Page 20 - kpiebook63001
P. 20

2






               1.1 ที่มาและความสำคัญของการศึกษา








                     ความเคลื่อนไหวทางการเมืองและการเลือกตั้งในหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น
               เมียนมา มาเลเซีย กัมพูชา อินโดนีเซีย และที่กำลังจะเกิดขึ้นในฟิลิปปินส์ ภายใต้การตั้งคำถามต่อระบอบ
               การเมืองที่เปลี่ยนผ่านทั้งในรูปแบบของการทำให้เป็นประชาธิปไตยหรือในทางตรงกันข้ามที่การเลือกตั้ง

                                                                                                1
               อาจถูกนำมาใช้สร้างความชอบธรรมทางการเมืองให้แก่รัฐบาลที่ไม่ได้มาจากวิถีทางประชาธิปไตย  ได้นำมาสู่
               การให้ความสนใจต่อวัฒนธรรมการเลือกตั้งภายใต้การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอันเป็นผลมาจากผล

               การเลือกตั้ง เช่นเดียวกับประเทศไทย ภายหลังการรัฐประหารและเข้าควบคุมการใช้อำนาจทางการเมืองและ
               การบริหารราชการโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
               ซึ่ง Freedom House องค์กรอิสระที่ติดตามการขยายตัวของเสรีภาพและประชาธิปไตยทั่วโลก ได้ระบุให้

               ประเทศไทยหลังการรัฐประหารที่มีสถานะ “NOT FREE” หรือไม่เป็นประชาธิปไตยมาตั้งแต่ปี 2558 จนถึง
               ปัจจุบัน  ทั้งยังถือได้ว่าเป็นช่วงระยะเวลาที่มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในโครงสร้างของทางอำนาจ และ
                      2
               โครงสร้างของสถาบันการเมืองไทยอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน

                     กล่าวคือ ในส่วนของโครงสร้างทางอำนาจนั้นปรากฏภาพชัดของสภาวะคู่ขนานกันระหว่าง

               การเคลื่อนไหวทางการเมืองทั้งในรูปแบบของการสนับสนุนคณะรัฐประหารและฝ่ายต่อต้านรัฐประหาร
               ที่เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องในลักษณะต่างๆ นับตั้งแต่ก่อนรัฐประหาร พ.ศ. 2549 กับอีกด้านหนึ่งคือการใช้
               อำนาจบังคับในการจำกัดการแสดงออกทางการเมือง อาทิ การเรียกพบและการส่งทหารไปเฝ้าระวังที่บ้านของ

               นักการเมืองที่มีบทบาทโดดเด่น การดำเนินคดีหรือใช้มาตรการทางกฎหมายกับนักกิจกรรมหรือประชาชน
               ในขณะเดียวกันการดำเนินกิจกรรมในการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ทั้งจากกลุ่มที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับ

               รัฐประหารก็ยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง รูปธรรมที่เด่นชัดและชี้ให้เห็นถึงพัฒนาการของกลุ่มเคลื่อนไหวต่างๆ
               ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหลังการรัฐประหาร คือ การผลักดันและรวมกลุ่มในรูปของพรรคการเมืองใหม่ เช่น
               พรรครวมพลังประชาชาติไทย พรรคประชาชนปฏิรูป พรรคพลังประชารัฐ และพรรคอนาคตใหม่ การกระจาย

               ของนักการเมืองจากพรรคการเมืองขนาดใหญ่ไปเป็นพรรคพันธมิตร เช่น การแยกตัวของสมาชิกคนสำคัญของ
               พรรคเพื่อไทย ไปสู่การจัดตั้งพรรคไทยรักษาชาติ และพรรคเพื่อชาติ เป็นต้น รวมถึงการประกาศเปลี่ยน

               อุดมการณ์เพื่อย้ายพรรคการเมืองของนักการเมืองหลายคน อีกทั้งผลของการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นยังส่งผลต่อ
               การดำรงอยู่ของบทบาทนำของ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรี




               
      1   ดุลยภาค ปรีชารัชช และ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ (บรรณาธิการ), 2562, การเลือกตั้ง 2019 : การเมืองเปรียบเทียบใน
               อุษาคเนย์  เอกสารวิชาการ โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ครบรอบ 20 ปี 2543/2000-2562/2019, กรุงเทพฯ : โครงการ
               เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
               
      2   ดูรายละเอียด https://freedomhouse.org/report/freedom-world/2015/thailand








                     การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดร้อยเอ็ด
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25