Page 67 - kpiebook65020
P. 67

28

                                                                                     รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
                                     โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”


               วัตถุประสงค์เหล่านี้เข้ามาอยู่ในกรอบกระบวนการวิเคราะห์กรอบเดียวกันท าให้ผู้ตัดสินใจนโยบายเห็นถึงค่า
               เสียโอกาสของการเลือกทางเลือกใดทางเลือกหนึ่ง

                              3. เพิ่มความโปร่งใสและการปรึกษาหารือก่อนออกนโยบาย

                              การท า RIA  ท าให้ผลกระทบของแต่ละนโยบายถูกประเมินอย่างโปร่งใส มีหลักฐานเป็น
               ตัวเลขหรือเหตุผลที่ชัดเจน นอกจากนี้ การปรึกษาผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือสาธารณะก็นับเป็นขั้นตอนที่ขาด
               ไม่ได้ในการจัดท า RIA


                              4. เพิ่มการตรวจสอบการท างานของภาครัฐ
                              การที่ภาครัฐจ าเป็นต้องจัดท า RIA  ถือเป็นการตรวจสอบภาครัฐในรูปแบบหนึ่ง หากรัฐ

               ต้องการออกกฎหรือนโยบาย รัฐจ าเป็นจะต้องอธิบายถึงเหตุผลที่จ าเป็นในการออกและจ าเป็นต้องเลือก
               นโยบายที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดเท่านั้น ผลการจัดท า RIA จะแนะน าให้ภาครัฐด าเนินนโยบายที่มีประโยชน์
               กับสังคมส่วนรวมมากที่สุดแทนที่จะค านึงถึงประโยชน์ของคนบางกลุ่มเท่านั้น หากภาครัฐไม่ท าตามผล

               วิเคราะห์ RIA  ภาครัฐต้องอธิบายถึงเหตุผลให้ได้ มิฉะนั้นอาจโดนกล่าวหาว่าไม่ได้ค านึงถึงผลประโยชน์
               สาธารณะเป็นหลักได้


                              แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการจัดท า RIA จะมีประโยชน์ในหลากหลายด้าน ประโยชน์เหล่านี้มัก
               ไม่ได้เกิดขึ้นในทันทีแต่จะค่อยๆเกิดขึ้นและเพิ่มพูนเมื่อมีการจัดท า RIA  อย่างต่อเนื่องซึ่งหมายความว่า การ
               จัดท า RIA จะต้องเอาชนะอุปสรรคและความท้าทายดังที่จะกล่าวในหัวข้อถัดไปได้แล้วเท่านั้น

                              2.1.3.4 อุปสรรคและความท้าทายในการจัดท า RIA

                              จากการประมวลการจัดท า RIA ในหลากหลายประเทศในกลุ่ม OECD พบว่า หลายประเทศ
               ประสบกับอุปสรรคและความท้าทายในการจัดท า RIA ดังต่อไปนี้

                              1. ขาดการสนับสนุนจากองค์กรและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง

                              การจัดท า RIA จ าเป็นต้องอาศัยความรู้และความเชี่ยวชาญทางเทคนิคจากหลายแขนง ดังนั้น

               แล้วปัญหาที่ส าคัญที่สุดในการเริ่มต้นจัดท า RIA  คือ การขาดบุคคลากรผู้มีความรู้และความเชี่ยวชาญในการ
               ด าเนินการ ทั้งนี้การจัดท า RIA ในหลายประเทศนั้นถือว่าเป็นเรื่องใหม่ ท าให้นอกจากไม่มีเจ้าหน้าที่เชี่ยวชาญ
               แล้วยังอาจจะขาดระบบการพัฒนาบุคคล (training)  ที่เป็นรูปเป็นร่างอีกด้วย เมื่อขาดองค์ความรู้ในการ
               ด าเนินการ การพัฒนาการจัดท า RIA จะเป็นไปได้ยากยิ่ง

                              2. ขาดการยอมรับจากทั้งภาครัฐและภาคสังคม


                              การจัดท า RIA นั้นอยู่ในกรอบคิดในการมองกฎหมายว่า กฎหมายเป็นเครื่องมือหนึ่งในสังคม
               ที่ต้องสอดคล้องหรือพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม ยิ่งไปกว่านั้นกฎหมายที่ดีตามความหมายของ
               RIA  นั้นเป็นกฎหมายที่มีผลกระทบในทางบวกมากกว่าทางลบ อาจกล่าวได้ว่า RIA  ให้ความส าคัญกับ
               ประสิทธิภาพมากกว่าหลักความยุติธรรม แม้ว่าจะมีการโต้เถียงจากนักนิติเศรษฐศาสตร์หลายคนว่า
               ประสิทธิภาพทางเศรษฐศาสตร์นั้นสอดคล้องกับความยุติธรรมทางกฎหมายอยู่แล้ว การจัดท า RIA  คือการ

               เปลี่ยนความคิดและมุมมองพื้นฐานต่อกฎหมายในสังคม ดังนั้นแล้วการจัดท า RIA  ในช่วงแรกอาจขาดการ
               ยอมรับจากทั้งภาครัฐและเอกชน ท าให้กระบวนการจัดท า RIA ไม่สามารถเดินหน้าต่อไปได้
   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72