Page 65 - kpiebook65020
P. 65
26
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”
ความแม่นย าของการคิดค านวณแต่เป็นการถามค าถามที่ถูกต้อง การเข้าใจผลกระทบในความเป็นจริงและการ
45
ค้นหาข้อสันนิษฐาน ” เพราะฉะนั้นความส าคัญของ RIA จึงไม่ได้อยู่ที่ผลการคิดวิเคราะห์แต่อยู่ที่ขั้นตอนการ
ด าเนินการจัดท า RIA ที่มุ่งเน้นการคิดวิเคราะห์โดยมีหลักฐานประจักษ์และมีกรอบที่ครอบคลุมเพื่อให้การออก
46
กฎทุกครั้งมีความเหมาะสมและอธิบายได้
ในอดีต RIA เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปกฎหมาย (Regulatory Reform) ที่ใช้ในการค านวณ
ต้นทุนของกฎที่มีต่อเอกชนและน าไปสู่การผ่อนคลายกฎ (Deregulation) อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันแนวคิดการ
จัดท า RIA ไม่ได้มีเพื่อผ่อนคลายกฎแต่เพื่อประสิทธิภาพ (ออกกฎที่สามารถบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้) และ
47
ประสิทธิผล (ออกกฎที่มีประโยชน์มากกว่าต้นทุน) แนวคิดในการท า RIA จึงตั้งอยู่บนหลักพื้นฐานในการออก
48
กฎระเบียบที่ดี (Better Regulation) ซึ่งประกอบไปด้วย
(1) ความจ าเป็น (Necessity) ในการออกกฎเพื่อไม่ให้มีการออกกฎเข้าแทรกแซงกลไกตลาด
รวมถึงเสรีภาพของประชาชนมากเกินไป
(2) ความมีประสิทธิผล (Effectiveness) ซึ่งวัดได้จากการตั้งค าถามของผู้ออกกฎว่า ปัญหา
ที่ผู้ออกกฎต้องการแก้ไขคืออะไร มีนโยบายใดบางที่จะแก้ปัญหานั้นได้ตรงประเด็นมากที่สุด
(3) สัดส่วนที่เหมาะสม (Proportionality) ของวิธีการบังคับใช้กฎและปัญหาที่กฎต้องการ
แก้ไข
(4) ความโปร่งใส (Transparency) ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดท า
ข้อบังคับ นอกจากนี้ยังรวมไปถึง การแสดงหลักฐานประจักษ์และเหตุผลที่สมควรตั้งแต่เริ่มต้นวิเคราะห์ปัญหา
เพื่อออกกฎ ซึ่งสอดคล้องกับหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance)
(5) ภาระหน้าที่และความรับผิดชอบ (Accountability) ของหน่วยงานต่อการออกและบังคับ
ใช้กฎ ซึ่งสอดคล้องกับหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance)
(6) ความสอดคล้องและต่อเนื่อง (Consistency) กับข้อบังคับอื่น ๆ
2.1.3.2 ที่มาและพัฒนาการ
แนวคิดในการจัดท า RIA เริ่มต้นพร้อมกับแนวคิดรัฐในก ากับสมัยใหม่ (Modern Regulatory
State) ที่รัฐเข้ามามีบทบาทในการก ากับดูแลการด าเนินชีวิตของประชาชนแทนที่จะปล่อยให้ชีวีตความเป็นอยู่
ในสังคมถูกควบคุมด้วยตลาดในระบบทุนนิยม ในปีค.ศ. 1981 ประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกนแห่งสหรัฐอเมริกา
ได้ประกาศพระราชก าหนด Executive Order 12291 บังคับให้หน่วยงานราชการ (Government Agency)
ทุกหน่วยจัดท าการวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ (Cost-Benefit Analysis) ก่อนออก “กฎที่มีความส าคัญ
45 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย, อ้างแล้ว เชิงอรรถที่ 43, น.21.
46 เพิ่งอ้าง, น. 20.
47
เพิ่งอ้าง, น. 22.
48
ส านักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, “การพัฒนาระบบการประเมินผลกระทบ การออก กฎ
ระเบียบ และกฎหมายของไทย,” (2559) สืบค้นเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2563, จาก https://www.nesdc.go.thm/down
load / RIA/Development %20of%20Regulatory%20.pdf น.5