Page 66 - kpiebook65020
P. 66
27
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”
49
(all major rules)” แนวคิด RIA เดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกไปยังยุโรปในปีค.ศ. 1984 โดย
เยอรมันนีเป็นประเทศแรกในยุโรปที่น าแนวคิด RIA มาใช้ในการจัดท า the Blue Checklist ซึ่งเป็นค าถามที่
หน่วยงานต้องตอบก่อนท าการยื่นเสนอการเพิ่มหรือเปลี่ยนแปลงกฎ หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 1986 ประเทศส
หราชอาณาจักรได้น าแนวคิด RIA เข้ามาใช้ภายใต้ชื่อ Compliance Cost Assessment และเมื่อประเทศส
หราชอาณาจักรได้เข้าไปมีบทบาทในฐานะประธานคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป (President of European
Council) ในปีเดียวกัน แนวคิด RIA ได้ถูกน าไปใช้ในระดับสหภาพยุโรปภายใต้ชื่อ Business Impact
Assessment (BIA) อย่างไรก็ตาม แนวคิด RIA ในสหภาพยุโรปกลับได้รับการผลักดันจนมีการบังคับใช้อย่าง
เป็นระบบในปี ค.ศ. 2005 ในฐานะส่วนหนึ่งของนโยบาย Better Regulation เพื่อพัฒนาคุณภาพและความ
โปร่งใสของการออกกฎภายในเขตสหภาพยุโรป ในปีเดียวกันสหภาพยุโรปได้ประกาศคู่มือการด าเนินการจัดท า
RIA ออกมาอย่างเป็นทางการ ในที่สุด นอกจากในสหรัฐอเมริกาและยุโรปแล้ว ประเทศอื่น ๆ ในโลกต่างตอบ
รับแนวคิด RIA ผ่านความพยายามผลักดันขององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
(Organization for Economic Co-operation and Development: OECD) ตั้งแต่ในปีค.ศ. 1995 OECD
ได้ออกประกาศ Reference Checklist for Regulatory Decision-making หรือที่เรียกกันว่า OECD
Checklist ซึ่งจะมีค าถามทั้งหมด 10 ข้อ ที่หน่วยงานต้องตอบก่อนท าการเสนอแก้ไขหรือเพิ่มเติมกฎหมาย
โดย OECD เชื่อว่าการค าถามทั้ง 10 ข้อ ใน OECD Checklist นั้นไม่ได้มีซับซ้อนและมีความเหมาะสมกับทั้ง
ประเทศพัฒนาและก าลังพัฒนาที่ต้องการรับแนวคิดการจัดท า RIA เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการออก
กฎหมายและกฎ ในปีค.ศ. 2017 OECD ประสบความส าเร็จในการส่งต่อแนวคิด RIA ให้กับประเทศสมาชิก
OECD ทั้ง 37 ประเทศ อาจจะกล่าวได้ว่า ในปัจจุบัน RIA ได้รับการยอมรับอย่างมากในบริบทสังคมโลก
2.1.3.3 ประโยชน์จากการท า RIA
รัฐบาลที่ตัดสินใจเลือกท า RIA เพื่อศึกษาต้นทุนและผลกระทบก่อนการออกกฎหมายจะ
50
ได้รับประโยชน์ดังต่อไปนี้
1. เพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบจริงที่เกิดขึ้น ทั้งผลในแง่บวกและผลในแง่ลบ
ความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้นจริงจะน าไปสู่การตัดสินใจเลือกก าหนดนโยบายที่มี
ประสิทธิภาพและแก้ไขปัญหาอคติส่วนตัวหรือการประเมินผลกระทบโดยไม่มีหลักฐานที่เข้ามาปะปนในการ
ตัดสินใจก าหนดนโยบาย ดังนั้นแล้วการจัดท า RIA ที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์จะช่วยให้การตัดสินใจก าหนด
นโยบายมีเหตุผลสนับสนุนชัดเจนและครบถ้วน
2. ประสานวัตถุประสงค์อันหลากหลายของนโยบายเข้าด้วยกัน
การจัดท า RIA คือการประเมินผลกระทบจากหลากหลายนโยบายทางเลือก โดยหลากหลาย
ทางเลือกอาจมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันและอาจมีวัตถุประสงค์อื่น ๆ ที่แตกต่างกัน RIA จะช่วยเชื่อมโยง
49
William N Eskridge Philip P. Frickey Elizabeth Garrett and James J. Brudney, Cases and Materials on
Legislation and Regulation: Statutes and the Creation of Public Policy, 5th edition (Eagan: West Academic
Publishing, 2014), p. 1024.
50 OECD (1997), Regulatory Impact Analysis: Best Practices in OECD Countries, (Paris).