Page 68 - kpiebook65020
P. 68
29
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”
3. ขาดข้อมูลที่น่าเชื่อถือในการจัดท า RIA
ความถูกต้องและน่าเชื่อถือของ RIA ขึ้นอยู่กับข้อมูลที่น ามาให้วิเคราะห์ ยิ่งมีข้อมูลมากและ
ถูกต้อง ยิ่งท าให้ RIA มีความแม่นย ามากขึ้นเท่านั้น อย่างไรก็ตามในหลายประเทศ อาจไม่มีการเก็บข้อมูลไว้
มากพอ หรือข้อมูลที่เก็บได้ไม่ได้เก็บผ่านกระบวนการที่น่าเชื่อถือ ปัญหาการขาดข้อมูลท าให้ความน่าเชื่อถือ
ของ RIA ลดต่ าลงตามไปด้วย
4. วิธีการออกนโยบายมีปัญหา
ในหลายประเทศที่ขาดเป็นระบบระเบียบและความโปร่งใสในการออกนโยบายตามวัฏจักร
นโยบายหรือในขั้นตอนการออกกฎหมาย อาจท าให้การจัดท า RIA ไม่สามารถผสานเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของ
กระบวนการตัดสินใจออกกฎหรือออกนโยบายได้ และท าให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องไม่ได้ข้อมูลจากการจัดท า RIA
ไปใช้ในการออกกฎหมายหรือนโยบายจริง ๆ
5. ขาดความกระตือรือร้นในการจัดท า RIA จากผู้ออกกฎหมาย
ในแง่หนึ่ง การจัดท า RIA นั้นคือการเพิ่มภาระหน้าที่ให้กับผู้ออกกฎหมาย แม้จะเป็นการเพิ่ม
ภาระเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการออกกฎและนโยบาย เจ้าหน้าที่ผู้ออกกฎหมายย่อมต้องปฏิบัติหน้าที่เพิ่มขึ้น
ดังนั้นแล้วเจ้าหน้าที่เหล่านี้อาจขาดความกระตือรือร้นในการจัดท า RIA อย่างจริงจังหากขาดการสนับสนุนที่
เข้มแข็งจากภาครัฐตั้งแต่แรก นอกจากนี้สภาพแวดล้อมในระบบราชการอาจท าให้เจ้าหน้าที่เฉยชาต่อการ
ปรับตัวเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ท าให้ RIA ไม่สามารถกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบการออกกฎและ
นโยบายได้
6. ขาดการสนับสนุนจากภาคการเมือง
ในการออกกฎหมายหรือนโยบายหลายครั้งนั้นมักขึ้นอยู่กับการสนับสนุนจากภาคการเมือง
การจัดท า RIA ในบางครั้งอาจถูกมองว่าเป็นการต่อต้านแนวคิดการออกกฎหมายจากนักการเมืองที่ต้องการ
ออกกฎหมายตามที่ได้สัญญาไว้กับประชาชนในการเลือกตั้ง หรือออกกฎหมายที่สอดคล้องกับท้องถิ่นที่ตนเอง
เป็นผู้แทนโดยไม่ได้สนใจถึงข้อจ ากัดความคุ้มค่าของประชาชนทั้งประเทศ นักการเมืองจึงอาจเลือกที่จะไม่
สนับสนุนการจัดท า RIA อย่างไรก็ตามการจัดท า RIA นั้นสามารถเพิ่มน้ าหนักของวัตถุประสงค์บางประการของ
นักการเมืองเข้ามาในการค านวนผลกระทบของนโยบายได้ แท้จริงแล้ว RIA สามารถช่วยให้นักการเมือง
สามารถตัดสินใจเลือกออกนโยบายหรือกฎหมายที่ตนต้องการออกอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นได้ ดังนั้น
การสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องของ RIA กับกลุ่มการเมืองจึงมีความส าคัญและส่งผลต่อความส าเร็จของการ
จัดท า RIA ในระยะยาวอีกด้วย
จากอุปสรรคทั้งหกประการจะเห็นได้ว่า RIA นั้นเป็นแนวคิดใหม่ที่จ าเป็นต้องสร้างองค์ความรู้
และการยอมรับจากทุกภาคส่วนในสังคมขึ้นมาใหม่ ดังนั้นแล้วการจัดท า RIA มักจะต้องเผชิญอุปสรรค
หลากหลายในระยะแรกที่มีการเริ่มจัดท า แต่ถ้าปัญหาทั้งหมดในระยะสั้นถูกแก้ไปได้ RIA จะสร้างผลประโยชน์
มากมายให้แก่สังคมในระยะยาว ดังนั้นการจัดท า RIA จะประสบความส าเร็จในได้หากมีการวางแผนล่วงหน้า
ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวเพื่อจัดการแก้อุปสรรคทีมักเกิดขึ้นในระยะแรกที่มีการเริ่มจัดท า RIA ตั้งแต่แรก
นอกจากนี้แล้วแผนการจัดท า RIA ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวจะต้องได้รับการด าเนินการอย่างจริงจังและ
ต่อเนื่อง