Page 69 - kpiebook65020
P. 69

30

                                                                                     รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
                                     โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”


                              2.1.3.5 ขั้นตอนและวิธีการ

                              จากการศึกษาการจัดท า RIA ในหลายประเทศพบว่า แม้แต่ละประเทศจะมีวิธีการด าเนินการ
               จัดท า RIA  แตกต่างกันออกไปตามวัตถุประสงค์และข้อจ ากัดของแต่ละประเทศ โดยบางประเทศนั้นแบ่งการ
               จัดท า RIA  เป็นการจัดท า RIA  ฉบับเต็มรูปแบบ (Full  RIA)  และการจัดท า RIA ฉบับย่อ (Screening  RIA)

               ขึ้นอยู่กับความส าคัญของร่างกฎหมายแต่ละฉบับ เช่น สหรัฐอเมริกาจะท า RIA ฉบับเต็มรูปแบบกับกฎหมายที่
               ท าให้รัฐมีค่าใช้จ่ายมากว่า 100 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐขึ้นไป   แต่ถึงกระนั้นก็อาจจะสามารถระบุขั้นตอน
               การจัดท า RIA ที่ส าคัญที่เป็นขั้นตอนที่ทุกประเทศใช้อย่างเดียวกัน ดังนี้

                              (1) การก าหนดปัญหา

                              ขั้นตอนนี้มักเป็นขั้นตอนเริ่มต้นที่จะต้องมีการระบุและอธิบายปัญหาที่เกิดขึ้น โดยจะต้องมี
               การอธิบายสถานการณ์ปัจจุบันรวมถึงระบุสาเหตุและผลกระทบของปัญหาให้ครบถ้วน อาจจะใช้เทคนิค
               Problem Tree เพื่อให้เห็นความเชื่อมโยงของปัญหา ดังภาพด้านล่าง

























                                         ภาพที่ 1 ตัวอย่างการใช้เทคนิค Problem Tree

               ที่มา :  ปัทมา วะรินทร์,  เอกสารประกอบการบรรยาย หลักเกณฑ์ตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมายตาม
               พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ.2562  หลักสูตรวุฒิบัตรการ
               วิเคราะห์ผลกระทบในการตรากฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายประจ าปี พ.ศ. 2563,  (กรุงเทพ: สถาบัน
               พระปกเกล้า, 2563)


                                                                                                    51
                              นอกจากนี้แล้วยังต้องมีการก าหนดความรุนแรงของปัญหาที่ต้องการจะแก้อีกด้วย  โดย
               ความรุนแรงของปัญหาอาจขึ้นอยู่กับมาตรวัดที่ผู้ออกกฎหมายเลือกใช้ เช่น จ านวนกลุ่มประชากรที่จะได้ความ
               เดือดร้อน ช่วงระยะเวลาของปัญหาว่าชั่วคราวหรือถาวร และลักษณะของความรุนแรงของปัญหา เป็นต้น






               51  สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย, อ้างแล้ว เชิงอรรถที่ 43, น. 55.
   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74