
               ทฤษฎีการสะกิดจะเป็นวิธีการผ่อนคลายกฎวิธีหนึ่งแต่ก็ไม่มีตั้งอยู่บนฐานความคิดทางเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมที่
               เชื่อว่ามนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่เหตุผลดังนั้นการผ่อนคลายกฎจึงควรเป็นการปล่อยให้มนุษย์ได้ใช้เหตุผลของตน

               แก้ปัญหาอย่างเต็มที่ดังที่สะท้อนอยู่ที่วิธีการผ่อนคลายกฎทั้งสี่วิธีข้างต้น

                       ตัวอย่างการผ่อนคลายกฎผ่านการสะกิดสามารถท าได้หลายวิธี เช่น การเพิ่มรายได้จากภาษีโดยให้
               นายกรัฐมนตรีเขียนจดหมายถึงผู้เสียภาษีอย่างนิ่มนวลให้ไปเสียภาษีแทนการออกค่าปรับหรือโทษในการไม่เสีย
               ภาษี หรือเพิ่มจ านวนการบริจาคอวัยวะ โดยถือว่าหากใครไม่ระบุว่าไม่ต้องการบริจาคก็หมายความว่ายินยอม
               บริจาคไปโดยปริยาย ร่วมไปถึงการใช้วิธีการสะกิดเพื่อสร้างแรง จูงใจเข้าร่วมหลักสูตรพัฒนาตนเองโดยระบุใน

               สัญญาจ้างงานของข้าราชการหรือพนักงานว่าสามารถปฏิเสธได้หากระบุว่าไม่ต้องการ มิฉะนั้นก็ถือว่าเข้าร่วม
                          39
               โดยอัตโนมัติ  ซึ่งในสองตัวอย่างสุดท้ายตั้งอยู่บนความเข้าใจที่ว่าในบางครั้งความไม่มีเหตุลของมนุษย์อาจท า
               ให้มนุษย์ตัดสินใจในทางที่เกิดผลร้ายมากกว่าผลเสีย เช่น การไม่บริจาคอวัยวะหรือการไม่เข้าร่วมโครงการ

               พัฒนาตนเอง ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องสะกิดให้มนุษย์ตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สมเหตุสมผลและ
               ส่งผลดีต่อตนเองและในสังคมส่วนใหญ่

               36
                  ดู Richard H. Thaler & Cass R. Sustein, สะกดความคิด สะกิดพฤติกรรม, (กรุงเทพ: We Learn, 2561).
               37  จันทิมา เขียวแก้ว, บทวิจารณ์หนังสือ Behavior Change Research and Theory: Psychological and Technological
               Perspectives, TLA Research Journal Vol 10, No.2, (2017).
               38   ปณิธี วิมุตเกษ,บทวิจารณ์หนังสือ “เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม: เศรษฐศาสตร์แนวใหม่ที่มองคนไปไกลกว่าสัตว์เศรษฐกิจ
               (Misbehaving: The Making of Behavioral Economics),” วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ ปีที่ 4, ฉบับที่ 2 ,
               (2560).
               39
                   วรากรณ์ สามโกเศศ,  “แนวคิด Nudge  ดัดพฤติกรรมมนุษย์”,  สืบค้นเมื่อวันที่ 22  ตุลาคม 2563  จาก  https://www.
               the101. world/nudge-richard-thaler/.
   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68