Page 64 - kpiebook65020
P. 64
25
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”
2.1.3. ความหมายและหลักการของการวิเคราะห์ผลกระทบในการตรากฎหมาย (Regulatory
Impact Assessment : RIA)
การวิเคราะห์ผลกระทบในการตรากฎหมายหรือมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไปหลายประเทศ เช่น
Regulatory Impact Assessment (RIA) ในกลุ่มประเทศอเมริกาเหนือ หรือ Impact Assessment (IA) ใน
กลุ่มสหภาพยุโรป RIA เป็นหนึ่งในวิเคราะห์การใช้กฎเพื่อแก้ปัญหาภาวะตลาดล้มเหลวและภาวะกฎล้มเหลว
RIA หมายถึง กระบวนการที่เป็นระบบในการตรวจสอบร่างกฎหรือกฎหมายที่จะส่งผลถึงผู้คนบางกลุ่มหรือมี
ผลกระทบต่อมิติบางมิติของสังคมโดยจะเป็นมิติใดบ้างขึ้นอยู่กับการให้ความหมายในแต่ละประเทศแต่โดยทั่ว
40
มักจะรวมถึงมิติทางเศรษฐกิจ สังคม เพศ สุขภาพ สิ่งแวดล้อมและการกระจายรายได้ของรัฐ
RIA นั้นไม่ได้มีรูปแบบหรือทฤษฎีที่ตายตัวแต่เป็นการบูรณาการความรู้เครื่องมือวิเคราะห์จาก
41
หลากหลายศาสตร์เข้าด้วยกันเพื่อน าเสนอปัญหา ทางเลือกในการแก้ปัญหาและวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของการ
แก้ปัญหาในแต่ละวิธี RIA ส่งเสริมการออกแบบกฎหรือนโยบายที่มีการสนับสนุนด้วยเหตุผลเชิงประจักษ์ผ่าน
42
การศึกษาวิจัยและการสอบถามผู้มีส่วนได้เสียกับกฎหรือนโยบายดังกล่าว โดยจุดมุ่งหมายที่ส าคัญที่สุดของ
RIA นั้นไม่ใช่การลดการออกกฎหมายเสียอย่างเดียว แต่เพื่อให้แน่ใจว่ากฎหมายที่ออกมาจะส่งผลดีต่อสังคม
โดยรวมมากกว่าผลเสีย ดังนั้นแล้วการจัดท า RIA มิได้สร้างกฎหมายที่ดีที่สุดแต่จะน าไปสู่การออกกฎหมายที่มี
43
ผลดีมากกว่าผลเสีย ผลเสียที่เกิดขึ้นนั้นก็ควรได้รับการบรรเทาหรือเยียวยา ไปพร้อม ๆ กันด้วย
2.1.3.1 ความหมายและหลักการ
OECD ได้ให้ความหมายของ RIA ว่าเป็นกระบวนที่ใช้ระบุและประเมินผลกระทบจากการ
ออกกฎอย่างเป็นระบบ โดยต้องมีการใช้วิธีการในการวิเคราะห์ เช่น การวิเคราะห์ต้นทุน อย่างต่อเนื่อง
โดย RIA นั้นคือกระบวนการเปรียบเทียบระหว่างเป้าหมายที่รัฐต้องการแทรกแซงกับนโยบายทางเลือกต่าง ๆ
ที่ใช้ในการบรรลุเป้าหมายนั้น นโยบายทางเลือกทั้งหมดนั้นต้องถูกวิเคราะห์ประเมินด้วยวิธีการเดียวกันและผู้
ออกกกฎต้องทราบถึงผลการวิเคราะห์ทั้งหมดก่อนจะตัดสินอย่างเป็นระบบเพื่อเลือกเฟ้นหานโยบายที่มีดี
44
ที่สุด กล่าวโดยย่อ RIA คือ กระบวนการวิเคราะห์ถึงประสิทธิภาพและความคุ้มทุนในการออกกฎ RIA เป็น
เครื่องมือที่ช่วยในการตัดสินใจอย่างเป็นระบบถึงประสิทธิภาพและความจ าเป็นในการออกกฎ ดังนั้น ผลของ
การประเมิน RIA อาจไม่ได้น าไปสู่ข้อสรุปของการออกหรือไม่ออกกฎใดกฎหนึ่งโดยตรง แต่เพียงช่วยในการ
ตัดสินใจออกกฎเท่านั้น ดังที่มีผู้สังเกตไว้ว่า “สิ่งส าคัญที่สุดที่ท าให้การตัดสินใจของรัฐบาลมีคุณภาพนั้นไม่ได้
40 Claire Dunlop and Claudio Radaelli, Handbook of Regulatory Impact Assessment, (Cheltenham: Edward
Elgar Publishing,2016 ), p.14
41
กิตติพงศ์ แนวมาลี, อ้างแล้ว เชิงอรรถที่ 23.
42
Enabling Environment for Sustainable Enterprises, “How to use EESE toolkits,” Enabling Environment for
Sustainable Enterprises, accessed 11 September 2020, from http://eese-toolkit.itcilo.org/index.php/en/tool
kit/how-to-use-the-toolkit.html
43 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย, “โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การวิเคราะห์ผลกระทบในการออกกฎหมาย,”กอง
พัฒนากฎหมาย ส านักงานกฤษฎีกา (2557) สืบค้นเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2563, จาก https://www.lawreform.go.th/
uploads/files/1574751600-5lkm1-ee09v.pdf, น.3.
44
OECD, “Introductory Handbook for Undertaking Regulatory Impact Analysis (RIA),” OECD, (2008)
accessed 11 September 2020, from https://www.oecd.org/gov/regulatory-policy/4478 94 72.pdf p.3